E-Banking กับธุรกรรมทางการเงินและธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์


การรับรองธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์โดยกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อธุรกรรมทางการเงินในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

                    

                    ผลสืบเนื่องมาจากระบบเศรษฐกิจแบบเสรี มีผลทำให้ประเทศไทยต้องมีการพัฒนาในหลายๆด้านทั้งด้านการค้า การเงิน การลงทุน และผลจากการพัฒนาในหลายด้านดังกล่าว เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น โดยวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและมีผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจคงไม่พ้นไปจากอิเลคทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว รุนแรง และขยายตัวจนหาขอบเขตไมได้ว่าจะหยุด ณ จุดใด

                   เทคโนโลยีอิเลคทรอนิกส์คอมพิวเตอร์ได้แผ่ขยายบทบาทเข้ามาในธุรกิจภาคการเงินการธนาคาร โดยในปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้เข้ามาดูแลในด้านการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ และเป็นที่ทราบว่าในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศนี้บรรดาธนาคารต่างๆได้แข่งขันกันนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันอย่างกว้างขวางในวงการธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างมาก

และจากการที่ประเทศไทยจะต้องทำการเปิดเสรีทางด้านบริการการเงินจึงส่งผลให้ธนาคารต่างๆต้องมีการแข่งขันกันสูงขึ้น จึงมีการริเริ่มการสร้างจุดเด่นของการให้บริการของธนาคารทางอิเลคทรอนิกส์ แต่ธุรกิจการธนาคารเป็นธุรกิจที่อาจส่งผลกระทบให้กับระบบเศรษฐกิจอย่างรุนแรงได้ ทางภาครัฐจึงต้องใช้กฎหมายเข้ามาควบคุมการดำเนินธุรกิจชนิดนี้เป็นพิเศษ

                          กลยุทธ์อย่างหนึ่งที่ธนาคารต่างๆนำมาใช้กัน คือ E-Banking Service ในระบบ Internet โดยการใช้ช่องทาง Internet เชื่อมโยงกับเครือข่ายของธนาคาร สามารถก่อให้เกิดบริการใหม่ๆทางอิเลคทรอนิกส์ได้อีกหลายอย่าง โดยมีการให้บริการพื้นฐานดังนี้ บริการด้านบัญชีเงินฝาก บริการโอนเงิน บริการด้านเช็ค บริการด้านการชำระค่าสินค้าและบริการอื่นๆ และมีการพัฒนารูปแบบต่างๆเพิ่มมากขึ้น โดยธุรกิจการให้บริการทางการเงินที่สำคัญในระบบ E-Banking Service อย่างหนึ่ง คือ S.W.I.F.Tเป็นวิธีการโอนเงินระหว่างประเทศเป็นเงินสกุลต่างๆที่สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยที่สุดระบบหนึ่ง โดยสามารถถึงมือธนาคารผู้รับไปกลับไม่เกิน 5  นาที วิธีการนี้จึงเป็นบริการที่ได้รับความนิยมอย่างสูง โดยธุรกิจข้ามชาติต่างๆนิยมใช้วิธีนี้ โดยเฉพาะด้าน Export-Import และForeign Exchange Dealing โดยมักเป็นเงินจำนวนมาก

                     

                          ธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบันนี้ จึงมีการทำธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ แต่เนื่องจากธุรกรรมนี้มรข้อแตกต่างจากธุรกรรมทั่วไปเป็นอย่างมากจึงต้องมีการออกกฎหมายเข้ามาควบคุมและรับรอง นั้นคือที่มาของการออกเป็นพระราชบญญัติว่าด้วยธุรกรมทางอิเล็คทรอนิคส์ พ.ศ.๒๕๔๔ เพื่อเป็นการส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้น่าเชื่อถือและมีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวกับการทำธุรกรรมทั่วไป และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ธุรกรรมนี้ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ดดยมีมารฐานเปฯที่ยอมรับของนานาประเทศ

   

                     จะเห็นได้ว่าการที่มีกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จะทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีการพัฒนารูปแบบและมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และเมื่อมีการเปิดเสรีทางภาคบริการทางการเงินก็จะทำให้กระแสการเงินผ่านทางช่องทางของธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มมากขึ้นและไม่สามารถที่จะคำนวณหาปริมาณของธุรกรรมและจำนวนเม็ดเงินที่หมุนเวียนเข้ามาในระบบได้ การควบคุมในเรื่องธุรกรมทางการเงินก็จะกระทำได้ยากมากขึ้น และช่องทางเหล่านี้ก็จะเป็นโอกาสทองของนักฟอกเงินที่จะอาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินและอิเล็คทรอนิกส์ ที่มีกฎหมายรับรอง โดยการนำเงินที่สกปรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เข้ามาผ่านในระบบโดยใช้ธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์แปลงเงินดังกล่าวให้กลายเป็นธุรกรรมทางการเงินที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ และธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ก็มีหลายช่องทางที่กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไม่สามารถใช้อำนาจให้มีการรายงานุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงินที่สถาบันการเงินต้องรายงานให้กับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามมาตรา ๑๕ ดังนั้นในการประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๔๔ จึงมีผลกระทบกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างช่วยไม่ได้  

ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.- - ;และ, ร่างพระราชบัญญัติลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.- - ฉบับผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี 14 มีนาคม 2543.

การเงินระหว่างประเทศ = International finance / กรรณิการ์ ลิปตพลลภ.

คำอธิบายกฎหมายฟอกเงิน : ปัญหา ข้อเท็จจริง คำอธิบาย พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 / สุรพล ไตรเวทย์.

หมายเลขบันทึก: 40204เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2006 10:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณมาก ๆ ที่นำสิ่งดี ๆ มาเผยแพร่

ถ้ามีสิ่งดี ๆ แบบนี้ อย่าลืมมาเผยแพร่บ่อย ๆ นะครับ

เป็นเรื่องที่ภาครัฐต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษนะครับ เพราะปัจจุบันเรื่องนี้เข้ามีอิทธิพลในชีวิตประจำวันมากๆๆๆ

มีข้อมูลเพิ่มเติมทำไมถึงนำระบบมาใช้มีประเทศอะไรเป็นต้นแบบหรือเปล่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท