พช.ชุมพร
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชุมพร พช.ชุมพร กรมการพัฒนาชุมชน

การแก้ไขปัญหากองทุนหมู่บ้าน


หนี้ค้างชำระ
บันทึกองค์ความรู้
ชื่อ - สกุล นางรัตติกาล คูศิริวานิชกร
ตำแหน่ง เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชนชำนาญงาน
สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอหลังสวน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่อง การแก้ไขปัญหากองทุนหมู่บ้านเป็นการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับ หนี้ค้างชำระ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549- พ.ศ. 2553
สถานที่เกิดเหตุการณ์ บ้านบางลำภู หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
เนื้อเรื่อง กองทุนหมู่บ้านบางลำภู หมู่ที่ 8 ตำบลแหลมทราย อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้รับการจัดสรรเงิน กองทุนหมู่บ้านๆละ 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ตามนโยบายรัฐบาล เมื่อ
ปี พ.ศ. 2544 – 2545 เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนให้ราษฏร์ในหมู่บ้าน ซึ่งกองทุนหมู่บ้านบางลำพู หมู่ที่ 8
ได้รับการจัดสรรเงิน 1,000,000 บาท เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 คณะกรรมการบริหารกองทุนหมู่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้ง มาจากการประชาคมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการบริหารกองทุน จำนวน 12 คน
คณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจะแบ่งหน้าที่การดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ในช่วงปี 2545 – 2548 จากการติดตามผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้าน ได้ดำเนินการถูกต้อง มีการจัดสรรผลกำไรถูกต้องตามระเบียบฯ ต่อมาใช่วงปี 2549 - 2552 ได้มีการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการเพื่อดำเนินการกองทุน มีคณะกรรมการ จำนวน 10 คน แต่ปรากฏว่า จากการไปติดตามผลการดำเนินงานทราบว่ามีลูกหนี้บางรายไม่ชำระเงินกู้ ตามสัญญาบางรายก็จะส่งแต่ดอกเบี้ย ทำให้ไม่สามารถยื่นจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลได้ในปี 2549 เนื่องจากมีหนี้สินค้างชำระเกินกว่า 200,000 บาท ในปี 2552 จึงได้ทำการเร่งรัดหนี้สินและติดตามลูกหนี้แต่ละรายอย่างเร่งด่วน โดยการเรียกคณะกรรมการทั้งชุดมาทำการตรวจสอบการส่งคืนชำระหนี้และการกู้เงินของแต่ละสัญญา ว่าส่งคืนชำระวันไหนและกู้เงินวันไหน จึงทำให้ทราบว่าเหรัญญิก ได้รับเงินจากสมาชิกที่ส่งคืนเงินกู้แล้วไม่ส่งเงินให้ลูกหนี้ เงินไม่ผ่านบัญชี และมีบางรายเหรัญญิกได้ใช้ชื่อสมาชิกไปกู้เงินโดยที่เจ้าตัวไม่ได้รับเงินตามความเป็นจริง จากการตรวจสอบพบหลักฐานที่เหรัญญิกได้ดำเนินการตามกรณีดังกล่าวเป็นยอดเงิน 195,000 บาท จากการที่เหรัญญิกได้กระทำการดังกล่าวนี้ ในที่ประชุมได้ทราบและลงความเห็นให้เหรัญญิกนำเงินมาชดใช้ให้กองทุนหมู่บ้าน ภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2553 นี้
บันทึกขุมความรู้
1. เกิดจากความไว้วางใจ ความเชื่อใจของคณะกรรมการและสมาชิกที่ต่อเหรัญญิกกองทุน
2. คณะกรรมการไม่ทำหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้ง
3. ขาดการประสานงานกันระหว่างคณะกรรมการและสมาชิก สมาชิกขาดความร่วมมือ
4. สมาชิกมีการเอาแบบอย่างกัน ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของ สทบ. เช่น ในเรื่องการส่งคืนชำระหนี้ มีการส่งแต่ดอกเบี้ยไม่ยอมส่งต้นในบางปี
แก่นความรู้
- สร้างความเข้าใจในชุมชนทั้งคณะกรรมการและสมาชิกกองทุน เปิดใจรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
กลยุทธ์ในการทำงาน
- ให้ความจริงใจกับทุกฝ่าย ให้คำปรึกษาในทุกเรื่อง
- กำหนดให้มีการประชุมร่วมกันทุกเดือนทั้งคณะกรรมการและสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน เพื่อจะได้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้น และจะได้ช่วยกันแก้ไขไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้ยึดระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเป็นหลัก ในการดำเนินงาน
กฎ ระเบียบ แนวคิด ทฤษฏี ที่เกี่ยวข้อง
- ปัจจุบันใช้ระเบียบฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2551
- เสริมสร้างจิตสำนึกของคนชุมชน ชุมชนเป็นผู้กำหนดการบริหารจัดการกองทุนของตนเองโดยทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ชุมชนจึงจะเข้มแข็งได้
หมายเลขบันทึก: 400521เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 03:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท