สื่อกับผลกระทบต่อการบริโภคของเด็กและเยาวชน


      เด็กและเยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติ  การศึกษาและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาศักยภาพในตัวของเด็กและเยาวชนให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าของประเทศต่อไป   ซึ่งการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้  มีความสามารถ  มีทักษะในการใช้ชีวิต  มีความสามารถในการปรับตัวเป็นคนดีของสังคม  สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขนั้น  จำเป็นต้องพัฒนาการตั้งแต่แรกเกิดและในทุกช่วงอายุ  การเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนเริ่มจากครอบครัวและสถาบันการศึกษา  ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ที่บ่มเพาะความรู้ แนวคิด  ทัศนคติ  ค่านิยม  ตลอดจนอุปนิสัยของเด็กและเยาวชน  นอกจากนั้น  เด็กยังได้เรียนรู้เรื่องราว เหตุการณ์  ปรากฏการณ์ต่างๆ จากชุมชนและสังคม  แต่ปัจจุบันด้วยสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง กระบวนการเรียนรู้ของเด็กเริ้มเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต  สื่อกลายเป็นแหล่งเรียนรู้แหล่งใหม่ที่สามารถกระตุ้นการรับรู้และดึงดูดความสนใจจากเด็กและเยาวชนได้อย่างมาก โดยเฉพาะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้เกิดสื่อใหม่ๆ มากมาย  โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตที่มีข้อมูลจำนวนมหาศาล เรื่องราวที่เด็กสนใจใคร่รู้  เปิดกว้างให้เด็กเข้าไปค้นหาอย่างอิสระ  ในขณะที่สื่อดั้งเดิม ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ ซึ่งเป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย  ก็พัฒนารูปแบบการนำเสนอ  ให้น่าสนใจโดยมีเป้าหมายการนำเสนอในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น  ดังนั้นเนื้อหาการนำเสนอส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการนำเสนอความบันเทิงในรูปแบบ ต่างๆ ทั้งละคร เพลง เกมโชว์  ข่าวบันเทิงของดารานักร้อง แฟชั่น โฆษณาขายสินค้าและบริการ ซึ่งสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ธุรกิจสื่อและเจ้าของสินค้า

     การเสพข้อมูลข่าวสารจากสื่อโดยขาดการคิด วิเคราะห์ และความรู้เท่าทันสื่อทำให้เด็กและเยาวชน ซึมซับแบบแผนการใช้ชีวิต พฤติกรรม ค่านิยม วัฒนธรรมต่างชาติ กระแสการบริโภคนิยม ส่งผลต่อทัศนคติ   ความคิด และพฤติกรรมของเด็กและเยาวชน  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านสื่อที่ไม่ได้เกิดจากประสบการณ์จริง หรือไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของความจริงในสังคม  ซึ่งเราไม่สามารถป้องกันสื่อที่สร้างผลกระทบด้านลบกับชีวิตของเด็กและเยาวชนได้   ขณะเดียวกันสื่อก็สร้างผลกระทบด้านบวกเช่นกัน   สื่อถือเป็นเครื่องมือในการเปิดโลกทัศน์  การเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมสังคม , รายการข่าว,ความรู้ประวัติศาสตร์ และภาพยนตร์ดี ๆที่ได้รับรางวัลรวมทั้งส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้านดนตรีศิลปะ  สื่อยังช่วยในการเข้าถึงข้อมูลข้าวสารที่ทันยุคทันสมัย  ส่งผลให้มีส่วนร่วมทางสังคมเพิ่มมากขึ้น  และให้การรับรู้ถึงสิ่งต่างๆในโลกใบนี้ได้

เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่กำลังได้รับผลกระทบทางด้านลบจากสื่อ ๓ ประเด็นหลัก คือ

1. การบริโภคนิยม

  • เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพ  เนื่องจากการบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร เช่น Fastfood ส่งผลต่อการเกิดภาวะอ้วนได้ 
  • เพาะบ่มนิสัยบริโภคนิยมจากการนำเสนอสินค้าต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต  โทรทัศน์  วิทยุ  ฯลฯ
  • มีค่านิยมฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย และใช้เงินอย่างมากไปกับสินค้าต่างๆ
  • สร้างความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับรูปร่าง น้ำหนัก หรือการลดความอ้วนเนื่องจากมีสื่อโฆษณาความ “ผอมเพรียว” มากมาย

2. พฤติกรรมทางเพศ 

  • มักจะเกิดจากการเลียนแบบสื่อ  โดยเฉพาะทีวีเป็นตัวแบบที่สำคัญของการแสดงออกทางเพศของเด็ก เช่น  เพศสัมพันธ์วัยเรียน  ล่วงละเมิด  หลงในมายาคติทางเพศ  เสพติดเซ็กส์ การแต่งตัว การวางตัวกับเพศตรงข้าม กริยาท่าท่าที่เหมาะสม ค่านิยมต่างๆที่มากับละคร เป็นต้น แล้วเด็กก็นำไปปฏิบัติเป็นแบบอย่าง
  • ถูกยั่วยุทางเพศจนขาดการยับยั้งชั่งใจกับเพศตรงข้าม เสี่ยงต่อการถูกล่อลวงในห้องแช็ทและอีเมลล์

3.  ความรุนแรง 

  • แนวโน้มด้านบุคลิกและนิสัยเสื่อมถอย  เช่น มนุษยสัมพันธ์ต่ำ โลกส่วนตัวที่สูง ครอบครัวถูกมองข้าม คนแปลกหน้าได้รับไว้วางใจ   พฤติกรรมยับยั้งชั่งใจต่อเรื่องที่ไม่ดีต่างๆ ลดลง
  • พฤติกรรมเลียนแบบต่างๆ เช่น การต่อสู้จากเกมส์  
  • มีความชาชินต่อสื่อหลังจากหมกมุ่นกับสื่อเป็นเวลานาน
  • เสี่ยงต่อการเข้าไปเล่นพนันออนไลน์
  • เคยชินกับความรุนแรงผ่านเกมส์ออนไลน์ และเว็บไซท์วิปริต
  • เสี่ยงที่จะขโมยบัตรเครดิตหรือขโมยเงินผู้ปกครองมาใช้เพื่อซื้อสินค้าออนไลน์  หรือสินค้าที่โฆษณาตามสื่อต่างๆ

  ข้อมูลจากงานวิจัยต่างๆ

  • สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับมูลนิธิเครื่อข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี ๒๕๔๖ ได้ทำการสำรวจอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก พบพฤติกรมการดูทีวีของเด็กอายุ ๓ – ๑๒ ปี ตามทัศนะของพ่อแม่ / ผู้ปกครองในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน ๑,๔๗๗ ตัวอย่าง พบจำนวนชั่วโมงการดูทีวีต่อวันในวันจันทร์-ศุกร์ และ วันเสาร์-อาทิตย์ จำนวนชั่วโมงดูทีวี เฉลี่ย ๓ – ๕ ชม. / วัน ช่วงเวลาที่ดูมากที่สุดคือ จันทร์ – ศุกร์ ช่วง๔โมงเย็น– ๒ ทุ่ม ในวันเสาร์และอาทิตย์ ช่วง ๘ โมงเช้า ถึงเที่ยงเด็กนิยมดูทีวีมากที่สุด พ่อแม่ / ผู้ปกครองกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความคิดว่าสื่อมีผลต่อพฤติกรรมลูกหลาน ด้านต่าง ๆ และมีผลเสียต่อเด็กอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกับการทำงานด้านการกลั่นกรองสื่อของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง ตัวพ่อแม่ที่ทำหน้าที่กลั่นกรองสื่อให้ลูกอยู่ในระดับปานกลางอีกด้วย ส่วนการจัดประเภทของรายการในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับเด็กส่วนใหญ่เห็นว่าเหมาะ สมดีแล้ว
  • มูลนิธิรักษ์เด็กกล่าวถึง เรื่อง โทรทัศน์กับเด็ก ในโครงการยุทธศาสตร์สื่อเด็กมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.) ได้ก ล่าวถึงเรื่องการใช้เวลาของเด็กส่วนใหญ่อยู่กับทีวีมากกว่าการเรียนหนังสือ ในห้องเรียนตลอดทั้งปีเด็กและเยาวชนอายุ ๖ – ๒๔ ปีใช้เวลาถึง ๒,๒๓๖ ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่มีเวลาในห้องเรียนเพียง ๑,๖๐๐ ชั่วโมง ใน หนึ่งวันโดยเฉลี่ยเด็กดูทีวีประมาณ ๕ ชั่วโมง
  • ผลวิจัยชี้ว่ามีความสัมพันธ์สูงระหว่างการเสพสื่อที่แสดงความรุนแรงต่อทัศนคติที่เป็นปัญหาของเด็ก 3 ประการคือ การมีทัศนคติที่ก้าวร้าวต่อผู้อื่นหรือต่อต้านสังคม  การเพิกเฉยหรือยอมรับการใช้ความรนแรงแก้ปัญหา  และการเครียดหรือหวาดวิตกต่อการถูกทำร้าย
  • จากงานวิจัยยังพบอีกว่าเด็กกลุ่มเสี่ยงที่จะรับผลจากความรุนแรงในโทรทัศน์ได้มากเป็นพิเศษคือ เด็กที่มีความที่มีปัญหาทางอารมณ์หรือเด็กที่มีปัญหาในด้านการเรียนอยู่แล้ว  ตลอดจนเด็กที่ถูกทารุณกรรมจากครอบครัวหรือมีปัญหาครอบครัวจะมีโอกาสสูงกว่าเด็กทั่วไปในการซึมซับและลอกเลียนความรุนแรงที่เห็นมาใช้ในชีวิตจริง
  • งานวิจัยด้านพัฒนาการของเด็กพบว่า ในช่วงที่เด็กอายุ 1-3 ขวบถ้ามีการดูทีวีมากเกินไปจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับสมาธิในการเรียนเมื่ออายุ 7 ขวบ  และเด็กที่ดูทีวีตั้งแต่ 10 ชั่วโมงขึ้นไปต่อสัปดาห์จะมีผลกระทบต่อสัมฤทธิผลด้านการอ่านของเด็ก
  • งานวิจัยหลายชิ้นจึงมีข้อเสนอคล้ายๆ กันว่าพ่อแม่ควรจำกัดเวลาการดูโทรทัศน์ของลูกให้มีแค่ 1 - 2 ชั่ว โมงต่อวัน และควรกําหนดรายการโทรทัศน์ที่ลูกจะดูด้วย ซึ่งยังรวมไปถึงการเลือกสื่อในรูปแบบอื่นๆ ที่ล้วนแล้วมีผลต่อการพัฒนาสมองของเด็กทั้งสิ้น       (ศันนีย์ ฉัตรคุปต์, 2543)
  • งานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กในวัย ๐ – ๖ ขวบกล่าวถึงการเจริญเติบโตของเซลล์สมองในเด็กแรกเกิดจะมีการเชื่อมต่อของใย ประสาทอยู่ตลอดเวลาที่เด็ก ได้รับการกระตุ้นโดยเฉพาะด้านภาษางานวิจัยสนับสนุนความจริงว่าเด็กที่อายุ ต่ำกว่า ๒ ปี ดูแต่ทีวีซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวเป็นเวลานาน ตลอด ๖ – ๘ ชั่วโมงต่อวันเซลล์ประสาทที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางภาษาจะขาดการกระตุ้นใน ขณะนั้นเนื่องจากเด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับพ่อแม่เด็กจึงไม่ได้เรียนรู้ที่จะ สื่อให้ผู้อื่นเข้าใจตนเองได้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภาพเคลื่อนไหวในทีวีทำให้เด็กขาดสมาธิในการเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ได้
  • งานวิจัยประเทศสหรัฐอเมริกาที่มหาวิทยาลัย คอร์เนลล์ ,มหาวิทยาลัยอินเดียน่า และมหาวิทยาลัยเพอร์เดอร์(Purdue University) ได้ศึกษาความเชื่อมโยงจากการดูทีวีของเด็กอเมริกันว่าเป็นตัวกระตุ้นทำให้ เกิดโรคออติซึมได้
  • ดร. แอริค ซิกมัน ( Dr. Aric Sigman ) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาแห่งสหราชอาณาจักร ( Associate Fellow of the British Psychological) ได้ศึกษาผลของทีวีต่อสุขภาพและได้แถลงต่อคณะสมาชิกวุฒิสภาประเทสอังกฤษจัด โดยองค์กรด้านสื่อสารมวลชน Mediawatch – UK มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าการดูทีวีเป็นเวลานานมีผลต่อรูปแบบการนอนที่ผิดปกติและลดอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายจนเกิดโรคอ้วนได้

น.ส มาลาภรณ์  วิชัย

g5336643

หมายเลขบันทึก: 400183เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2010 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีคุณค่ามากครับ มีความรู้ความเข้าใจ นำไปใช้ประโยชน์ บนความน่าเชื่อถือได้ ตามที่อ้างอิง

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท