Suicide prevention


Suicide prevention

Suicide prevention

สิ่งที่ได้เรียนรู้

วัตถุประสงค์

  • เพื่อศึกษาระบาดวิทยาของการฆ่าตัวตาย (Epidemiology of suicide)
  • เพื่อศึกษาการกระทำที่เหมาะสมในการการป้องกันการฆ่าตัวตาย (Interventions available to prevention suicide)
  • Thailand experiences

ความหมาย

Attempted suicide – not die, self harm (deliberate self harm)

Commit suicide – die

สาเหตุ (Etiology)

  • Most suicide problem is from mental health problem such as schizophrenia, psychosis

จากผลการศึกษาในปี 2002-2006 พบว่า อัตราการทำร้ายตัวเอง มากกว่า 1 ครั้ง (Repeated self harm) ลดลง, ผู้หญิงทำร้ายตัวเองมากกว่าผู้ชาย, ผู้ชายตายมากกว่าผู้หญิง และพบอัตราการทำร้ายคนอื่นเพิ่มขึ้นด้วย

Distribution in Thailand ในปี 2006 พบว่า

  • อัตราการฆ่าตัวตายของประชากรภาคเหนือมีมากกว่าภาคอื่นๆ
  • กลุ่มอายุที่เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในวัยกลางคนมากที่สุดคือ 30-39 ปี รองลงมาคือช่วงอายุ 20-29 ปี และคนที่แต่งงานแล้วมี Commit suicide มากที่สุด
  • อาชีพ พบว่า ผู้ใช้แรงงานมีมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ เกษตรกร และนักศึกษา ตามลำดับ
  • วิธีการทำร้ายตัวเอง ได้แก่ 1. Intoxication – pesticide และ 2. Drug over dose
  • บริการที่จัดให้เพื่อแก้ปัญหา ได้แก่ ส่วนใหญ่เป็นการให้คำปรึกษา (Counseling) รองลงมาคือแนะนำญาติ (advice relatives)
  • สถานการณ์ (Circumstance) ที่นำไปสู่ self harm พบว่า ปัญหาเรื่องสัมพันธภาพเป็นปัญหาใหญ่ พบมากที่สุดคือ การถูกตำหนิ (Being condemn), รองลงมาคือ การทะเลาะวิวาทกับคนใกล้ชิด (Quarrel with closed ones) และการคบชู้ นอกใจ (love affairs problem)
  • บุคคลที่มีความขัดแย้งกัน มากที่สุดคือ คู่ครอง คนรัก (Spouse) รองลงมาคือแม่ พ่อ พี่น้อง ลูกหลาน ตามลำดับ
  • Self harm behavior พบว่า wanted to die 41% และ repeated 25%
  • 20% ของ self harm persons มีโรคอื่นร่วมด้วย (Co-morbidity) ดังนี้ ส่วนใหญ่เป็นโรคทางจิต รองลงมาคือ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ปวดศรีษะ และ HIV ตามลำดับ

เหตุผลการของการมีชีวิตอยู่และไม่ทำร้ายตนเอง ได้แก่

  • การเป็นห่วงคนในครอบครัว คนที่ตนรัก
  • คิดว่าตนเองยังมีคุณค่า มีเป้าหมายที่อยากทำอยู่
  • มีความมั่นใจในตนเองว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้
  • ยอมรับและเข้าใจธรรมชาติของปัญหา
  •  เป็นบาป และผิดหลักศาสนา
  • กลัวคนอื่นจะหาว่าเป็นคนอ่อนแอ

ระบาดวิทยาของการฆ่าตัวตาย ในปี 2007-2008 จาก รง.506 DS มบ.1

  • พบว่าในปี 2007 มี 3701 ราย และปี 2008 มี 2865 ราย
  • พบมากที่สุดในภาคเหนือ รองลงมาคือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ตามลำดับ
  • พบในเพศชาย(74.5%) มากกว่าเพศหญิง (25.5%)
  • พบในอายุ 30-39 ปี มากที่สุด รองลงมาคือ 40-49 ปี, 20-29 ปี,50-59 ปี, 60-69 ปี, มากกว่า 70 ปี และ 10-19 ปี ตามลำดับ
  • ปี 2007 พบว่า อาชีพที่มีการฆ่าตัวตายมากที่สุดคือ เกษตรกร (ร้อยละ 36.1) รองลงมาคือ ผู้ใช้แรงงาน (ร้อยละ 34.7) และคนไม่มีงานทำ (ร้อยละ 4.8)
  • ปี 2008 พบว่า วิธีการฆ่าตัวตายมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ การผูกคอตาย (ร้อยละ 60), สารกำจัดวัชชพืช (ร้อยละ 12) และ ยาฆ่าแมลง (ร้อยละ 10)
  • เหตุการณ์ที่เป็นสาเหตุของการฆ่าตัวตายในปี 2008 มากที่สุดคือ ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ (ร้อยละ 39.9) รองลงมาคือ มีโรคทางกาย/ทางจิต (ร้อยละ 39.6) มีปัญหาด้านเศรษฐกิจ (ร้อยละ 9.6) และไม่ทราบสาเหตุ (ร้อยละ 26.0)

การป้องกันการฆ่าตัวตาย      

  • Air way ได้แก่ populations approach โดย Public education
  • Ground way โดย ค้นหากลุ่มเสี่ยง/ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย โดยใช้ screening for depression (15 items)และ screening for suicide (10 items)

Combined high risk & population approaches to suicide prevention โดยจัด campaign, ประชาสัมพันธ์ทางสื่อ (media) หรือด้านนโยบาย (policy intervention) เช่น ลดภาษี, คัดกรอง (mass screen)

High risk group ได้แก่ เพศชาย อายุ 20-50 ปี ปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  • มีความขัดแย้งในครอบครัว
  • มีโรคเรื้อรัง/ เป็นโรคทางจิต, เป็นโรคที่รุนแรง
  • Depression score > 6
  • ถูกตำหนิ
  • ติดสุรา

และขาดปัจจัยป้องกัน เช่น ไม่มีเหตุผลในการมีชีวิตอยู่ และไม่มีความเชื่อในเรื่องศาสนา

การป้องกันการฆ่าตัวตายต้องใช้ความร่วมมือจากหน่วยงานอื่นๆ นอกเนือจากหน่วยงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ดังนั้นจึงมีการผสมผสาน บูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆ ด้วย หน่วยงาน 3 อันดับแรก ที่มีความร่วมมือ มากที่สุดคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 83.33), หน่วยงานของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ร้อยละ 76.19) และกระทรวงศึกษาธิการ (ร้อยละ 73.81)

ได้มีความพยายามแก้ปัญหาโดยการคัดกรองผู้ป่วยซึมเศร้าในปี 2550-2551 เพิ่มขึ้น และ Standardized of practice โดยการเยี่ยมบ้านและการส่งต่อ

ข้อมูลเพิ่มเติม

  • จำนวนผู้ที่ฆ่าตัวตายพบโดบแพทย์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.8 ในปี 2548 และร้อยละ 17.7 และ 26.1 ในปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ
  • แพทย์ให้คำปรึกษาผู้ที่ฆ่าตัวตายไม่สำเร็จเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.4 ในปี 2548 และร้อยละ 15.9 และ 23.9 ในปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ
  • แพทย์ให้คำปรึกษาผู้ป่วยซึมเศร้า (depress) เพิ่มขึ้น ในปี 2548 ร้อยละ 7.8 และร้อยละ 27.0 และ 30.2 ในปี 2549 และ 2550 ตามลำดับ
  • ระดับความมั่นใจต่อทักษะการให้คำปรึกษาของแพทย์ ในปี 2548-2549 ได้คะแนนเฉลี่ย 2.5 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน
  • ระดับความมั่นใจต่อทักษะการให้คำปรึกษาของพยาบาล ในปี 2548-2549 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.3 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน

Suicide prevention strategies (Mann, JJ et al. (2005), JAMA 2005; 2064-74.

สาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตาย คือการมี Stressful life event หรือมี Mood or other psychiatric disorder ทำให้เกิด suicidal ideation และเกิดเป็น Suicide act

การประเมินผลและการติดตามผล

  • บุคลากรและภาคีต้องมีทักษะ
  • กระบวนการต้องมีตุณภาพและประสิทธิภาพ
  • มีการเข้าถึงบริการที่ได้ผล
  • ดูผลกระทบทางเศรษฐกิจ

การประเมินผล

  • ขนาดของปัญหาลดลง
  • การสูญเสียทางเศรษฐกิจลดลง
  • ปัจจัยเสี่ยงลดลง

ผู้ที่ฆ่าตัวตายมีความเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าและมาพบแพทย์ไม่มากนัก การค้นหากลุ่มเสี่ยงโดยการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายของบุคคลในชุมชุน นำเข้าสู่ระบบการรักษา ร่วมกับการเข้าไปให้ความรู้เบื้องต้นแก่ประชาชนทั่วไป เป็นวิธีการป้องกันการฆ่าตัวตายที่มีน่าจะให้ผลดีและประสิทธิภาพที่สุด

 

 

คำสำคัญ (Tags): #suicide prevention
หมายเลขบันทึก: 399802เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท