กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 11)


ทำนายปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบ

 

 

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 11)

วิธีวิทยาการวิจัย

วิธีวิทยาการวิจัย เป็นการวิเคราะห์และจัดระบบหลักการและกระบวนการในการแสวงหาความรู้และความจริงเกี่ยวกับการวิจัย(ราชบัณฑิตสถาน 2548:64) ระบบของการวิจัยประกอบด้วยกระบวนทัศน์ของการวิจัย  ระเบียบวิธีของการวิจัย กระบวนการ วิจัยและวิธีการวิจัย 

 

1.ความหมาย (พรศักดิ์6-7)

คำว่า ‘วิธีวิทยาการวิจัย’ หมายถึง การศีกษาวิเคราะห์กระบวนการที่นักวิจัยนำมาใช้ในการบรรยาย อธิบายและทำนายปรากฏการณ์อย่างเป็นระบบตามหลักการทางศาสตร์ ตลอดจนการใช้เทคนิคมาตรฐานที่สามารถตรวจสอบความถูกต้องและความเชื่อถือได้(พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว 2545:6-7)

ตัวอย่างเช่น การวิเคราะห์เกี่ยวกับกระบวนทัศน์ของการวิจัยเชิงปฏิฐาน ของการวิจัยเชิงปรากฏการณ์หรือของการวิจัยเชิงสังคมวิพากษ์   ระเบียบวิธีของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ของการวิจัยทางมนุษยศาสตร์หรือการวัยทางสังคมศาสตร์ กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ  การวิจัยเชิงคุณภาพหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ และวิธีการวิจัยเชิงทดลองเชิงความสัมพันธ์และเชิงสำรวจ รวมถึงเทคนิควิธีการทางการสุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือ การนิยามแนวคิด การทดสอบสมมุติฐาน การวิเคราะห์ทางสถิติเป็นต้น 

 

2.จุดมุ่งหมาย

การศึกษาวิธีวิทยาการวิจัยมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ ระเบียบวิธี กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการของการวิจัยเพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ในการออกแบบการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับถูกต้อง

ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพยายามทำความเข้าใจว่ากระบวนทัศน์ ระเบียบวิธี กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการของการวิจัยแบบใดที่เหมาะสมกับปัญหาการวิจัยของวิทยาการแต่ละสาขา  หรือปัญหาการวิจัยของวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งต้องใช้กระบวนทัศน์ ระเบียบวิธี กระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการของการวิจัยแบบใดจึงจะเหมาะสมมากที่สุด   

หมายเลขบันทึก: 399537เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 18:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท