No fault Patient Compensation


No fault Patient Compensation

No fault Patient Compensation (การเรียกร้องเงินชดเชยจากภาวะไม่พึงประสงค์ที่เกิดในโรงพยาบาล)

No fault Patient Compensation (การเรียกร้องเงินชดเชยจากภาวะไม่พึงประสงค์ที่เกิดในโรงพยาบาล) เป็นตัวอย่างที่ดีจากการดำเนินการของประเทศในกลุ่มแสกนดิเนเวีย ซึ่งทุกประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้มีการพัฒนาและใช้ระบบกองทุนชดเชยความเสียหายแก่ผู้ป่วยมาหลายปีแล้ว มีผู้ยื่นและได้รับการชดเชยเพิ่มขึ้นทุกปีเพราะไม่มีปัญหาอุปสรรคทางการเงิน ประเทศสหรัฐอเมริกาและอังกฤษได้พยายามนำระบบนี้มาใช้ แต่ไม่ได้ผล เนื่องจากได้รับการต่อต้านจากทนายความและระบบประกันของเอกชน

ประเทศไทย เริ่มสร้างระบบการชดเชยความเสียหายใน พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 (National health security office – NHSO – สปสช) ซึ่ง สปสช. กันเงินงบประมาณที่ได้รับร้อยละ 1 เป็นเงินกองทุนสำหรับช่วยเหลือ ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล (เพื่อชดเชยให้ผู้ป่วยเมื่อเกิดความผิดพลาดในการรักษาพยาบาลจากสิ่งที่ป้องกันได้ ไม่ใช่สาเหตุจากการดำเนินของโรค)

ทางเลือกสำหรับการออกแบบการชดเชยจากภาวะไม่พึงประสงค์นั้น ควรมีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่มาดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานใหม่ที่ดูแลโดยตรง ไม่ต้องไปที่ศาล ทำให้สามารถดำเนินการได้เร็วขึ้น เพื่อทำให้จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการชดเชยมีมากขึ้นกว่าเดิม

จุดอ่อนของระบบนี้ ในประเทศไทย

1. ความครอบคลุม การจ่ายเงินชดเชยนี้ยังไม่ครอบคลุมประชาชนทุกคน ครอบคลุมเฉพาะผู้ที่อยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประมาณ 47 ล้านคนเท่านั้น ในขณะที่มีประชากรทั้งหมดประมาณ 64 ล้านคน ปัญหาที่เกิดขึ้นขณะนี้คือความพยายามในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ ที่เรียกว่า กองทุนชดเชยความเสียหายจากบริการด้านสุขภาพ (Patient compensation act) เพื่อให้สามารถครอบคลุมผู้ป่วยทุกคน แต่ยังมีบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งที่ยังไม่ยอมรับและมีการต่อต้าน เนื่องจากเงินที่จะนำมาจ่ายเพื่อชดเชยได้จาก แพทย์ พยาบาล เภสัชกร และโรงพยาบาล

2. ระบบการตัดสินใจในการจ่ายเงินชดเชย ควรพัฒนารูปแบบของระบบการตัดสินใจจ่ายเงินชดเชย รวมถึงต้องกำหนดจำนวนวงเงินที่จะจ่าย เนื่องจากคุณภาพในการตัดสินใจยังไม่ดีเพียงพอ  ปัจจุบันนี้ผู้ที่ตัดสินใจ คือ บุคลากรทางการแพทย์ (health personnel) ยังมีปัญหาในเรื่องความไม่คงที่ในการตัดสิน เช่น ในกรณีเดียวกันบางคนได้รับการชดเชย บางคนไม่ได้รับการชดเชย มีการโต้แย้งในเรื่องการคิดมูลค่าความเสียหายจากผู้ป่วยและญาติ และมีความหลากหลายในการตัดสินใจของกรรมการย่อยในแต่ละพื้นที่ในแต่ละจังหวัด ทั้งนี้ สปสช.ได้จัดทำแนวทาง (Guidelines) ในการตัดสินใจ เพื่อเป็นแนวทางให้คณะกรรมการตีความกฏ ระเบียบที่แตกต่างกัน ทำให้ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ที่ได้รับการชดเชยยังมีน้อย แต่มีเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต

และขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดเพดานของวงเงินชดเชยที่จะจ่าย (เพดานในการจ่ายเงินในปัจจุบันคือ ถ้าความผิดพลาดถึงขั้นทำให้เสียชีวิตจ่ายค่าชดเชย 2 แสนบาท, พิการ (disability) จ่าย 80,000 บาท) ซึ่งต้องมีการศึกษาการดำเนินงานเพิ่มเติมจากระบบของประเทศนอร์เวย์ และในอนาคต สปสช. ควรมีการจัดทำตัวชี้วัดคุณภาพ (quality index)

3. การประชาสัมพันธ์ ควรมีการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ เนื่องจากยังมีประชาชนที่ไม่รู้สิทธิของตนองในเรื่องนี้ ถึงแม้ว่าการที่ประชาชนรับรู้สิทธิอาจทำให้เกิด False positive

4. การบริหารจัดการ ควรมีการดำเนินการวางแผนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ เนื่องจากมีตัวอย่างจากการจ่ายเงินค่าธรรมเนียมจากการประกันอุบัติเหตุ (Premium of accident insurance) ที่มีการใช้เงินถึง 40% จ่ายเป็นค่าบริหารจัดการ ซึ่งถือว่ายังไม่มีประสิทธิภาพ ในปัจจุบันนี้เงินที่ใช้ในการชดเชยดังกล่าวได้จากภาษีอากร ผู้ป่วยต้องเลือกว่าจะเลือกรับเงินชดเชยจากกองทุนนี้ หรือฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ไม่สามารถเลือกทำทั้งสองอย่าง

5. ไม่ควรมีการเชื่อมโยงไปสู่ความผิดพลาด เนื่องจากระบบนี้ไม่ตัดสินว่ามีคนผิด จึงไม่ควรมีการลงโทษผู้ใด (No fault – no one punishment) เพื่อให้ได้รับความร่วมมือมากขึ้นในการสอบสวนว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในเหตุการณ์นั้นๆ และเพื่อเป็นการนำมาใช้ปรับปรุงคุณภาพระบบบริการสาธารณสุขให้ดียิ่งขึ้น สำหรับเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์นั้น ควรมีการดำเนินการเพื่อลดจำนวนครั้งของการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ รวมถึงการลดความผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

รูปแบบ (Framework) ของระบบการจ่ายเงินชดเชยที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้

-          การดำเนินการง่ายและรวดเร็ว (Simple & fast) จ่ายเงินชดเชยให้ผู้ได้รับความเสียหายโดยตรง

-          มีความเสมอภาค (Equity) การตัดสินควรมีความยุติธรรม (fair, accessible, available)

-          มีประสิทธิภาพ (Efficiency) มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการต่ำ (low management cost)

-          ประชาชนรู้สิทธิของตนเอง สามารถเข้าถึงบริการข้อมูลข่าวสารเพื่อการตัดสินใจได้ (Availability of information to make decision)

-          มีคุณภาพสูง (High quality) ลดจำนวนของ false positive & false negative

-          โปร่งใส ตรวจสอบได้ (accountability & transparency) ไม่มีการ corruption ในระบบ

-          ประชาชนมีความพึงพอใจ(satisfaction)

            เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับบริการในด้านการดูแลรักษาตามมาตรฐานอย่างดีที่สุด มีความปลอดภัย ป้องกันอันตราย ความเสียหายของชีวิตหรือทรัพย์สินที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันการฟ้องร้อง บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม จึงควรมีคุณธรรมและจริยธรรมสูงกว่าคนที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ควรมีความระมัดระวังในการดูแลรักษา มีการควบคุมการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

คำสำคัญ (Tags): #no fault patient compensation
หมายเลขบันทึก: 399794เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 11:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท