e-commerce


E-Business VS E-Commerce

คนส่วนใหญ่มักคิดและเข้าใจว่า E-Businessและ E-Commerce เป็นสิ่งเดียวกันซึ่งไม่ถูกต้อง ทีเดียวนัก E-Business เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ ซึ่งผู้บริหารต้องจับตามองแลัให้ความสนใจ เพราะE-Business เป็นกระบวนการดำเนินการทางธุรกิจผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งรวมระบบการจัดการต่างๆ เช่น กระบวนการผลิต การตลาด การจัดจำหน่ายและยังรวมถึงการบริหารงานด้วย ดังนั้น E-Business จึงเป็นมากกว่าการซื้อขายบนเครือข่ายแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงกระบวนการต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจที่เคยเป็นมาในอดีต ในขณะที่ E-Commerce เป็นกระบวนการการทำธุรกรรมผ่านเครือข่าย เช่น การซื้อขาย การแลกเปลี่ยนข้อมูล การถ่ายโอนเงิน ดังนั้นE-Commerce จึงนับว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ E-Business เท่านั้น

โครงสร้างของ EB และ EC

คนส่วนใหญ่มักคิดเพียงแค่การมีเวบไซท์ก็เป็นการทำ E-Commerce หรือ E-Business แล้วแต่ตามความต้องการที่แท้จริงแล้วทั้ง EB และ EC มีรูปแบบโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่านี้มาก เช่น ต้องมีส่วนของไคลเอนต์ทั้งส่วนที่เป็นอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ต มีส่วนของระบบบริการที่มีระบบความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ มีระบบเซิร์ฟเวิร์ที่มีโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการการทำธุรกิจผ่านเครือข่าย หรือหากจะสรุปได้ว่าทั้งส่วนของ E-Business และ E-Commerce นั้นจำเป็นต้องมีโครงสร้างพืนฐานที่ประกอบด้วยส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย บริการและ บุคลากรในการดำเนินการต่างๆ ทั้งในส่วนหน้าและส่วนหลังสำนักงาน

การมีเพียงแค่เวบไซท์ในการประกอบธุรกิจผ่านเครือข่ายนั้นไม่เพียงพอ หาเปรียบไปแล้วก็คงเป็นเพียงแค่สื่อโฆษณาในการประกอบการเท่านั้น การที่จะดำเนินการจำเป็นต้องมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดีระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูง มีระบบรักษาความปลอดภัย ตลอดจนมีแผนการในการปริหารและจัดการให้สามารถดำเนินธุรกิจได้โดยไม่ติดขัด แต่อย่างไรก็ตามการปรับระบบให้เข้าสู่ธุรกิจแบบ E-Business นั้นมีบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ประกอบการเกี่ยวกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ชั้นนำที่คอยให้คำแนะนำและบริการในการดำเนินการหลายแห่ง อาทิเช่น ไอบีเอ็ม ฮิตาชิ เป็นต้น

การปรับรูปแบบจากการประกอบธุรกิจในระบบทั่วไป เป็นการประกอบธุรกิจผ่านเครือข่ายนั้นมักค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบทีละขั้นตอน เช่น เริ่มต้นจากการค่อยๆ ปรับเปลี่ยนระบบ จากของเดิมโดยเริ่มจากระบบการประชาสัมพันธ์ และซื้อขายให้ดำเนินการผ่านเว็บในลำดับแรก และอาจเตรียมพร้อมหรือปรับระบบที่ใช้อยู่ในสำนักงาน ให้เป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ขนานกันไป และทำการรวมระบบออนไลน์ เข้ากับส่วนหลังสำนักงานเมื่อมีความพร้อมซึ่งจะมีเรื่องของระบบฐานข้อมูลการชำระเงิน กระบวนการจัดการระบบคงคลังมาเกี่ยวข้อง และในส่วนสุดท้ายเป็นการรวมส่วนที่เหลือขององค์กร เข้ากับระบบของหุ้นส่วนและบริษัทคู่ค้าด้วย

ธุรกิจคนกลาง

การที่คนจำนวนมากกล่าวไว้ว่าการค้าผ่านเครือข่ายนั้น ทำให้ผู้ผลิตสามารถติดต่อกับผู้บริโภคได้โดยตรง และส่วนของระบบคนกลางนั้นจะหายไป ประเด็นที่กล่าวมานั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะในปัจจุบันธุรกิจในระบบเครือข่าย ยังเป็นลักษณะของคนกลางอยู่ในการจัดหาสินค้า และบริการมานำเสนอผ่านเครือข่าย ซึ่งทำให้คนกลางยังคงเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากระบบการค้านี้อยู่

เหตุผลที่ผู้ผลิตไม่สามรถทำการค้าหรือธุรกรรมกับผู้บริโภคได้โดยตรงนั้นมีอยู่หลายประการ เช่น ศักยภาพหรือมีกำลังไม่เพียงพอในการดำเนินการ และที่สำคัญคือปริมาณข้อมูลที่อยู่ในเครือข่ายมีเป็นจำนวนมากและกระจายกันอยู่จึงไม่สะดวกสำหรับผู้บริโภค จึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนกลางทำหน้าที่ในการนำข้อมูลต่างๆ มาจัดกลุ่มรวมกันให้มีความสามารถเพียงพอในการบริการโดยรูปแบบของระบบคนกลางนั้นมีทั้งรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ และรูปแบบธุรกิจกับผู้บริโภค

อนาคตของธุรกิจบนเครือข่าย

แนวโน้มและอนาคตของการทำธุรกิจผ่านเครือข่าย ได้มีการพยากรณ์กันอย่างแพร่หลาย และสิ่งหนึ่งที่เป็นที่เชื่อมั่นได้ว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน คือ รูปแบบการดำเนินธุรกิจจะเปลี่ยนไปทั้งรูปแบบของร้านค้า บทบาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย เช่น ผู้ซื้อจะไม่เป็นเพียงแค่ผู้บริโภคตามรูปแบบที่กำหนดโดยผู้ผลิตอีกต่อไป ผู้บริโภคสามารถกำหนด หรือเลือกคุณสมบัติและราคาสินค้าทีต้องการในเว็บของผู้ผลิตหรือคนกลางได้ ทำให้ผู้บริโภคสามารถกำหนดหรือเลือกคุณสมบัติ และราคาสินค้าทีต้องการในเว็บของผู้ผลิตหรือคนกลางได้ ทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนบทบาทจาก passive customer กลายเป็น product taker หรือ price taker แทน ซึ่งในส่วนนี้ได้มีผู้ประกอบการบางรายได้ดำเนินการแล้วและจะเป็นที่ใช้กันอย่างแพร่อลายในอนาคตอันใกล้ และรูปแบบของธุรกิจส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการค้าปลีกที่มีราคาต่อหน่วยไม่สูงมากนัก แต่มีปริมาณการซื้อขายที่สูง สำหรับการประอบธุรกิจผ่านเครือข่ายของประเทศไทยยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังมุ่งประเด็นไปที่การบริการการซื้อขายสินค้า และบริการผ่านเว็บเท่านั้น แต่มั่นใจได้ว่าในอนาคตอันใกล้นี้การแข่งขันจากการทำธรุกิจผ่านเครือข่ายจากทั่วโลก และกลไกการตลาดจะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการทำธุรกิจผ่านเครือข่ายกันมากยิ่งขึ้น

สรุป

E-Commerce คืออะไร

    E-Commerce มีชื่อที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์” โดยความหมายของคำว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ให้คำนิยามไว้เป็นจำนวนมาก แต่ไม่มีคำจำกัดความใดที่ใช้เป็นคำอธิบายไว้อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีดังนี้

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การดำเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, 2542)”

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การผลิต การกระจาย การตลาด การขาย หรือการขนส่งผลิตภัณฑ์และบริการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์” (WTO, 1998)

“พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ธุรกรรมทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ทั้งในระดับองค์กรและส่วนบุคคล บนพื้นฐานของ การประมวลและการส่งข้อมูลดิจิทัลที่มีทั้งข้อความ เสียง และภาพ” (OECD, 1997)

จากความหมายของ e-business กับ e-commerce จะเห็นได้ว่าสองคำนี้มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แต่อันที่จริงแล้วมีความหมายต่างกัน
โดย e-business สรุปความหมายได้ว่าคือการทำกิจกรรมทุกๆอย่าง ทุกขั้นตอนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่า แต่ e-commerce จะเน้นที่การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนตเท่านั้น 
จึงสรุปได้ว่า e-commerce เป็นส่วนหนึ่งของ e-business

ประเภทของ E-Commerce   

ผู้ประกอบการ กับ ผู้บริโภค (Business to Consumer - B2C)
คือการค้าระหว่างผู้ค้าโดยตรงถึงลูกค้าซึ่งก็คือผู้บริโภค เช่น การขายหนังสือ ขายวีดีโอ ขายซีดีเพลงเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ผู้ประกอบการ (Business to Business – B2B) คือการค้าระหว่างผู้ค้ากับลูกค้าเช่นกัน แต่ในที่นี้ลูกค้าจะเป็นในรูปแบบของผู้ประกอบการ ในที่นี้จะครอบคลุมถึงเรื่อง การขายส่ง การทำการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบห่วงโซ่การผลิต (Supply Chain Management) เป็นต้น ซึ่งจะมีความซับซ้อนในระดับต่างๆกันไป

ผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค (Consumer to Consumer - C2C) คือการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

ผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ (Business to Government – B2G)
คือการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement ในประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว รัฐบาลจะทำการซื้อ/จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่นการประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ www.mahadthai.com

ภาครัฐ กับ ประชาชน (Government to Consumer -G2C)
ในที่นี้คงไม่ใช่วัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่จะเป็นเรื่องการบริการของภาครัฐผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยเองก็มีให้บริการแล้วหลายหน่วยงาน เช่นการคำนวณและเสียภาษีผ่านอินเทอร์เน็ต, การให้บริการข้อมูลประชาชนผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นต้น เช่นข้อมูลการติดต่อการทำทะเบียนต่างๆของกระทรวงมหาดไทย ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบว่าต้องใช้หลักฐานอะไรบ้างในการทำเรื่องนั้นๆ และสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มบางอย่างจากบน

หมายเลขบันทึก: 399562เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 19:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท