รัฐกับการพัฒนากุ้ง


รัฐกับการพัฒนากุ้ง

นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า เพื่อให้การพัฒนา-อุตสาหกรรมกุ้งไทยเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเกิดประสิทธิภาพ กรมประมงจึงร่วมกับ-ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ ม.เกษตรศาสตร์ จัดทำยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 2 ขึ้น เพื่อใช้ดำเนินการในช่วง 3 ปี ข้างหน้า ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านกระบวนการรวบรวมข้อมูล-จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องไปแล้ว เมื่อวันที่ 21-22 สิงหาคม 2551 ที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้-กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น กรมประมงจึงกำหนดให้มีการเปิดเวทีรับ-ฟังความคิดเห็นสาธารณะ จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดสายการผลิต เพื่อนำไปสู่การ-จัดทำยุทธศาสตร์กุ้ง ฉบับที่ 2 ซึ่งจะใช้สำหรับพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งไทยในช่วงปี 2552-2554 ภายหลังยุทธศาสตร์กุ้งฉบับที่ 1 จะสิ้นสุดในปลายปีนี้
ความเป็นมา
1.ไทยเป็นผู้นำทั้งในด้านการผลิตและส่งออกกุ้งตั้งแต่ปี2533 ปัจจุบัน  อุตสาหกรรมนี้สร้างรายได้ให้ ปท. กว่า 2 ล้านล้านบาท มีผู้เกี่ยวข้องตลอดกระบวนการผลิต และแปรรูปส่งออกมากกว่า 1 ล้านคน มูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ประมาณ 75,000-85,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเพิ่มมูลค่าทรัพยากรภายใน ปท. เป็นหลัก (local content) ด้วยเหตุนี้ กุ้งจึงเป็นสินค้าที่มีความสำคัญต่อ ปท. ทั้งในด้านสังคมและ ศก.
2. การจัดทำยุทธศาสตร์กุ้งเกิดจากแนวคิดที่ว่า แม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกกุ้งอันดับ 1 ของโลก แต่เมื่อพิจารณาแนวโน้มความต้องการบริโภคกุ้งของโลก คาดว่ายังสามารถขยายกำลังการผลิตจาก 1.9 ล้านตันเป็น 2.5 ล้านตันได้ ในขณะที่ไทยมีพื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์เต็มที่กว่า 200,000 ไร่ จึงเป็นโอกาสที่จะใช้พื้นที่เหล่านี้เพิ่มศักยภาพในการผลิต และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศโดยรวมอีกทางหนึ่งด้วย
3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เริ่มจัดทำยุทธศาสตร์กุ้งไทยครั้งแรกเมื่อปี 2548 และได้นำมาจัดทำ “แผนปรับโครงสร้างสินค้าเกษตร (สินค้ากุ้ง) ปี 2549-2551” ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ คือ
(1) การเพิ่มศักยภาพพื้นที่การเลี้ยงและพัฒนาสายพันธุ์
(2) การเพิ่มศักยภาพการผลิต
(3) การเพิ่มมูลค่าสินค้ากุ้ง
  (4) การเพิ่มศักยภาพการตลาด
เป้าหมายของยุทธศาสตร์ฯ นี้ ได้แก่
(1)จัดตั้งองค์กร/สถาบันที่จะสามารถบริหารจัดการสินค้ากุ้งแบบเบ็ดเสร็จและครบวงจร 
(2) ฟื้นฟูพื้นที่นากุ้งร้างจำนวน 107,500 ไร่ และพัฒนาพื้นที่ให้สามารถใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพรวม 437,500 ไร่
(3) เพิ่มผลผลิตกุ้งจากการเพาะเลี้ยงเป็น 532,400 ตัน และมูลค่าการส่งออกเป็น 103,780 ล้านบาท สำหรับปี 2551
(4) เพิ่มสัดส่วนสินค้ากุ้งปรุงแต่ง :กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง ให้เป็น 65 : 35
4 การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ฯ ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายข้างต้นทั้งหมด กล่าวคือ ถึงแม้จะได้มีการจัดตั้ง สนง. กุ้งแห่งชาติ และคณะกรรมการบริหารสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ แต่ในส่วนของการฟื้นฟูพื้นที่นาร้าง ยังไม่มีการดำเนินการใด ๆ รวมทั้งสัดส่วนกุ้งปรุงแต่ง : แช่เย็นแช่แข็ง ยังอยู่ที่ 45.5 : 54.5 และคาดว่า ในปี 2551 จะมีผลผลิตกุ้งประมาณ 460,700 ตัน และมูลค่าการส่งออกประมาณ 80,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รอง อธ. กรมประมง เห็นว่า ผลการดำเนินการดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจในระดับหนึ่ง เพราะแม้รัฐบาลจะไม่ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์กุ้งปี 2549-2551 ในช่วงปี 2549-2550 โดยจัดสรรให้เพียง 10 ล้านบาทในปี 2551 แต่ภาคเอกชนก็ยังสามารถผลักดันนโยบายเชิงรุกอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมกุ้ง อาทิ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการผลิต (รอบการผลิต สายพันธุ์) การสนับสนุนการผลิตตามมาตรฐาน GAP/CoC การสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร หรือการจัดทำระบบ traceability
5 โดยที่การดำเนินยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 1 จะสิ้นสุดในปี 2551 และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของการพัฒนาของอุตสาหกรรมกุ้งไทยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) จึงมีแผนจะจัดทำยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 2 ปี 2552-2554 โดยได้ระดมความคิดเห็นระหว่างภาคผู้ผลิต ผู้แปรรูป อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภาครัฐ และสถาบันการศึกษา เมื่อวันที่ 21-22 ส.ค. 2551 ณ ม.เกษตรศาสตร์ และนำเสนอผลการระดมความคิดเห็นดังกล่าวในเวทีประชาพิจารณ์ฯ ครั้งนี้ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจที่ตรงกันในระดับสาธารณะ
2.ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 2 ปี 2552-2554
1 ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 2 แตกต่างจากยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 1 ใน 2 ประเด็นหลัก คือ (1) การมองกุ้งแบบองค์รวม ที่จะผสมผสานแนวคิดสำหรับการกำหนดนโยบายระยะยาว โดยเฉพาะเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ (healthiness) การปลอดสารตกค้าง (safety) ความสมดุลด้านสิ่งแวดล้อม (ecology) การตรวจสอบย้อนกลับ (traceability) ความยั่งยืนทางเทคนิค ศก. สังคม และสิ่งแวดล้อม (sustainability) การผลิตให้เกิดความพอดี ในขณะที่ยังมีศักยภาพในการแข่งขันได้ (sufficiency) และ (2) การให้ความสำคัญต่อการวิจัยและพัฒนา โดยได้แยกเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มจากยุทธศาสตร์เดิม 4 ประเด็น
2 ยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่ 2 จึงประกอบด้วย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ 19 กลยุทธ์ และ 67 กิจกรรม ดังนี้
   ยุทธศาสตร์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จากพัฒนาพื้นที่ โครงสร้าง พื้นฐานและสายพันธุ์
   ยุทธศาสตร์ที่ 2 ผลิตให้ได้มาตรฐานตลาด และรักษาสิ่งแวดล้อม
   ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มมูลค่าสินค้าและผลิตภัณฑ์กุ้ง
   ยุทธศาสตร์ที่ 4 เพิ่มศักยภาพด้านการตลาดในและต่างประเทศ
   ยุทธศาสตร์ที่ 5 สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้ง
 
เป้าหมายยุทธศาสตร์กุ้งปี 2552-2554
1. การเพิ่มผลผลิตกุ้งและผลิตภัณฑ์เป็น 500,000 ตัน/ปี
2. มูลค่าส่งออก 100,000 ล้านบาท/ปี
3. การปลูกป่าชายเลนมากกว่า 5,000 ไร่/ปี ผลผลิตต่อเนื่อง 10,000 ตัน/ปี
4.การกระจายตลาดให้มากขึ้น ลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดใดๆ มากจนเกินไป
- USA 40%  Japan 20%  EU 15% 
- Middle East? China? Russia? ASEN?
5. เน้นการผลิตกุ้งคุณภาพพิเศษมากขึ้น เพื่อสนองตลาดเฉพาะ Niche market
- premium shrimp
- Organic shrimp
- Bio shrimp
6.การปรับปรุงระบบการให้บริการภาครัฐทั่วประเทศ ข้อมูลสารสนเทศ เทคโนโลยี  การ ตลาด ครอบคลุมทุกพื้นที่การผลิต
7. การสนับสนุนให้ไทยเป็นแหล่งพัฒนาสายพันธุ์มาตรฐานของโลก  กุ้งขาว Van namei กุ้งกุลาดำปลอดเชื้อ โตเร็ว ต้านทานโรค
8. การสร้างภาพลักษณ์ของกุ้งไทยในสื่อโลกตลอดเวลา ข่าวสารเชิงบวกในตลาดภูมิภาค อาเชียน ยุโรป ญี่ปุ่นและอเมริกา
 9. ทีมงาน “กุ้ง” เฝ้าระวัง ติดตามและแก้ปัญหาของการผลิตและการตลาด โต้ตอบประเทศคู่แข่ง/คู่ค้า อย่างทันเหตุการณ์
   ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงร่างยุทธศาสตร์กุ้ง โดยได้มีการนำร่างยุทธศาสตร์เพื่อเข้าสู่ประชาพิจารณ์และความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมกุ้ง ซึ่งมีข้อถกเถียงและเพิ่มเติมเพื่อทำแผนยุทธศาสตร์กุ้งไทย ฉบับที่2 เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมกุ้งไทยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป



เอกสารอ้างอิง
สุปรีชา  กลิ่นพูน.(2551).ร่างยุทธศาสตร์กุ้งไทย # 2.AQUABIZ  Vol 2 issue14 
                            October 2008. ไทยรัฐ  วันที่ 23  กันยายน 2551
       [Online].Avalible:  http://www.mfa.go.th/business/page2601main.php?id=26772
       [Online].Avalible: http://www.kasetcity.com/Agtoday/Agtodaylist.asp?GID=1783
       [Online].Avalible:http//www.shrimpnetwork.com/.../18/picture-18.jpg

หมายเลขบันทึก: 401958เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2010 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท