ภูมิปัญญา การแกะสลักนกคุ้ม แห่งเมืองสุโขทัย


          งานแกะสลักไม้  เป็นงานฝีมือของชาวบ้าน  ช่างแกะสลัก จากจังหวัดสุโขทัยที่เกิดจากการเห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว  สิ่งนั้น คือ เศษไม้ที่โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ ได้ทิ้งไว้  แต่ชาวบ้านนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง  ด้วยการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านแกะสลักเศษไม้ให้เป็นรูปแบบต่าง ๆ ตามต้องการ  แล้วนำมาสร้างรายได้เพิ่มขึ้น  งานแกะสลักไม้ เป็นงานฝีมือของชาวบ้านในตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย  เป็นงานที่ต่างจากงานแกะสลักไม้จากจังหวัดเชียงใหม่โดยมีรูปแบบไม่ซ้ำกันเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างกัน  รูปแบบที่นำมาแกะสลักส่วนใหญ่เป็นองค์พระพุทธรูปและตัวสัตว์  อาทิเช่น  นกคุ้ม  นกยูง  นกเงือก  ปลาปักเป้า  ปลากัด  แมว  เป็ด  กบ ฯลฯ งานฝีมือเหล่านี้ล้วนเป็นเอกลักษณ์  หรือของดีประจำจังหวัดสุโขทัย  เช่น  “นกคุ้ม”   เป็นนกที่มีชื่อไพเราะ เรียกว่า  คุ้มเงินคุ้มทอง  บางคนซื้อแล้วนำไปปลุกเสก เอาตั้งไว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ผู้เป็นเจ้าของ       

        คุณปู่ของน้ำตาลได้เล่าให้ฟังว่า เมื่อ  40   กว่าปีที่ผ่านมา นายย้อย  น้อยถึง  ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ  นายทูล  น้อยถึง ผู้ที่เล่าความเป็นมาของการแกะสลักไม้ให้ได้ทราบ  นายย้อย  น้อยถึง  ได้เป็นบุคคลแรกที่ได้นำการแกะสลักไม้มาทำในชุมชน  โดยนายย้อย  ได้พบเห็นเศษไม้ที่เหลือใช้จากการทำการก่อสร้าง หรือเหลือจากการทำงานต่างๆ  จึงเกิดความคิด  ที่จะแปรรูปจากเศษไม้สู่การทำตัวไม้ที่มีรวดลาย  และขนาดต่างๆ  พอนายย้อย  ได้ฝึกทำแกะสลักไม้ได้แล้วก้อได้ทำการถ่ายทอดสู่ลูก  สู่หลาน  ผลงานที่ได้ก็นำส่งออกขายเริ่มจากตามร้านค้าและขยายไปสู่ต่างจังหวัด  และได้มีการแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน                                      

      ส่วนลวดลายที่ทำการแกะสลัก จะมีลวดลายใหม่ๆ ตามความนิยมและความต้องการของผู้ซื้อ แต่ในสมัยก่อน  คนจะนิยมทำแค่  นกแก้ว  แมวน้ำ  นกคุ้ม  และไก่นอนรัง ราคาในการขายส่วนมากจะเป็นราคาประมาณ  100-200  บาท

ขั้นตอนในการแกะสลักนกคุ้ม  มีอยู่ดังนี้

                  1 . เอาไม้ท่อนขนาดใหญ่มาตัดเป็นท่อน ๆ ให้พอเหมาะกับการทำนกคุ้ม

  

 

                   2. เมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการ  ก็จะเริ่มลงมือแกะสลัก  โดยจะเอามีดฟันไม้ให้เป็นรูปร่างของนกตามที่ต้องการ  ทำไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้รู้ร่างของนกคุ้ม

           

 

       

                        3. จากนั้นเมื่อได้เค้าโครงร่างนกคุ้มมาแล้ว  แต่ผิวของนกคุ้มยังไม่เรียบเนียน  จึงได้ให้ใช้เครื่องขัดที่ติดด้วยกระดาษทรายเข้ามาช่วยในการทุ่นแรง  ขัดไปเรื่อยๆ จนทั่วตัวของนกคุ้ม

 

          

                             4.  เมื่อการขัดนกคุ้มให้เรียบเนียนแล้ว  ก็จะใช้ดินสอทำการวาดลายที่ปีกของนกทั้งสองข้าง แต่ก็จะร่างไม่ละเอียดนัก

 

 

                   5.  จากนั้นก็เริ่มทำการแซะลวดลายตามที่ได้วาดไว้ก่อน  เมื่อแซะได้รูปแล้ว  ก็จะทำการตอกลายบนปีกของนกคุ้มจนทั่ว  โดยจะใช้สิ่วตอกลายเคาะด้วยค้อนไม้ตอกลงไป

  

                      

                        6.  เมื่อทำการตอกลายเสร็จแล้ว  ก็จะออกมาเป็นรูปร่างน่าตาเป็นแบบนี้ค่ะ

 

 

         

                  

   

 

 

หมายเลขบันทึก: 401668เขียนเมื่อ 8 ตุลาคม 2010 22:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท