บทกลอนของอิกคิวซัง ฉบับเข้าใจเอาเอง


หากหูแว่วได้ยินเสียงกากลั้นร้อง

ยามค่ำคืนเดือนมืด
หากหูแว่วได้ยินเสียงกากลั้นร้อง
ใจเพรียกร้องหาบิดร
ผู้จรลับไม่กลับมา
แต่งโดยอิคคิวซัง

กลอนนี้ตามในการ์ตูนอิคคิวซัง

บอกว่าควรคิดเองแปลความหมายเองจึงจะดี

คำแปลข้างล่างจึงเป็นคำแปลแบบตามใจฉัน

อย่าเพิ่งเชื่อนะเออ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 เมื่อกล่าวถึงคืนเดือนมืด ย่อมมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ
ถนัดชัดเจน  อาจหมายถึงความทุกข์ยาก หรือ
จิตใจที่มืดมนไม่รู้หนทาง ไม่รู้ความจริง(อวิชชา)
“หากหูแว่วยินเสียงกากลั้นร้อง” กาก็ตัวดำ
อยู่แล้วมาอยู่ในความมืดอีก  ต้นเสียงนี้จึง
ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนหรือเป็นไปได้ที่มาจากทุกที่
เสียงนี้คืออะไรกากลั้นร้อง มันก็ไม่มีเสียงออกมา
จึงเป็นเสียงที่ไม่มีเสียง เป็นความรู้ที่ผุดขึ้นในใจ
แสดงถึงเจตจำนงที่จะแสดงว่าเห็นถึงความ
ไม่เทียงแท้และอนัตตา จึงเป็นเสียงของความว่าง
(สุญญตา) “ใจเพรียกร้องหาบิดร”
เมื่อเห็นความจริงของสังสารวัฏ ย่อมระลึกถึง
ผู้ที่กล่าวถึงทางออกจากความทุกข์ ความมืดมน
บิดรคือ พระพุทธเจ้าผู้เป็นบิดาของสาวก
พระพุทธองค์ผู้ดำเนินในทางสายเอก(อริยมรรค)
ซึ่งเป็นทางสายตรง ไปแล้วไม่ย้อนคืน
ไม่เป็นทุกข์อีกต่อไป
 
ยามค่ำคืนเดือนมืด
พบหิ่งห้อยน้อยในราวป่า
ส่องรอยเท้าของบิดา
จักจรลาตามท่านไป

กลอนโดยเจ้าเต่าเครายาว

หมายเลขบันทึก: 402531เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2010 20:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท