สรุปสาระจากการประชุมทักษะคุณอำนวยเครือข่าย R2R ภาคตะวันออก (2)


การประชุมเครือข่ายทักษะคุณอำนวยเครือข่าย R2R ภาคตะวันออก ครั้งที่ 1/2553 วันที่ 28-29 กันยายน 2553 ณ ห้องประชุมลีลาวดี๑ อาคารอนุสรณ์ ๑๐๐ ปี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

ต่อไปนี้เป็นการสรุปเนื้อหาการประชุมวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๕๓ ในช่วงภาคบ่าย ผลงานจาก note taker ของเครือข่าย

เริ่มต่อภาคบ่ายด้วยเทคนิคการเหลาคำถามการวิจัย กับ อาจารย์ไพโรจน์ บุญลักษณ์ศิริ ประธานเครือข่าย R2R ภาคใต้ โดยการสำรวจระดับผู้เข้าประชุมถึงระดับประสบการณ์การทำงานวิจัย พบว่า ส่วนใหญ่เคยทำงานวิจัยมาบ้าง 1-2 เรื่อง และแจ้งวัตถุประสงค์ของวิทยากรว่าผู้เข้าร่วมสามารถบอกแนวทางการสร้างคำถามการวิจัย R2R ได้ถูกต้อง

อาจารย์กล่าวถึงขั้นตอน 10 ขั้นง่ายๆวิจัยเชิงคุณภาพของอาจารย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ เป็นแนวทางในการทำวิจัย ได้แก่ เริ่มต้น ค้นคว้า หาเป้า เหลาโจทย์ กำหนดวิธีการ ทำงานภาคสนาม ถามหาความรู้ใหม่ ใช้บทคัดย่อนำทาง นำเสนออย่างสร้างสรรค์ มุ่งมั่นสู้ขั้นเทพ

คำถามการวิจัยเป็นตัวกำหนดวิธีวิจัย ปัจจุบันความรู้ไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์แต่เป็นการต่อยอด การสืบค้นหาความรู้จากตำรา & งานวิจัย

กรอบแนวคิดในการวิจัยต้องมีข้อมูลจากการค้นคว้า ประสบการณ์ ปัญหา มารวบรวมและเชื่อมโยง

การตั้งคำถามการวิจัยใช้เป็นแนวทางในการสืบค้นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง ออกแบบการวิจัย หรือเป็นวิธีการหรือขั้นตอนของกระบวนการคิดก่อนทำการวิจัย เป็นการสื่อสารให้ผู้อื่นอ่านโครงการวิจัยได้เข้าใจ

การค้นหาคำถามการวิจัยสามารถหาได้จากปัญหาการทำงานประจำ เสียงบ่น การพูดคุย ระบายความรู้สึก หรือหน้าที่ที่ปฏิบัติงานต้องทำงานให้ได้ตามตัวชี้วัด

“การตั้งคำถามที่แหลมคม เป็นศิลปะที่ต้องได้รับการฝึกฝน”

ชนิดของคำถามการวิจัยกับมโนทัศน์

-                   การสำรวจ (Exploratory)

-                   การบรรยายรายละเอียด (Descriptive)

-                   การอธิบาย (Explanatory)

 

การแบ่งชนิดของคำถามตามระดับความรู้ แบ่งออกเป็น

  1. No vice เป็นการเขียน background และ questions เป็นการต้งคำถามที่ต้องการเพียง general knowledge
  2. Expert เป็นการเขียน foreground และ questions เป็นการตั้งคำถามที่มีความรู้พื้นฐานอยู่แล้ว ต้องการหาคำตอบที่เฉพาะเจาะจง เป็น Specific knowledge

หลังจากผ่านไปได้ระยะหนึ่งเพื่อเป็นการกระตุ้นผู้เข้าประชุมมีการนำเสนอ Otop ภาคใต้เป็นลูกหยีและตำนานของลูกหยี เมื่อผู้เข้าประชุมมีบรรยากาศในการเรียนรู้จึงนำเสนอต่อด้วย                                         เรื่อง กระบวนการสร้างคำถามการวิจัย มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

ขั้นที่ 1 มองหาช่องทางความรู้ (knowledge gap) แล้วนำไปทบทวนวรรณกรรมเบื้องต้นและตั้งสมมุติฐาน

ขั้นที่ 2 สร้างคำถามการวิจัย (ใช้แนวคิด PICO)

ขั้นที่ 3 สืบค้น ทบทวนวรรรณกรรมอีกครั้ง

ขั้นที่ 4 ปรับคำถามการวิจัยให้มีความจำเพาะเจาะจงมากขึ้น

ขั้นที่ 5 ออกแบบ / ถอดแบบการวิจัยเพื่อหาคำตอบ

ขั้นที่ 6 ขัดเกลาวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนเฉพาะเจาะจง (แหลมคม)

  • ความสำคัญของปัญหากับคำถาม
  • น่าสนใจ
  • สามารถหาคำตอบจากการวิจัยได้

 

แนวคิด PICO

P: Population

I: Intervention/exposure/test

C: Comparison
O: Outcomes ตัวชี้วัดที่ถูกต้อง

สรุปได้ว่า เราต้องเริ่มจากการค้นหาคำถามงานวิจัยที่เจาะจง เน้น Clinical trial แต่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กันการวิจัยอื่นๆได้โดยไม่จำเป็นต้องมี PICO ครบทุกข้อ เช่น อาจไม่มี Comparison

-              ในการวางแผนการวิจัย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผน ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)

-              Study design

-              Sampling

-              Time, latent period

-              Statistics

-              จริยธรรมการวิจัยในคน

-              คุณค่า ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย (Value, Utilization)

-              ความเป็นไปได้ในการทำวิจัย (Feasibility)

อาจารย์ไพโรจน์มีการนำเสนอตัวอย่างการตั้งคำถามการวิจัยมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ลองเหลาคำถามหลายตัวอย่าง  โดยการใช้หลัก PICO หรือ FINER (เกณฑ์การพิจารณาการตั้งคำถามที่ดี ของ Hulley Stephen B, et al.) โดยประกอบด้วย

F: Feasible สามารถดำเนินการวิจัยได้จริง (manageable) ต้องมีความเชี่ยวชาญในการทำวิจัยนั้นๆ (technical expertise)

 I: Interesting ความน่าสนใจของคำถาม

N: Novel เป็นความรู้ใหม่

E: Ethical จริยธรรมการวิจัยในคน

R: Relevant สามารถหาคำอธิบายได้

ประโยชน์ของการตั้งคำถามการวิจัยที่ดี จะช่วยลดจำนวนการทบทวนวรรณกรรมที่ต้องสืบค้น และคำถามเหล่านี้มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น การวิจัยนี้สามารถทำได้ในทุกระบบงานทั้งงานการรักษาและการสนับสนุน

 

ในช่วงบ่ายมีวิทยากรที่เข้าร่วมอภิปรายในประเด็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้บ่อยเพื่อปรับปรุงการบริการ จากอาจารย์หทัยทิพย์ เครือข่ายภาคใต้  อาจารย์ได้เสนอว่าการวางแผนปัจจุบันที่ดีเป้าอนาคตที่ชัดเจน clear ทางเดินไม่ให้มีอุปสรรคให้สำเร็จ โดย 5W1H “ใคร ทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อไหน อย่างไร” โดยมีการวางแผน ตั้งคำถาม เป้าหมายให้กระชับ นึกถึงประโยชน์ขององค์กร  ผู้ป่วย และกลับมาสู่ตนเอง แล้วออกแบบตัวแบบและผลลัพธ์ การเก็บข้อมูลแบบไหนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่ยำ จะไปสู่อนาคตที่สวยหรู

รูปแบบงานวิจัยเชิงปริมาณ

  • Cross sectional study เป็นวิธีวิจันที่ทำได้ง่ายที่สุด
  • Case control study
  • Cohort  study
  • Intervention study

อาจารย์นำเสนอรูปแบบการวิจัยที่เข้าใจง่ายแก่ผู้เข้าประชุม การแบ่งประเภทงานวิจัย กลุ่มประชากร การวิเคราะห์ข้อมูล การนำผลการวิจัยมาเปลี่ยนแปลงการักษา อาจเกิดความคาดเคลื่อนได้ใน 2 แบบ ได้แก่ Systematic error (Bias) เป็นสิ่งที่เราแก้ไขได้ ส่วนอีกความคาดเคลื่อนหนึ่งคือ Random error (chance) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่บทบาทหน้าที่ของคุณอำนวย คือการทำให้ error น้อยที่สุด ส่วน random error นั้นสามารถใช่สถิติแบบสุ่มมาช่วย

อาจารย์นำเสนอตัวอย่างการทำงานที่พบในการเป็นคุณอำนวย “รับฟังด้วยใจ” และให้คำแนะนำว่าจะเกิดอะไรถ้าทำอย่างนั้น โดยการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน แต่คุณอำนวยที่ดีต้องไม่บอกจุดอ่อน แต่ให้ผู้วิจัยคิดเอง โดยการถามคำถามว่า “ทำไมจึงทำอย่างนี้ ทำแบบอื่นได้หรือไม่” มีการใช้ระเบียบวิธีการวิจัยช่วยแก้ปัญหาการพยากรณ์โรคที่ต่างกัน โดยการใช้ RCT (การให้ intervention เทียบกับ baseline เป็น standard treatment ตามไปในอนาคต)

เราต้องมี concealment (การปกปิดขณะแบ่งกลุ่มทดลอง) มีวิธีการแก้ Blinding โดยการใช้ Placebo effect , co-intervention, Contamination  ส่วน measurements bias สามารถนำมาแก้ไข blinding assessor  การตั้ง objective outcome มีอุปกรณ์ช่วยวัดที่เป็นรูปธรรม จะช่วยลดปัญหาได้ อาจไม่ต้อง blind  อาจารย์เสนอแนะวิธีการปกปิดขณะแบ่งกลุ่มทดลองไว้หลายรูปแบบ เช่น การใส่หมายเลขในซองจดหมาย แล้วแจกให้ผูกลุ่มตัวอย่าง แต่ต้องไม่ให้สามารถสืบรู้ได้ หรือวิธีการใช้ central computer randomization หรือการถามจากวันเกิด หรือลำดับที่ เลขคู่ เลขคี่ เพื่อแบ่งกลุ่ม ถ้าเมื่อไหร่ที่ predict ได้จะไม่ใช่การสุ่ม แต่ถ้างานวิจัยบางอย่างอาจมีข้อจำกัดให้ใช้เป็น non-randomization

Randomization ที่ดีนั้นสำคัญไฉน สำคัญทำให้ intervention group = control group

และอาจารย์ฝากทิ้งท้ายไว้ว่าการออกแบบวิจัย R2R เริ่มให้สอดคล้องกับคำถามวิจัย เริ่มจากสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ค่อยๆต่อยอดขึ้นไป, เริ่มจากวิจัยง่ายๆไปหายาก, เริ่มจากสิ่งที่เป็นไปได้ และใช้เวลาไม่นาน, เริ่มจากทำไม่เป็นเลย จนกระทั่งชำนาญ และสำคัญที่สุดคือรู้จุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละวิธี

“จงให้เวลากับการอ่าน ……นั่นเป็นขุมทรัพย์ของความรู้

จงให้เวลากับการฟัง….นั่นเป็นพลังให้เกิดสติปัญญา 

              จงให้เวลากับการคิดวางแผน……นั่นเป็นประตูสู่ความสำเร็จ

หลังจากนั้นก็หมดเวลาการเติมปัญญาให้กับผู้เข้าร่วมประชุม พบกันใหม่ในวันพรุ่งนี้

 

วันเพ็ญ สุขส่ง

28 กันยายน 2553

โรงพยาบาลสมเด็จฯ ณศรีราชา

หมายเลขบันทึก: 400348เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2010 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท