กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 13)


นักวิจัยต้องวางกรอบวิธีการศึกษาออกเป็น 4

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 13)

5.ขอบข่ายของการศึกษาวิธีวิทยาการวิจัย

นักวิจัยต้องวางกรอบวิธีการศึกษาออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับกระบวนทัศน์การวิจัย  ระดับระเบียบวิธีวิจัย ระดับกระบวนการวิจัยและระดับวิธีการวิจัย

 5.1 กระบวนทัศน์ของการวิจัย กระบวนทัศน์ของการวิจัย เป็นแนวความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้ของมนุษย์ นักวิจัยที่มีความเชื่อต่างกัน จะมีแนวคิดในการออกแบบวิธีการวิจัยแตกต่างกัน ทำให้เกิดระเบียบวิธีการวิจัย กระบวนการวิจัยและวิธีการวิจัยขึ้นหลายแบบแตกต่างไปตามแนวความเชื่อเหล่านั้น  การศึกษากระบวนทัศน์ทางการวิจัยจะช่วยให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงเหตุผลในการเลือกใช้ระเบียบวิธีกระบวนการวิจัยและเทคนิควิธีวิจัยของศาสตร์แต่ละสาขาได้ถูกต้องและออกแบบการวิจัยได้อย่างรัดกุม  กระบวนทัศน์ของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคมมี 3 แนวทาง 

(ก)กระบวนทัศน์ของการวิจัยภายใต้แนวคิดทฤษฎีปฏิฐานนิยม  การวิจัยภายใต้แนวคิดของทฤษฎีปฏิฐานนิยมเป็นการวิจัยใช้วิธีวิทยาศาสตร์(Scientific approach) อย่างเคร่งครัด มีการควบคุมสภาพการณ์อย่างรัดกุม เพื่อให้ทฤษฎีที่มีความน่าเชื่อถือสูงและสามารถนำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์อื่นๆได้ทั่วไป

(ข)กระบวนทัศน์ของการวิจัยภายใต้แนวคิดทฤษฎีปรากฏการณ์นิยม  การวิจัยภายใต้แนวคิดของทฤษฎีปรากฏการณ์นิยมเป็นการวิจัยที่ไม่ใช้วิธีวิทยาศาสตร์เลย ต้องแต่ใช้วิธีการตีความ(Interpretative approach)บริบทของสิ่งที่ศึกษาอย่างลึกซึ้ง เพื่อให้เข้าความหมายของปรากฏการณ์นั้นเฉพาะกรณี  

(ค)กระบวนทัศน์ของการวิจัยภายใต้แนวคิดทฤษฎีสังคมเชิงวิพากษ์นิยม  การวิจัยภายใต้แนวคิดของทฤษฎีปฏิบัติการทางสังคมนิยมเป็นการวิจัยที่ใช้วิธีวิทยาศาสตร์บางส่วน  แต่ใช้วิธีปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(Participatory action approach)ระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัยเพื่อ  เพื่อผู้ปฏิบัติแก้ไขปรับปรุงสภาพของตนเอง      

5.2 ระเบียบวิธีวิจัย  ระเบียบวิธีวิจัย เป็นแบบแผนและวิธีวิจัยที่นักวิจัยใช้การแสวงหาความรู้ใหม่ของศาสตร์ในสาขาของตน วิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ศาสตร์แต่ละสาขาต่างก็มีระเบียบวิธีวิจัยเฉพาะในสาขาของตนตาม กระบวนทัศน์ทางการวิจัยที่แตกต่างกัน

            (ก)ระเบียบวิธีวิจัยตามแนววิทยาศาสตร์  เป็นระเบียบวิธีวิจัยตามแนวคิดทฤษฎีปฏิฐานนิยมที่วิจัยโดยใช้วิธีวิทยาศาสตร์และมุ่งศึกษาข้อมูลในลักษณะที่เป็นตัวเลขและต้องอาศัยวิธีทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อมาใช้ลงสรุปผล

       (ข) ระเบียบวิธีวิจัยตามแนวมนุษยศาสตร์  เป็นระเบียบวิธีวิจัยตามแนวคิดของทฤษฎีปรากฏการณ์นิยมที่วิจัยโดยไม่ใช้วิธีวิทยาศาสตร์และที่มุ่งศึกษาข้อมูลที่เป็นคุณลักษณะที่หลากหลายและลึกซึ้งและต้องอาศัยวิธีการตีความให้เข้าใจความหมายเพื่อมาใช้ลงสรุป

        (ค) ระเบียบวิธีวิจัยตามแนวสังคมศาสตร์  เป็นระเบียบวิธีวิจัยตามแนวคิดของสังคมเชิงวิพากษ์นิยมที่วัยโดยใช้วิธีวิทยาศาสตร์บางส่วนและมุ่งศึกษาข้อมูลจากการปฏิบัติที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัติเข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัตินั้นให้ดีขึ้น  

คำสำคัญ (Tags): #participatory action approach
หมายเลขบันทึก: 399869เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 14:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 01:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท