ห้องเอ็มอาร์ไอ : การกำบังคลื่นวิทยุ (RF shileding)


เครื่องเอ็มอาร์ไอเป็นเครื่องมือสร้างภาพทางการแพทย์ชนิดหนึ่ง การป้องกันคลื่นวิทยุภาพนอกมารบกวนการทำงาน สามารถทำได้โดยการใช้แผ่นทองแดงมาปิดกลั้น

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอภาพการก่อสร้างติดตั้งอุปกรณ์กำบังคลื่นวิทยุในอาคารเอ็มอาร์ไอหลังใหม่

 

 

เนื่องจากภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้งบประมาณจัดซื้อและติดตั้งเครื่องเอ็มอาร์ไอ 3 เทสลา

 

 

เริ่มต้นจากการปรับสถานที่ วางเสาเข็ม ก่อสร้างอาคาร

 

 

 

 

 

ช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังติดตั้งแผ่นทองแดง เพื่อใช้เป็นฉากกำบังคลื่นวิทยุจากสัญญาณวิทยุภายนอก ได้แก่ คลื่นวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องสื่อสารอื่นๆ ที่อาจส่งคลื่นเข้ามารบกวนขณะทำการตรวจ ทำให้ภาพบิดเบือนหรือมีสัญญาณรบกวนปรากฎบนภาพ 

 

 

หลายท่านอาจเคยเรียน เคยเห็นเครื่องเอ็มอาร์ไอ แต่ยังไม่เคยเห็น วิธีการติดตั้งฉากทองแดงกำบังเหล่านี้ จึงขอนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น ครับ 

 

 

 

การติดตั้งเริ่มจากการทาน้ำยากั้นความชื้นลงบนพื้นซิเมนต์ ทับด้วยแผ่นไม้ และแผ่นทองแดง ตามลำดับ(ที่ต้องทำแบบนี้ เนื่องจากเมื่อระยะเวลาผ่านไป หากมีความชื้นหรือน้ำ เข้ามาได้ อาจจะทำปฎิกิริยาระหว่างน้ำกับทองแดง เกิดเป็นสนิมได้)

การวางแผ่นทองแดงจะวางให้มีส่วนที่ซ้อนทับกันด้วย

 

 

จากนั้นจะทำการเชื่อมรอยต่อของแผ่นทองแดงเข้าด้วยกัน

 

 

ผนัง ทำด้วยคอนกรีตที่มีความหนาอย่างมาก เพื่อป้องกันสนามแม่เหล็กในห้องตรวจ ไม่ให้แผ่ออกสู่ภายนอก

 

 

แผ่นทองแดงจะถูกนำมายึดกับกรอบไม้ โดยช่างจะพยายามรีดแผ่นทองแดงให้เข้ารูปกับกรอบไม้มากที่สุด

 

 

แผ่นทองแดงก็จะถูกนำมายึดติดกับกรอบไม้ แล้วยึดติดกันมาวางเรียงติดต่อกันรอบห้อง (กรอบไม้ควรยึดติดกันให้แน่น เมื่อระยะเวลาผ่านไป อาจเกิดการลดตัว คลายตัวของแผ่นไม้ ซึ่งอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นช่องว่าง รูเล็ก ทำให้เพิ่มโอกาสที่คลื่นวิทยุจะแทรกสอดเข้าไปในห้องตรวจได้)

 

 

 

ช่างกำลังยึดกรอบไม้ที่ติดแผ่นทองแดงเข้าด้วยกัน

 

 

 

เมื่อทำการติดตั้งแผ่นทองแดงที่ผนังเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะครอบด้วยแผ่นผนังที่มีคุณสมบัติดูดซับเสียง (เพื่อช่วยลดเสียงสะท้อนที่จะเกิดขึ้นในห้องตรวจ)

 

 

 

สรุป :

ผนังคอนกรีตที่หนา ช่วยลดสนามแม่เหล็กจากภายในห้องตรวจไปสู่ภายนอก

 

แผ่นทองแดง ช่วยป้องกันคลื่นวิทยุจากภายนอก เข้ามาสู่ภายในห้องตรวจ 

 

การป้องกัน การประกันคุณภาพเครื่องมือ เป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยลดอันตรายและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต

   

ทำงาน ที่ใช้ความพยายาม มีเป้าหมาย มีหลักการ มีข้อมูล มีเหตุมีผลที่ชัดเจน เป็นแนวทางหนึ่งที่พาไปสู่ความสำเร็จได้

 

 

หมายเลขบันทึก: 402601เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2010 11:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ น้ำหนักเครื่อง โดยรวมเท่าไหร่ครับ แล้วตอนติดตั้ง พื้นไม่เสียหาย ทำอย่างไรครับ (หรือ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการยก) แล้ว ต้องใช้วิศวกร จากต่างประเทศ ใช่ไหมครับ

เรียน คุณปรีชา

พื้นที่เห็นในภาพ ต้องจัดหาวัสดุมาป้องกันทองแดงอีกชั้นหนึ่ง ครับ จากนั้นค่อยนำเครื่องมาวางและติดตั้ง

ทองแดงต้องติดตั้งรอบห้องครอบคลุมทั้ง 6 ด้าน บนล่าง ซ้ายขวา หน้าหลัง ส่วนที่เป็นช่องต่อเชื่อมอุปกรณ์ ท่อลม ท่ออากาศก็จะมีทอดงแดงมาปิดที่ครั้งในภายหลัง ครับ สำหรับการติดตั้งคงในอาทิตย์หน้า และจะนำเสนอให้เห็นต่อไป

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

อยากทราบความหนาของ ทองแดง ที่ติดตั้งรอบห้องครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท