สรุปการประชุมวันที่ 18-19 ก.ค 49
ความคาดหวังของผู้เข้าประชุม
ต้องการทราบสูตรยา , การปรับเปลี่ยนยา , ขั้นตอนการเริ่มยา - ต้องการทราบข้อบ่งชี้ในการใช้ยา ARV ในเด็ก / และแนวทาง - ต้องการทราบ SIE ของยา - การดูแลด้านจิตใจในเด็กที่รับยาต้านฯ , รู้ปัญหาด้านจิตใจ - กิจกรรมที่ให้เด็กในเด็กที่รับยาต้านฯ - การดูแล และติดตามเด็กหลัง ON ARV - อยากรู้จักผู้ดูแลเด็กติดเชื้อตามพื้นที่ต่างๆ - การเตรียมผู้ช่วย - สิ่งที่เกินควมคาดหมาย ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การดูแลเด็กกับ รพ.เชียงราย และ รพ.อื่นๆ - แนวทางการแก้ปัญหาในเด็กที่รับยาไม่ต่อเนื่อง - อยากทราบความรู้สึกเด็กวัยรุ่นที่รับยาต้านฯ - อยากรู้เรื่องยาต้านฯ ในเด็ก Update - อยากได้ประสบการณ์การ การใช้ยาต้านฯ / การแก้ปัญหา - แนวทางการให้ยาในเด็กดื้อยา / เปลี่ยนยา - ความมั่นใจในการให้ยา ARV / ผลการรักษา - รู้เรื่องประเมินผล / ดูแลต่อเนื่อง - ทัศนะของเด็กที่รับยา - นำความรู้ไปปรับใช้ - การให้ยาต้านฯ / และผลข้างเคียงของยา - ปัญหาองค์รวมอื่นๆ / ผู้ดูแล - เทคนิคการบอกผลเลือด - วิทยากรเก่ง ถ่ายทอดได้เข้าใจง่าย มีประสบการณ์หลากหลาย - ข้อมูลการให้ยาเด็ก ความพยายามของทีมงาน - มีทีม สหสาขาเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานดี - ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง - ความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาของทีม - ได้รับรู้สถานการณ์ การติดเชื้อทั่วโลก - ได้เห็นความตั้งใจของเด็ก และผู้ดูแลในการร่วมมือรักษา - มุมมองในการรักษาต่างกัน
สิ่งที่เกินความคาดหวัง - ทราบแนวทางการประเมินผู้ป่วยและการรักษามากกว่าเดิม - ทราบประสบการณ์การตรงจากผู้ดูแล และได้เรียนรู้จาก Case จริงๆ - ทราบการทำงานของเครือข่าย และผู้ดูแลรับผิดชอบในตัวเด็ก - ทราบความรู้สึกของผู้ป่วยเด็ก เรื่องการรับรู้ผลเลือดซึ่งไม่เคยทราบมาก่อน - ได้เพื่อนใหม่ - ชอบรูปแบบการเรียนรู้ ทำให้ไม่ง่วง ไม่เห็นใครหลับเลย - รู้สึกได้กำลังใจว่า “ทุกคนมีความตั้งใจที่จะดูแลเด็ก” - ได้เรียนรู้ปัญหาการดูแลเด็ก กับรพ.อื่นๆ - ได้เอกสาร หนังสือ สื่อกลับไปด้วย - รพชมาเป็นทีม 4 คนทำให้ได้ปรึกษากันได้เลย และเรียนรู้ด้วยกัน - มีการดูแลเด็กเป็น สหสาขา และเครือข่ายทั้งจังหวัด - ทีมมีความสามารถ เข้มแข็ง การแก้ไขปัญหาสำเร็จ - วิทยากรมาจากหลายหลายทั้งทางการแพทย์ เอกชน - ทราบการดูแลเด็กที่ต่ำกว่า 2 ปี - ประเด็น Case น่าสนใจ การดำเนินการประชุมน่าสนใจ - เกิดการเรียนรู้การเชื่อมโยง ระหว่าง รพ.ชุมชน และรพ.ศูนย์ - เห็นความต่อเนื่องของเด็กที่ดูแลอยู่ เดิมเห็นเฉพาะเป็นช่วงๆ - ทำให้รับฟัง สนใจ ค้นหาปัญหาของเด็ก - เห็นความกระตือรือร้นของเด็กในการกินยา - Case หลากหลาย ได้เรียนรู้หลายแบบ - จุดประกายให้คิดถึงปัญหาของเด็กมากขึ้น และเครือข่ายร่วมมือกัน - เห็นการคิด แก้ปัญหาได้ควบคลุม และเห็นกระบวนการชัดเจนขึ้น
สิ่งที่ต่ำกว่าคาดของท่าน - ด้านสถานที่ประชุม ความสะอาดของห้องน้ำ แอร์เย็นเกินไป ห้องประชุมหายาก อยากให้เพิ่มเวลาของ Case ในด้านปัญหาสังคม - อยากมีช่วงเวลาที่คุยเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ของแต่ละรพ.ชุมชน - อยากให้เน้นแนวทางการจัดการในระดับของ รพ.ชุมชน ให้มากกว่านี้ ก่อนจะส่งต่อ รพ.ศูนย์ - ต้องการข้อมูลตอบกลับเกี่ยวกับการรักษาของ รพ.ศูนย์ - ไม่ได้ประวัติ Case Study จาก รพ.ชุมชน ทำให้ติดตามผู้ป่วยไม่ทัน - ขอให้วิทยากรสรุปใจความสำคัญให้ ในแต่ละช่วงการประชุม( Take Home massage) - อยากได้ตัวอย่างเด็กที่สัมพันธ์กับหัวข้อทฤษฎี และเสนอไปพร้อมกัน - การเยี่ยมบ้านของทาง รพ.ศูนย์ อยากให้แจ้งข้อมูลกับ รพ.ชุมชนด้วย - ปัญหาเรื่องการส่งต่อเด็ก ไม่ขาดการส่งข้อมูล และไม่ได้ส่งประวัติไป รพ.แม่สาย 3 ราย
จะปรับปรุงและกลับไปทำต่อ การเตรียมความพร้อมของเด็ก และผู้ดูแลก่อน ON ARV - จะไปค้นหาเด็กในพื้นที่ จะหา Case ใหม่ที่มีซีดีโฟยังดีอยู่ เพื่อเข้าโครงการวิจัยพรีดิค - จะไปดูแลปัญหาทางสังคมของเด็กมากขึ้น - จะไปทำข้อมูลของเด็กให้ดีขึ้น - จะปรับกระบวนการ คลินิก ให้มีกิจกรรมมากขึ้น - จัดกิจกรรมให้เด็กได้คุ้นเคยกับเจ้าหน้าที่ให้มากขึ้น - จัดเวลาในการพูดคุยกับผู้ป่วยเด็ก และดูแลด้านจิตใจ - สร้างเครือข่ายในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ - ควรเก็บความเห็นของผู้ประชุมวันแรก เพื่อปรับปรุงในวันที่สอง - ขอให้มีกระดาษเขียนคำถามด้วย - น่าจะให้ รพ.ชุมชน มีส่วนร่วมในการเตรียมข้อมูลของ Case (มีข้อมูลอยู่แล้ว เช่น Lab) - ขอทราบความคาดหวังเชิงคุณภาพ และตัวชี้วัด - เวลาแลกเปลี่ยน Case มากกว่านี้ - การจัดรูปแบบเอกสารควรจัดให้สวยงาม - ควรสรุปผลการรักษา และแนวร่วมในทีมให้ชัดเจน - การนำเสนอ Case ควรบอกให้ชัดเจน มีการกำหนดหัวข้อ ขอบเขต - แบบสอบถามทำซ้ำ 2 ครั้ง
----------------------------
ทีมจัดงาน
สิ่งเกินคาดหวังของทีมจัดงาน - ได้ทดลองเป็นคุณอำนวย และคุณลิขิตโดยทำตามทฤษฎี (ที่เดิมเคยทำก็ทำได้ แต่มีทฤษฎีจะดีขึ้น) - รพชมาครบทั้ง 16 รพ. บรรยากาศเป็นกันเอง - ผู้เข้าประชุมเยอะและผู้เข้าประชุมเกินเป้าหมายเต็มห้องตลอด ภาคบ่ายก็ไม่หายไปไหน - บรรยากาศการเรียนรู้ ความสนใจของคนเข้าร่วมและเป้าหมายไปในทางเดียวกัน - ซีดี ความรู้สึกเด็ก ผู้เข้าประชุมชอบมาก ขอดูอีก - ทุกคนได้เรียนรู้ในการแก้ไขปัญหาไปในทางเดียวกัน - ความกระตือรือร้นในการทำงานของทุกๆ คน - พิธีกรดีมาก - รูปแบบการนำเสนอ ความรู้ ของวิทยากรนำไปใช้ได้จริง เข้าใจง่าย - ได้กำลังใจเยอะที่คนดูแลเด็ก และทีมร่วมมือกัน - ความช่วยเหลือของทีมงาน และการประสานงานใหม่ๆ - มีความสนใจต่อเนื่อง - มีแพทย์มาประชุมเยอะ และจะสามารถทำให้งานต่อไปที่ รพ.ชุมชนก้าวหน้าได้รวดเร็ว - วิทยากรนำสิ่งที่เสนอได้ดีมาก - ได้เอาข้อมูล Case และประสบการณ์มาแลกเปลี่ยน - ปรับการจัดห้องให้มีความใกล้ชิดกัน อบอุ่น
ต่ำกว่าคาดหมาย การจัดห้องมีปัญหาตอนแรก - เครื่องเสียง คอมฯ ไม่เป็นไปตามกำหนด - สถานที่แคบ แอร์เย็น ห้องน้ำไม่สะอาด น้ำไม่แรง - ไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องประชุม - ไฟโต๊ะบนเวทีวิทยากรไม่สว่าง - ไม่ได้มีการบันทึกเสียง - ศูนย์องค์รวมมีปัญหาเรื่องศัพท์ (ภาษา) - พูดเร็วฟังไม่ทันเวลาน้อย - ได้เข้าประชุมแค่วันเดียว ไม่ได้ฟังปัญหาทางด้านจิตใจ ทั้งที่เป็นพยาบาล คราวหน้าขอเข้าเต็มๆ - ศูนย์องค์รวมได้สิทธิ์ฟังแต่วันแรก น่าจะได้เข้าวันที่ 2 ด้วยเพราะเรื่องควรรู้ทั้งนั้น
จะทำอะไรต่อ จัดโต๊ะให้วิทยากรเข้าถึงผู้เข้าร่วมประชุม และมีโต๊ะกลางวางอุปกรณ์ไฟที่ใช้ในการบรรยาย - ติดต่อเจ้าหน้าที่โรงแรมมาประจำห้องประชุม ห้องน้ำ ไฟ - ควรมีกระดาษเปล่าแจกในคราวหน้า - ควรให้เครือข่าย และเจ้าหน้าที่เข้าทั้ง 2 วัน - ของบเพิ่มสำหรับการจัดประชุมเจ้าหน้าที่ทั้งหมดในปีหน้า จะได้ไม่โดนต่อว่า - ขอเปลี่ยนสถานที่ในครั้งหน้า - สรุป AAR ของผู้เข้าประชุมตั้งแต่ในวันแรก แล้วนำมาสรุปในวันที่ 2 - ชี้แจ้งในการกรอกข้อมูลในวันแรก - เลือก Case ที่รพ.เชียงราย สามารถจัดการได้ - ประสานงานกับโรงแรม เรื่อง โสตต่างๆ และมีการทดสอบ - ขอวิทยากรสรุป ( Take Home massage) ทุก Section - ฝากข้อมูลไปกับทีมนิเทศรพช ประมาณ 2 ครั้ง / ปี - จัดระบบการสื่อสารกับ รพ.ชุมชนทาง Tele conference โดยโทรศัพท์ที่มีลำโพงในตัว - ทำ แฟ้มเอกสารเป็นเล่ม - -----------------------------
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล ใน pedaids ChiangRai
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก