บุคคลตกหล่นจากทะเบีนราษฎร : ที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย


ในปัจจุบัน น้องเมฆายังคงตกเป็นบุคคลตกหล่นจากทะเบียนราษฎร เพราะไม่มีชื่ออยู่ในระบบการทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยในโลก โดยมีลักษณะการเป็นบุคคลตกหล่นจากทะเบียนราษฎรที่มีจุดเกาะเกี่ยวอย่างเข้มข้นกับรัฐไทยโดยหลักบุคคลจากสายโลหิตมารดา

กรณีศึกษาที่ 2: เด็กชาย เมฆา หวานใจ

 

            น้องเมฆา หวานใจ เกิด เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2551 โดยเกิดที่เกาะกะปิ (ซึ่งเป็นเขตของจังหวัดเกาะกง ประเทศกัมพูชา) ในขณะเกิดนั้นมารดาของน้องเมฆาได้เดินทางไปร่วมงานบุญกับญาติที่ เกาะกะปิ และระหว่างทางกลับมารดาได้เกิดเจ็บท้องคลอด จึงต้องเดินทางกลับมาที่เกาะกะปิ เพื่อคลอดน้องเมฆา โดยมีหมอตำแยเป็นคนทำคลอด

            ทั้งนี้น้องเมฆา มีบิดาและมารดาเป็นคนสัญชาติไทย และจากประวัตินั้น ตาและยายของน้องเมฆาก็เป็นคนมีสัญชาติไทยด้วย

            มารดาของน้องเมฆา มีหลักฐานของน้องเมฆาเป็นสมุดฝากครรภ์ เพียงอย่างเดียว และเมื่อน้องเมฆาเกิดมารดาได้ไปแจ้งเพื่อขอเพิ่มชื่อน้องเมฆาเข้าสู่ระบบการทะเบียนราษฎร แต่ทางอำเภอไม่รับแจ้ง โดยอ้างว่า ไม่สามารถทำให้ได้เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจที่จะทำได้

            ทั้งนี้มารดาของน้องเมฆาไม่ได้ไปแจ้งต้องสถานทูตไทยประจำประเทศกัมพูชา เพราะหลังคลอดก็เดินทางกลับมาที่ บ้านที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด[1]อีกทั้งสถานทูตนั้นตั้งอยู่ที่เมืองหลวงของกัมพูชา คือกรุงพนมเปญ ซึ่งมารดาของน้องเมฆา ก็ไม่ทราบถึงขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการภายหลังน้องเมฆาเกิด ซึ่งก็เป็นเหตุให้น้องเมฆาไม่มีสูติบัตร หรือได้รับการจดแจ้งลงในระบบการทะเบียนราษฎรของรัฐไทยในเบื้องต้น

            และเป็นเหตุให้น้องเมฆากลายเป็นบุคคลตกหล่นจากระบบการทะเบียนราษฎรในรัฐไทย แม้ตนเองจะมีบิดาและมารดาเป็นคนสัญชาติไทย แม้ว่าน้องเมฆาจะเกิดนอกประเทศไทยแต่การมีมารดาเป็นคนสัญชาติไทย น้องเมฆาจึงเป็นคนสัญชาติไทยตามหลักสืบสายโลหิตจากมารดา ซึ่งควรที่จะได้รับการเพิ่มชื่อสู่ระบบการทะเบียนราษฎร เพื่อมีเอกสารทางทะเบียนราษฎร คือ ทะเบียนบ้านของคนซึ่งมีสัญชาติไทย (ท.ร.14)

            ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบัน น้องเมฆายังคงตกเป็นบุคคลตกหล่นจากทะเบียนราษฎร เพราะไม่มีชื่ออยู่ในระบบการทะเบียนราษฎรของรัฐใดเลยในโลก โดยมีลักษณะการเป็นบุคคลตกหล่นจากทะเบียนราษฎรที่มีจุดเกาะเกี่ยวอย่างเข้มข้นกับรัฐไทยโดยหลักบุคคลจากสายโลหิตมารดา

 


[1] การเดินทางในลักษณะดังกล่าวนั้น จะเป็นการเดินทางทางเรือ ซึ่งออกตามท่าเรือต่างๆ และไม่มีการตรวจเอกสารผ่านแดน

หมายเลขบันทึก: 401016เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2010 11:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 12:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท