Healthy Public Policy & Health Impact Assessment


Healthy Public Policy & Health Impact Assessment

Healthy Public Policy & Health Impact Assessment

ได้ความรู้มากมายจากการเรียนวันนี้

จากสถิติปี 2525-2543 มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมีมากขึ้นทุกปี ตามลำดับดังนี้

  1. สารเคมีกำจัดวัชชพืช
  2. สารเคมีฆ่าแมลง
  3. สารเคมีป้องกันและกำจัดโรคพืช

การฉีดยาฆ่าแมลง ใน 100 %

  • ระเหยทิ้ง 10%
  • ปลิว 30%
  • พลาดพืชเป้าหมาย 15%
  • ไม่โดนแมลง 41%
  • โดนแมลงบางส่วน แต่ไม่ใช่จุดสำคัญ 13%
  • แค่ 1% โดนแมลงและทำให้แมลงตาย

การตกค้างและสะสมในห่วงโซ่อาหาร

  • สะสมได้ 80,000 ส่วน ในนกน้ำ
  • สะสมได้ 75,000 ส่วน ในปลาใหญ่หรือปลากินเนื้อ
  • สะสมได้ 500 ส่วน ในปลาเล็ก
  • สะสมตกค้างในแพลงตอน พืช และสัตว์ 265 ส่วน
  • ตกค้างในน้ำ 1 ส่วน

และอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อีกนานหลายปี เช่น ดีดีที อยู่ได้ 4-30 ปี

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปี 2542 พบว่าตัวอย่างของผัก ผลไม้ ที่พบสารเคมีจากปี 2537-2542 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

พบผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ มีสารเคมีตกค้าง เช่น สารกำจัดเชื้อรา สารเคมีเกษตร ปรอท และ salbutamol

การได้รับสารเคมีตกค้าง ทำให้ร่างกายมีความผิดปกติมากมาย ได้แก่ ระบบสืบพันธุ์ ระบบฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกัน ผิวหนังเป็นผื่นคัน ผิวหนังอักเสบ เป็นตะคริว ระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่ามัว ปวดศรีษะ มึนงง เหงื่ออกมากผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ ปอดผิดปกติ มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือดมะเร็งเต้านม ความผิดปกติแต่กำเนิก แท้ง และยังพบว่าทำให้ฮอร์โมนระบบประสาททำงานได้น้อยลง (acetyl cholinesterase)

ซึ่งบริษัทที่ขายสารเคมีเหล่านี้คือบริษัทยา

การทำการเกษตรที่ใช้สารเคมี เป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะในที่สุดก็จะมีผลกระทบต่อคน และสิ่งแวดล้อม

จึงควรแก้ปัญหาโดยการให้ความรู้ให้ทุกคนเห็นอันตรายจากการใช้สารเคมี รณรงค์ให้ทำการเกษตรแบบปลอดสารเคมี เพื่อลดสารเคมีตกค้าง และลดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในอนาคต และยังลดต้นทุนการผลิตจากค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการซื้อสารเคมีด้วย

เพื่อลด Suffering และ economic loss จาก unnecessary illness  จึงพยายามแก้ปัญหาโดย

  • Healthy public policy
  • National health act 2007
  • Health impact assessment

สาเหตุของปัญหาที่แท้จริงคือการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน (unsustainable development)

Public policy ที่สำคัญที่ผ่านมา ได้แก่

  • การรณรงค์การสวมหมวกนิรภัย (Helmet)
  • เมาไม่ขับ, การจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลา และไม่ขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
  • Health promotion
  • Health security act

หรือแม้แต่โครงการ 100 % condom use program ของ นพ.วิวัฒน์ โรจน์พิทยากร เพื่อลดปัญหาการติดเชื้อ HIV

Healthy environment การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อ ทางด้านกายภาพ เช่น การสร้างสวนสาธารณะ ถนน น้ำ การกำจัดขยะ ทางด้นสังคม วัฒนธรรม เช่น สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ

การพัฒนาทักษะของประชาชนและครอบครัว เช่น การสร้างศูนย์การเรียนรู้

การสร้างชุมชนเข้มแข็ง เช่น มูลนิธิฉือจี้ ของประเทศไต้หวัน

การปรับทิศทางการบริการสุขภาพ เช่น Health care reform เพื่อให้เกิด Health equity, universal access to people-centred care และ Healthy community

การเจ็บป่วยในชุมชน ส่วนใหญ่สามารถดูแลตนเองได้ (Self care) 75%  มี 25% ที่ต้องมารับบริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ และมีเพียง 2.5% ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

Primary care – ทำให้สุขภาพดีขึ้น (มีประสิทธิภาพดีขึ้น(improving effectiveness))

-          ทำให้สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้ (มีประสิทธิผลดีขึ้น(improving efficiency))

ควรเน้นให้มี Health promotion มากกว่า Disease control, มี Disease control มากกว่า primary care และมีการดูแลรักษาในโรงพยาบาลน้อยที่สุด

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550

  • มีคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช) นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
  • กรรมการมาจากการสรรหา จากตัวแทนจากทุกภาคส่วน
  • มีสำนักงานเลขาธิการ (สช)
  • ให้มีกลไกการจัดสมัชชาสุขภาพทุกระดับ
  • มติจากสมัชชาสุขภาพ เสนอเข้าสู่ คสช. สู่ ครม
  • มีกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จาก นโยบายสาธารณะ
  • มีกลไกการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ ปรับปรุงทุก  ปี
  • เพิ่มสิทธิและหน้าที่ของประชาชนด้านสุขภาพ ดังนี้
    • ข้อมูลสุขภาพเป็นความลับ
    • บุคลากรสุขภาพต้องแจ้งข้อมูลให้ทราบ
    • มีสิทธิปฏิเสธการรักษา
    • มีสิทธิปฏิเสธการไม่เข้าร่วมการทดลอง/วิจัย

พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550  เล่มที่ 124 ตอนที่ 16ก วันที่ 19 มีนาคม 2550 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 7 ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนำไปเปิดเผย ในประการที่น่าจะทำให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้ เว้นแต่การเปิดเผยนั้น เป็นไปตามความประสงค์ของบุคคลนั้น โดยตรง หรือมีกฏหมายเฉพาะบัญญัติ ให้ต้องเปิดเผย แต่ม่ว่าในกรณีใดๆ ผู้ใดจะอาศัยอำนาจหรือ สิทธิตามกฏหมายว่าด้วย ข้อมูลข่าวสาร ของราชการหรือกฏหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้

มาตรา 8 ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุขต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบอย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจ ในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณ๊ที่ผู้รับบริการปฏิเสธไม่รับบริการใด จะให้บริการนั้นมิได้

                ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุที่ผู้รับบริการปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรืออันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณี ที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

                ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

  1. ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตราย ถึงชีวิตและมีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
  2. ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจแจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฏหมายแพ่งและพานิชย์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของผู้รับบริการ แล้วแต่กรณีรับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้

มาตรา 9 ในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า และต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดำเนินการได้ ความยินยอมดังกล่าวผู้รับบริการจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้

มาตรา 10 เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผยข้อมูลนั้น และวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและจัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว

                การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่ง ต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ

มาตรา 11 บุคคลหรือคณะบุคคล มีสิทธิร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ

                บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนหรือของชุมชนและแสดงความเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว

มาตรา 12 บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

                การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฏกระทรวง

                เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผอดทั้งปวง

หมวด 6 บทกำหนดโทษ

มาตรา 59 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 7 หรือมาตรา 9 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                ความผิดตามมาตรานี้เป็นความผิดอันยอมความได้

Health impact assessment of public policy (ประเด็นในการทำ HIA)

  • สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร (Agriculture)
  • นิคมอุตสาหกรรม (Industrial estate development)
  • Urban development
  • Wet land
  • การสร้างเขื่อน (Dam construction)
  • Etc.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550

มาตรา 67 (วรรคสอง) “การดำเนินโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียก่อน

รวมทั้งได้ให้องการอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์การเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติหรือด้านสุขภาพ ให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว”

รวมถึง พรบ. สุขภาพแห่งชาติ 2550 สิทธิด้านสุขภาพและผลกระทบต่อสุขภาพ มาตรา 10 และ มาตรา 11

แนวคิดการประเมินผลกระทบ

  1. เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  2. ใช้วิธีการและเครื่องมือหลายชนิดรวมกัน
  3. เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งให้ได้ข้อเสนอแนะที่นำไปสู่การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
  4. สร้างกระบวนการเรียนรู้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้เห็นถึงความสำคัญ และตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพ เพื่อนำไปสู่การสร้างเสริม และคุ้มครองสุขภาพของประชาชน

ทำไมต้องทำ HIA

  1. ความเสื่อมโทรมทางสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบต่อสุขภาพ
  2. ผลกระทบต่อสุขภาพมนุษย์จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยสาธารณะ/ภาครัฐอย่างทันท่วงที
  3. การป้องกันมีประสิทธิผลดีกว่าการรักษา
  4. ผลลัพธ์ทั้งทางสิ่งแวดล้อม สังคม และสุขภาพ
  5. วิธีการ HIA สามารถผนวกรวมไว้กับ EIA
  6. การรวมประเด็นทางสุขภาพเข้าไว้ในการที่จะเสริมความแม่นยำ และความชอบธรรมของการต่างๆ ในภายหลัง

 

ผลกระทบจากข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐ และการเข้าถึงยา (Impact of Thai-US FTA and Access to Medicines โดย รศ.ดร.จิราภรณ์ ลิ้มปานานนนท์ และคณะ (2551)

Request จากประเทศสหรัฐอเมริกา

  • Single request
    • 2, 5, 10 ปี (Delay IP registration)
    • 2, 5 ปี (linkage IP & drug registration)
    • 5, 10 ปี (data exclusivity)
    • Two requests
    • All requests (worst case)
      • ทำให้ค่าใช้จ่ายในการซื้อยาเพิ่มขึ้น
      • ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของอุตสาหกรรมในประเทศลดลง

มีการประท้วงจากผู้ป่วย HIV+ เพื่อต่อต้านการตกลงเขตการค้าเสรีที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อเดือนมกราคม 2005 เพราะจะทำให้ยารักษา HIV มีราคาแพงขึ้น

ขั้นตอนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ

  1. การกลั่นกรอง
  2. กำหนดขอบเขต
  3. การวิเคราะห์ผลกระทบ
  4. การให้ข้อเสนอแนะทางเลือก
  5. การติดตามควบคุม

การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

เป็นกระบวนการตัดสินคุณค่าของนโยบายหรือโครงการ โดยพิจารณาที่ผลกระทบนั้นที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพใช้วิธีการ กระบวนการและเครื่องมือหลายชนิดร่วมกัน

ลักษณะพิเศษของ HIA

  • มุ่งหาผลกระทบเชิงซ้อนต่อทั้งสถานะสุขภาพและปัจจัยของสุขภาพ
  • ใช้ข้อมูลหลายแหล่ง
  • ฟังทุกฝ่าย
  • เวลาจำกัด ทรัพยากรจำกัด
  • ควรมีผลต่อการตัดสินใจ

จากรายงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2548 ทิศทางการสร้างสุขภาพจากผลการประชุมที่เมืองออตตาว่า (2529) มีดังนี้

  1. มีนโยบายสาธารณะที่สนใจสุขภาพ (สุขภาวะ สมดุล) 
  2. สร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ที่เอื้อหนุน เกื้อกูล ต่อสุขภาวะ  มีทางเลือกให้ประชาชน
  3. พัฒนาทักษะประชาชนและครอบครัว
  4. สร้างชุมชนเข้มแข็ง
  5. ปรับทิศทางการลงทุนด้านสุขภาพ ให้มาเน้น บริการปฐมภูมิ ส่งเสริม ป้องกัน

วัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำทิศทางการพัฒนาสุขภาพเชิงระบบ (Ottawa)

    • นโยบายสาธารณเพื่อสุขภาพ
    • การปรับเปลี่ยนทิศทางบริการสุขภาพ
    • พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550
    • การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ

 

คำสำคัญ (Tags): #hia
หมายเลขบันทึก: 399782เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 เมษายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท