sick around the world


sick around the world

374 111 Contemporary Community Medicine

3 มิถุนายน 2553 หัวข้อ : Sick around the world

ผู้สอน ผศ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ได้เรียนรู้ถึงระบบสุขภาพของประเทศต่างๆ  ดังนี้

ประเทศสหรัฐอเมริกา

ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกามีปัญหาในเรื่องการจัดการระบบสุขภาพ  องค์การอนามัยโลกจัดให้ระบบการดูแลสุขภาพของอเมริกาอยู่ในลำดับที่ 37 ของโลก ในเรื่องคุณภาพและสวัสดิการ ซึ่งประเทศที่ร่ำรวยอื่นๆ ทำได้ดีกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา และใช้เงินน้อยมาก

ปัญหาที่พบคือ

  • ยังไม่สามารถครอบคลุมประชาชนอีก 47 ล้านคน
  • โรงพยาบาลแข่งขันกันเพื่อทำกำไร
  • เป็นระบบการแพทย์ที่แพงที่สุดในโลก
  • มีคนที่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้ ล้มละลายและหมดตัวจากการรักษาในแต่ละปีเป็นแสนคน

 

สิ่งที่ต้องการคือ ต้องการให้มีการประกันสุขภาพ (Universal health care) สำหรับชาวอเมริกันทุกคน

 

ประเทศอังกฤษ

  • มีสถิติด้านสุขภาพที่ดีกว่า เช่น อายุขัยเฉลี่ยที่ยืนยาวกว่า, อัตราตายของทารกแรกเกิดที่ต่ำกว่า
  • ครอบคลุมสิทธิแก่ทุกคน
  • คนอังกฤษพอใจกับระบบบริการ
  • คนอังกฤษจ่ายค่าบริการสุขภาพโดยผ่านทางภาษี (คนอังกฤษจะต้องจ่ายภาษีสูงกว่าเพื่อนำเงินไปใช้ในเรื่องของการดูแลสุขภาพของคนทั้งประเทศ) ทำให้
    • รัฐเป็นผู้ดำเนินการเรื่องการบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service)
      • รัฐเป็นเจ้าของโรงพยาบาล
      • โรงพยาบาลไม่สามารถทำเงินได้มากขึ้นเลย  โรงพยาบาลต้องแข่งกับโรงพยาบาลอื่นเพื่อให้ได้เงินจากรัฐบาล เพราะในปัจจุบันคนไข้สามารถเลือกโรงพยาบาลได้ แต่โรงพยาบาลยังจำเป็นต้องแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอด เพราะเมื่อเริ่มเสียคนไข้ให้โรงพยาบาลอื่น อาจทำให้โรงพยาบาลที่ไม่ได้รับความนิยมถูกปิด
    • มีการจองคิวทาง website ทำให้ได้รับบริการที่เร็วขึ้น
  • ไม่ต้องจ่ายค่ารักษา (ซึ่งทำให้ไม่มีผู้ที่ต้องหมดตัวหรือล้มละลายจากการรักษา)
  • ไม่มีเบี้ยประกันสุขภาพ
  • ไม่มีการจ่ายร่วม(Co-payment)
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมใดๆ
  • แพทย์ได้รับเงินเดือนจากรัฐ(เป็นลูกจ้างรัฐ)
  • GP ได้รับเงินเดือนแบบกำหนดตายตัวตามจำนวนคนไข้ในความรับผิดชอบ เฉลี่ยประมาณ 1800  คน แพทย์สามารถได้รับเงินโบนัสจากการที่สามารถดูแลคนให้มีสุขภาพดีได้ ประมาณ 90000 ปอนด์ (เท่ากับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 180000 US dollar/ปี)
  • การบริการสุขภาพเริ่มต้นจากแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป(GP) หรือแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวก่อนเสมอ ไม่สามารถพบแพทย์เฉพาะทางได้โดยตรง
  • การเข้าถึงแพทย์ง่าย แพทย์ประจำครอบครัวให้การดูแลขั้นพื้นฐานได้ดีมาก รวมถึงการแพทย์ฉุกเฉิน
  • ระบบมีมาตรการกระตุ้นแรงจูงใจเพื่อทำให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง ทำให้อังกฤษเป็นผู้นำระดับโลกด้านเวชกรรมป้องกัน มีบริการด้านเวชกรรมป้องกันที่ยอดเยี่ยม มีสื่อ เช่น โปสเตอร์ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ
  • ผู้ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาเฉพาะทาง เช่น Hip replacement หรือ Heart operation ซึ่งต้องใช้เวลารอนาน(รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหานี้โดยการจ่ายเงินให้มากขึ้นและนำกลไกตลาดมาใช้ในระบบบริหารของรัฐ ทำให้คิวการรับบริการเร็วขึ้น, การรอคิวรับการรักษาลดลง)

 

ประเทศเยอรมนี

มี concept of health care system ชื่อบิสมาร์กโมเดล ซึ่งกล่าวว่า รัฐต้องจัดหากลไกเพื่อให้พลเมืองสามารถได้รับการดูแลทางการแพทย์เมื่อพวกเขาต้องการ ดังนั้นประชาชนทุกคนในเยอรมนีจึงได้รับการคุ้มครองด้านบริการสาธารณสุข มีเพียง 10% ที่เป็นคนรวยที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากระบบการคุ้มครอง คือต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง และ 90% ที่เหลือยังอยู่ในระบบ ทำให้คนเยอรมันพอใจมากกับระบบบริการสาธารณสุข

  • มีกองทุนความเจ็บป่วย เรียกว่า sickness fund โดยรัฐเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันตามฐานรายได้ของประชาชน ให้แก่บริษัทประกันเอกชนซึ่งมีอยู่ประมาณ 240 แห่ง
  • จัดหาการมีหลักประกันสุขภาพให้ทุกคนด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่าอเมริกา
    • ประชาชนได้ประกันสุขภาพผ่านทางนายจ้าง สำหรับคนที่มีงานทำเบี้ยประกันจะถูกหักผ่านทางนายจ้าง ซึ่งต้องจ่ายถึงสองในสามส่วนของเงินเดือนที่ได้รับ (มีราคาแพงกว่าที่ญี่ปุ่นและอังกฤษ แต่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับที่ต้องจ่ายตามมาตรฐานของอเมริกา) เป็นระบบที่คนรวยช่วยจ่ายให้คนจน และคนที่เจ็บป่วยได้รับการปันเฉลี่ยจากผู้ที่มีสุขภาพดี เป็นระบบเกื้อกูลทางสังคมที่งดงาม ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างสูงจากประชาชน
    • ถ้าตกงาน ประกันสุขภาพจะหยุดเก็บเบี้ยประกันช่วงตกงาน เพราะคนที่ตกงานมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยมากขึ้น เพราะถ้าเสียการประกันสุขภาพในระหว่างที่ตกงาน จะเป็นช่วงเวลาที่แย่มาก ดังนั้น ทุกคนที่ไม่มีงานทำจะยังคงอยู่ในระบบประกันสุขภาพที่เคยได้รับ
    • หญิงตั้งครรภ์ไม่ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อไปพบแพทย์แต่ยังต้องมีการจ่ายร่วมทุก 3 เดือน ประมาณ 10 ยูโร (15 US$) 

 

บริษัทประกันสุขภาพของเยอรมันไม่ได้รับอนุญาตให้ทำกำไร แต่บริษัทก็ยังต้องมีการแข่งขันกันเองเพื่อให้ได้ลูกค้า ไม่ต้องปิดตัวเอง สามารถดำเนินธุรกิจ และเติบโตต่อไป ได้ มีการบริหารจัดการเพื่อให้ได้รับเงินสนับสนุนเพิ่มขึ้นหากกองทุนมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น

  • การคุ้มครองด้านสุขภาพ ของบริษัทประกันสุขภาพดีเยี่ยม นอกจากการคุ้มครองขั้นพื้นฐานทุกด้านแล้ว ยังรวมถึงด้านผ่าตัดสุขภาพจิต ทันตกรรม  และสายตา และระบบยังจ่ายเงินให้กับการรักษาแบบทางเลือกด้วย เช่น Homeopathy, spa
  • การให้บริการดูแลสุขภาพเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดที่ใหญ่มาก ดำเนินการโดยแพทย์ และ รพ.เอกชน
  • การรอคิวใช้เวลาเท่าๆ กับในอเมริกา เร็วกว่าในอังกฤษ แต่ช้ากว่าในญี่ปุ่น
  • ระบบการดูแลสุขภาพของเยอรมันถือว่าเป็นระบบที่เป็นทางเลือกที่ดีระหว่างระบบที่ต้องทำกำไรกับระบบที่มีผู้จ่ายรายเดียว (เหมือนในญี่ปุ่น) ทำให้มีตัวเลือกมาก, เสียค่าใช้จ่ายน้อย (เมื่อเทียบกับอเมริกา) ใบสั่งยาทุกใบมีการจ่ายส่วนต่างเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย, คุณภาพดีมาก, ระบบบริการมีประสิทธิภาพ
  • ผู้ให้บริการทางการแพทย์และกองทุนความเจ็บป่วย มีการต่อรองกันในเรื่องมาตรฐานของราคาและคิดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการให้ลดลง ซึ่งค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการนี้ใช้ประมาณ 6% ของรายได้ประชากร (คิดเป็น 1 ใน 4 ของค่าใช้จ่ายในสหรัฐอเมริกา)
  • ทุกๆ ปี sickness fund มีการต่อรองราคายากับบริษัทยา เพื่อให้ได้ราคายาที่เป็นมาตรฐาน (ยาตัวหนึ่งๆ มีราคาเดียว) ทำให้ราคาที่เยอรมันมีราคาถูกกว่าที่อเมริกา อำนาจทางการตลาดถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่

ปัญหาที่พบ

  • จ่ายค่าตอบแทนแพทย์น้อยกว่าในอเมริกา ทำให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ เช่น แพทย์บางกลุ่มรู้สึกด้อยคุณค่า และรู้สึกว่าถูกกดราคาค่าให้บริการ (เหมือนในญี่ปุ่น)
  • แพทย์ที่ทำงานในโรงพยาบาลไม่ได้รับค่าตอบแทนที่ดีนัก ประมาณ 80000 US$ ต่อปี (คิดเป็น ½ ของแพทย์ที่อเมริกา) ไม่ได้ทำงานแค่ 8 ชั่วโมง บางครั้งต้องทำงาน 12, 14 หรือ 16 ชั่วโมง หรือบางครั้งต้องทำงานทุกวันตลอดสัปดาห์ ทำให้แพทย์รู้สึกว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจากระบบ และควรได้รับเงินเพิ่มมากว่านี้
  • Family Doctor มีรายได้ 1.2 แสน US$/ปี (เพียง 2/3 ของแพทย์ที่อเมริกา) แต่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็ถูกมาก เช่น ค่าเบี้ยประกันการถูกฟ้องร้อง 1400 US$/ปี (เพียง 1/4 ที่ต้องจ่ายที่อเมริกา) และการเข้าเรียนในโรงเรียนแพทย์ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเลย
  • โรงพยาบาลได้รับงบประมาณที่ไม่เพียงพอ เพราะจัดบริการดูแลที่มีราคาสูงให้ ทำให้ โรงพยาบาลต้องประหยัด ไม่สามารถคิดค่าบริการเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากรัฐบาลมีการดำเนินการต่อรองตกลงราคาทุกปี (โรงพยาบาลที่อเมริกาก็ไม่ได้รับงบประมาณที่เพียงพอ แต่สามารถคิดค่าบริการเพิ่มขึ้นได้)   โรงพยาบาลทั้งหมดได้รับการจ่ายเงินตามเกณฑ์การชดเชยทดแทนตามหลัก DRG ไม่สามารถขึ้นค่ารักษาได้เอง

 

ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

 

มีประชากร 8 ล้านคน เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงด้านบริษัทประกัน มีบริษัทยาใหญ่ๆ มากมาย

ในปี คศ. 1994 มีการปฏิรูประบบสุขภาพ (Health care reform) ทำให้ปัจจุบันนี้ประชาชนมีระบบประกันสุขภาพที่มีคุณภาพสูง

การประกันสุขภาพเป็นความสมัครใจ และสัมพันธ์กับภาวการณ์จ้างงาน ถ้าตกงานอาจเสียสิทธิ์การคุ้มครองสุขภาพ

  • ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับการดูแลสุขภาพ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่มั่นใจว่า ถ้าเจ็บป่วยจะสามารถมีระบบบริการสุขภาพที่ดีได้ ถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เป็นเป้าหมายที่แท้จริง และไม่เคยมีคนหมดตัวจากการรักษา
  • เบี้ยประกันรายเดือนสำหรับครอบครัวชาวสวิสเซอร์แลนด์ อยู่ที่ 750 US$ แต่มีแรงกดดันให้มีการเพิ่มเบี้ยประกัน และกลายเป็นระบบบริการสาธารณสุขที่แพงที่สุดเป็นอันดับ 2

 

  • LAMal กำหนดให้ทุกคนซื้อประกันสุขภาพ รัฐจ่ายให้เฉพาะคนจน ทำให้มีหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมสำหรับทุกคน บริษัทยาและบริษัทประกันต่อต้าน เพราะบริษัทประกันไม่สามารถเลือกทำประกันเฉพาะคนหนุ่มสาว คนแข็งแรง โดยเลี่ยงผู้สูงอายุและคนป่วยได้ และบริษัทยายังไม่ถูกปล่อยให้ทำกำไร จากประกันสุขภาพขั้นพื้นฐาน ถึงแม้ว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรจากการประกันพิเศษเพิ่ม ประชาชนที่ปฏิเสธจะได้รับความครอบคลุม จะถูกมอบหมายให้กับบริษัทประกันโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเป็นรายเดือน  10 ปีต่อมา LAMal ได้รับการยอมรับเป็นอย่างดี
  • เนื่องจากมีบริษัทประกันเป็นจำนวนมากในสวิสเซอร์แลนด์ เป็นบริษัทที่ไม่ได้มุ่งหวังกำไร ซึ่งการไม่มีผลกำไร ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการแข่งขัน แต่พบว่ามีการแข่งขันสูงมาก เพราะแต่ละบริษัทต้องการจะเก็บรักษาลูกค้าเดิมไว้ และหาลูกค้ารายใหม่เพิ่ม จึงมีการแข่งขันกันมากทั้งในด้านบริการและราคา โดยเน้นที่ราคาเป็นหลัก และมีการจ่ายคืนให้เร็วที่สุด
  • บริษัทประกันจะคงค่าใช้จ่ายด้านการบริหารจัดการให้ต่ำประมาณ 4.4% (ในอเมริกาค่าเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการประมาณ 22% ) แหล่งที่ทำกำไรของบริษัทประกันในสวิสเซอร์แลนด์คือจากการประกันพิเศษเพิ่ม เช่น การจัดห้องพักของโรงพยาบาลที่ดีกว่า

 

ประเทศญี่ปุ่น

มีประชากร 130 ล้านคน  มีระบบสุขภาพแห่งชาติที่ดีกว่าอเมริกา คนญี่ปุ่นพอใจมากกับระบบบริการ

สามารถสร้างระบบที่ทำให้เกิดตัวเลขสถิติด้านสุขภาพที่ดี(ผลของสุขภาพประชาชนดีเยี่ยม, มีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวอายุขัยเฉลี่ยมากที่สุดในโลก, อัตราการตายของทารกแรกเกิดต่ำที่สุด) ซึ่งอาจเกิดจากอาหารหรือการดำรงชีวิต (life style)

 

  • เบี้ยประกันโดยเฉลี่ยสำหรับครอบครัวชาวญี่ปุ่น ประมาณ 280 US $ ต่อเดือน ซึ่งนายจ้างช่วยออกให้อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง (ซึ่งน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับที่ชาวอเมริกันส่วนใหญ่จ่ายไป)
  • คนญี่ปุ่นไม่ต้องจ่ายค่าบริการสุขภาพผ่านทางการเสียภาษีแต่ทุกคนสมัครที่จะเข้าร่วมตามนโยบายการประกันสุขภาพ ซึ่งสมัครได้จากที่ทำงานหรือผ่านกลุ่มประกันตนในเขตชุมชนที่อาศัยอยู่ และรัฐบาลจะรับภาระจ่ายเงินประกันสังคม(Social insurance)ให้แทนคนยากจนที่ไม่สามารถจ่ายได้หากตกงานในญี่ปุ่น จะยังไม่สูญเสียการประกันสุขภาพ (ซึ่งไม่เหมือนในอเมริกา) โดยจะถูกย้ายไปอยู่กลุ่มผู้ประกันตนเขตชุมชน ซึ่งบริษัทประกันไม่สามารถบ่ายเบี่ยงได้การบริการทางสาธารณสุขครอบคลุมทุกคน ทุกคนมีประกัน ประกันรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด
  • แผนการบริการสุขภาพคุ้มครองการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานให้พนักงานและครอบครัว บริษัทประกันไม่ได้รับอนุญาตให้ทำกำไร ถ้ามีกำไรส่วนต่างต้องยกยอดไปในปีถัดไป หรือถ้ามีกำไรมากๆ ค่าเบี้ยประกันก็จะลดลง
    • ราคาถูก ทำให้คนญี่ปุ่นไปหาหมอบ่อยกว่าคนอเมริกันถึง 3 เท่า ไม่มีใครหมดตัวเนื่องจากค่ารักษาพยาบาล
      • พลเมืองทุกคนได้รับการคุ้มครองด้านสุขภาพ ทุกคนได้รับการดูแล ไม่มีการรอหรือเข้าคิวพบแพทย์
      • การคุ้มครอง ครอบคลุมทุกอย่าง รวมถึง การดูแลสายตา การแพทย์แผนจีน การฟอกไต OPD IPD
      • มีการใช้จ่ายเงินน้อยกว่าอเมริกา (มีการใช้จ่ายเพียง 8% ของรายได้ GDP (น้อยกว่าของอังกฤษ)
        • การบริการสาธารณสุขของญี่ปุ่นมีลักษณะเป็นการตกลงต่อรอง
        • การควบคุมค่าใช้จ่าย  กระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่นเข้มงวดกับการควบคุมราคาของการบริการสาธารณสุขมากลงลึกไปถึงรายละเอียดปลีกย่อย ทุกๆ 2 ปี แพทย์และกระทรวงสาธารณสุขจะมีการตกลงต่อรองราคาเพื่อควบคุมราคาของทุกๆ หัตถการและยาทุกตัว เพื่อกำหนดราคามาตรฐานและนำไปใช้เหมือนกันทุกแห่งทั่วประเทศ
        • โรงพยาบาล 80% เป็นโรงพยาบาลเอกชน (มากกว่าในอเมริกา)มาตรการควบคุมราคาสร้างความลำบากใจให้แพทย์ แพทย์ไม่สามารถคิดเงินได้ตามใจชอบ คิดได้ตามที่ระบุไว้ในคู่มือกำหนดราคา ซึ่งเป็นราคาที่ยุติธรรมถ้าแพทย์พยายามเพิ่มรายได้ด้วยการเพิ่มจำนวนการทำหัตถการ ในการเจรจาต่อรองครั้งต่อไปรัฐบาลจะกดราคาหัตถการนั้น ๆ ให้ต่ำกว่าเดิม
        • คลินิกแพทย์เกือบทุกแห่งเป็นธุรกิจของเอกชน50%ของ รพ. ในญี่ปุ่นกำลังขาดทุน เพราะญี่ปุ่นใช้จ่ายเงินน้อยเกินไป เช่น การนอน รพ. ต่อคืนจ่ายแค่ 10 US $ ทำให้ราคาไม่สูงพอที่จะสร้างสมดุลให้งบบัญชีได้ ต้องเพิ่มราคาอีกเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ รพ.ล้มละลาย
        • สามารถพบแพทย์เฉพาะทางได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่ต้องมีการนัดล่วงหน้า
        • ไม่ต้องมีแพทย์ตรวจคัดกรองเป็นด่านหน้า
        • การพบแพทย์ใช้เวลาไม่นาน
  • คนญี่ปุ่นอยู่ รพ.นานกว่าชาวอเมริกัน
  • ใช้เทคโนโลยีมาก เช่น การ scan และเนื่องจากการทำ MRI ราคาไม่แพง จึงทำให้คนญี่ปุ่นใช้ MRI มากเป็น 2 เท่าของคนอเมริกัน 8 เท่าของคนอังกฤษ
  • บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ของญี่ปุ่นไม่มีปัญหาในการผลิตและสามารถสร้างสรรค์งานใหม่ๆ ได้ เช่น การทำเครื่อง scan ที่ราคาไม่แพง และส่งออกไปทั่วโลก

 

ประเทศไต้หวัน

มีประชากร 23 ล้านคน ออกแบบระบบสุขภาพเอง โดยดูตัวอย่างจาก 10-15 ประเทศ และต่อยอดจากการแก้ไขข้อผิดพลาด สร้างระบบที่มีความเท่าเทียม

  • เป็นระบบสุขภาพที่รัฐเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว มีหน้าที่รวบรวมเงินไว้เป็นก้อนเดียวกัน
  • ระบบการเงิน เลือกระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ (National insurance system) โดยกำหนดให้ทุกคนต้องเข้าร่วมและจ่ายเงิน และไม่ให้คนรวยออกจากระบบ (ค่ารักษาออกตรงไปยังสำนักงานประกันสุขภาพของรัฐบาลและได้รับการจ่ายกลับมาโดยอัตโนมัติ)
  • รัฐบาลไต้หวันใช้จ่ายเงินเพียงเล็กน้อยในเรื่องการบริการสุขภาพ มีค่าการบริหารจัดการที่ต่ำที่สุดในโลก
  • ทุกคนมีบัตรสมาร์ทการ์ดประจำตัว ในบัตรมีข้อมูลทุกอย่าง เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์สามารถดูข้อมูลได้จากเครื่องอ่านการ์ด
  • ถ้าพบว่ามีผู้ป่วยไปพบแพทย์มากว่า 20 ครั้งต่อเดือนหรือ 50 ครั้งใน 3 เดือน เจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันสุขภาพจะไปพบผู้ป่วยเพื่อตรวจสอบ
  • ชาวไต้หวันพอใจกับระบบดูและสุขภาพ
  • เป็นระบบที่คล้ายกับระบบ Medicare สำหรับผู้สูงอายุที่อเมริกา
  • ทุกคนเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้ (คลินิกเปิดในวันหยุดถึง 17.30 น)
  • ไม่มีคนไต้หวันที่หมดตัวหรือล้มละลายจากการรักษาพยาบาล
  • เลือกแพทย์ได้เสรี (ไม่มีด่านคัดกรอง)
  • ไม่ต้องรอคิว
    • ระบบสนับสนุนให้มีการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการด้วยกันเอง
  • น้อยกว่า 2% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (น้อยกว่าในญี่ปุ่นซึ่งใช้ 6.23%ของGDP, ในอเมริกาใช้ 16% ซึ่งมากเกินไปและไม่ได้คุ้มครองทุกคน) แม้รัฐบาลจะไม่มีเงินเพียงพอที่จะจ่ายให้กับทุกบริการอย่างที่เสนอให้กับประชาชน แต่รัฐบาลสามารถกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำมาจ่าย ให้กับผู้ให้บริการทั้งหลาย นักการเมืองไต้หวันคัดค้านการขึ้นค่าเบี้ยประกัน (เพิ่มค่าใช้จ่ายเป็น 8% ของ GDP) เนื่องจากเกรงเรื่องฐานคะแนนเสียงที่อาจลดลง ทั้งนี้ ชาวไต้หวัน ยังต้องเผชิญกับการสร้างความสมดุลระหว่างความคาดหวังของผู้ป่วยและความคาดหวังของแพทย์กับตัวเลขจำนวนเงินที่ประชาชนเต็มใจจ่ายเพื่อบริการด้านสุขภาพ

 

การดูแลสุขภาพจะเป็นการค้าเสรี100% ไม่ได้ เพราะจะทำให้สูญเสียความสามัคคี และการเข้าถึงที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน ซึ่งเป็นคุณค่าพื้นฐานของการใช้ชีวิตในสังคม

ดังนั้น การจัดการระบบสุขภาพ ทุกประเทศควรมีข้อจำกัดไว้ ดังนี้

  1. บริษัทประกันต้องยอมรับทุกคน ไม่สามารถสร้างกำไรจากบริการพื้นฐานได้
  2. บังคับให้ทุกคนซื้อประกัน และรัฐบาลจ่ายค่าเบี้ยประกันให้คนยากจน
  3. ต่มีแรงกดดันให้มีการเพิ่มเบี้ยประกันวิสเซอร์แลนด์ แพทย์และโรงพยาบาลต้องยอมรับมาตรฐานราคากลางที่ตั้งไว้

 

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

จากการได้ศึกษาระบบสุขภาพของแต่ละประเทศนั้นพบว่าแต่ละประเทศมีสิ่งที่น่าสนใจในการดำเนินการ ระบบสุขภาพของแต่ละประเทศมีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ทำให้คิดถึงระบบบริการสาธารณสุขของประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ในเรื่อง Universal coverage และ การเข้าถึงบริการด้วย ประเทศไทยลังพัฒนาๆ สุขเรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งมีการใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับประชาชนทั่วไป สวัสดิการของข้าราชการ และประกันสังคมสำหรับบุคลากรในบริษัทเอกชน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดีมากสำหรับประชาชนทุกคนที่จะมีโอกาสเข้าถึงบริการได้ โดยลดข้อจำกัดเรื่องการใช้จ่ายเงินในการรักษาเมื่อมีอาการเจ็บป่วย โรงพยาบาลในประเทศไทยมีทั้งโรงพยาบาลของเอกชนและโรงพยาบาลของรัฐบาล รวมทั้งมีร้ายขายยาและคลินิกส่วนตัวของแพทย์อีกมาก ทำให้ประชาชนที่มีอำนาจในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้เลือกใช้ได้ตามต้องการ หากจะมองที่ระบบการเงินที่ support โรงพยาบาลของรัฐแล้ว อาจมีความไม่สมดุลในรายจ่ายและรายรับของโรงพยาบาล หากโรงพยาบาลต้องใช้จ่ายในการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายมากๆ เสมอๆ ซึ่งอาจมีปัญหาในการบริหารจัดการต่อไป มีการใช้กลยุทธ์กระบวนการต่างๆ ในการพัฒนา และการควบคุมคุณภาพการบริการ รวมถึงการจ่ายค่าตอบแทนแก่แพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุข

สำหรับการเก็บภาษีรายได้จำนวนสูงๆ เหมือนประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดีที่ประชาชนทุกคนจะได้มีหลักประกันที่มั่นใจได้ว่าจะได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดีเมื่อเจ็บป่วย ถ้าสามารถทำให้การเก็บภาษีเป็นธรรมได้และไม่มีการคอรัปชั่นในระบบ

ส่วนในเรื่องของการใช้บัตรสมาร์ทการ์ดบันทึกประวัติการรักษานั้น เห็นว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ดีมาก ทำให้สะดวก และทำให้สะดวก มีบันทึกข้อมูลที่ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาการหาเอกสารหรือการหาประวัติเก่า สำหรับผู้ป่วยเรื้อรังที่มีประวัติการรักษายาวนาน

คำสำคัญ (Tags): #sick around the world
หมายเลขบันทึก: 399824เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท