กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 10)


Define the Problem

 

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 10)

   

6.4 ขั้นทดสอบสมมุติฐาน( Analyze  Data) การตรวจสอบสมมุติฐานด้วยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตข้อมูลและสร้างข้อสรุป

6.5 ขั้นสรุปผล(Develop the Conclusion)  นำข้อสรุปที่นำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ทั่วไปในเรื่องนั้นกรณีอื่น

 

 

7.ลักษณะของการวิจัยตามวิธีวิทยาศาสตร์         

ลักษณะของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีลักษณะดังนี้

7.1 การวิจัยต้องกระทำอย่างระมัดระวังและรอบคอบ(Accurate)  การสรุปและการอธิบายทางวิจัยต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการสรุปหรืออธิบายอย่างรวบรัดหรือขยายความเกินความจริง

7.2 การวิจัยต้องมีความกระชับชัดเจนและเที่ยงตรงแน่นอน(Precise) การวัดทางการวิจัยต้องมีค่าเป็นเชิงปริมาณเพื่อให้สามารถสรุปผลได้อย่างแน่นอนเที่ยงตรงเป็นปรนัยมากที่สุด ไม่คลุมเครือ

7.3 การวิจัยต้องกระทำอย่างมีระบบ(Systematic) การวิจัยต้องตรวจสอบความเป็นเหตุเป็นผลได้ทุกขั้นตอนและกระบวนการ

7.4 การวิจัยต้องมีการบันทึกข้อมูล(Recorded) การวิจัยต้องมีการบันทึกข้อมูลและสามารถตรวจสอบได้ภายหลัง

7.5 การวิจัยต้องเป็นวัตถุวิสัย(Objective) การวิจัยต้องปราศจากความเชื่อ ค่านิยม อคติ ยอมรับผลอย่างตรงไปตรงมา ไม่หวังให้เกิดผลตามความ คิดบุคคล

7.6 การวิจัยต้องกระทำโดยผู้ที่ได้รับการฝึกฝน(Trained observer)  การวิจัยต้องกระทำโดยผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ทางระเบียบวิธีและความชำนาญในเนื้อหาสาระของสาขาวิชา

7.7 การวิจัยต้องกระทำตามเงื่อนไขที่ได้รับการควบคุม(Made Under Controlled Condition) การวิจัยต้องควบคุมปัจจัยละตัวแปรเพื่อให้การสรุปเกดความน่าเชื่อถือ ไม่คลาดเคลื่อนไปจากสภาพจริง

 

8.การศึกษาวิทยาศาสตร์สังคมตามแนววิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (วัชรา122)

การศึกษาวิทยาศาสตร์สังคมโดยใช้วิธีวิทยาศาสตร์ต้องให้มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

8.1 วิธีวิทยาศาสตร์สังคมต้องเป็นวัตถุวิสัย การศึกษาปรากฏการณ์สังคมต้องไม่ยึดถืออคติลำเอียงและมีใจกว้างยอมรับความจริง ไม่นำความรู้สึกส่วนตัวมาเกี่ยวข้อง อันจะทำให้ผลการศึกษาคลาดเคลื่อนหรือผิดพลาดไป

8.2 วิธีวิทยาศาสตร์สังคมต้องยึดหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด การศึกษาปรากฏการณ์สังคมต้องยึดหลักจริยธรรมในการแสวงหาความรู้ คือซื่อสัตย์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ผลอย่างซื่อตรง

8.3  การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ต้องพิจารณาคำตอบเชิงซ้อน การศึกษาปรากฏการณ์สังคมมีความสลับซับซ้อน ผู้ศึกษาต้องยอมรับความจริง มีวิสัยทัศน์กว้างไกลและยอมรับข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ รวมถึงขจัดอคติส่วนตัวออกไป ต้องควบคุมปัจจัยต่างๆอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่เที่ยงตรงชัดเจน

8.4  การศึกษาสังคมโดยวิธีวิทยาศาสตร์ต้องใช้ทฤษฎี ทฤษฎีเป็นสิ่งที่จำเป็นในการศึกษาสังคมศาสตร์ การศึกษาปรากฏการณ์สังคมต้องใช้ทฤษฎีในการแสวงหาความรู้ให้เป็นระบบและมีเป้าหมาย และในการวิจัยต้องนำข้อเท็จจริงมาตีความให้เห็นชัดเจนและนำไปสู่การสร้างทฤษฎีใหม่ 

8.5 วิธีวิทยาศาสตร์สังคมต้องใช้การศึกษาเชิงประจักษ์  การศึกษาปรากฏการณ์สังคมต้องพัฒนาวิธีวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลและผลของการศึกษาที่สามารถพิสูจน์ตรวจสอบได้ โดยการทำซ้ำและตรวจสอบกับปรากฏการณ์จริงที่เกิดขึ้นในสังคม 

 

9.ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม (แผนภาพวัชรา122)

           วิทยาศาสตร์สังคมได้นำระเบียบวิธีวิจัยของวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระของวิทยาศาสตร์สังคม โดยขั้นตอนการวิจัย 7 ขั้นตอนดังนี้ 

9.1 การกำหนดปัญหา (Define the Problem) การกำหนดปัญหาเป็นการเลือกปัญหาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมมนุษย์ในสังคม ต้องอธิบายปัญหาในลักษณะที่วัดได้และตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรม

9.2 การทบทวนเอกสาร (Review the Literature) การทบทวนเอกสารช่วยมองเห็นแนวทางในการศึกษาวิจัย ซึ่งจะเป็นแนวทางในหารศึกษาเรื่องนั้นให้เกิดความรอบคอบรัดกุมและช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการศึกษาเรื่องดังกล่าวนั้น

9.3 การตั้งสมมุติฐาน (Formulate the Hypothesis) การตั้งสมมุติฐานเป็นการเสนอคำตอบของปัญหาในเชิงทฤษฎีเพื่อนำไปพิสูจน์ตรวจสอบด้วยข้อมูล 

9.4  การออกแบบการวิจัย(Choose a Research Design) การออกแบบการวิจัยเป็นการวางแผนการตรวจสอบสมมุติฐานการวิจัยนั้น  ปัญหาการวิจัยเดียวกัน ผู้ศึกษาสามารถออกแบบเพื่อตรวจสอบสมมุติฐานได้หลายวิธีแตกต่างกันไป อาจใช้การสำรวจ การทดลองหรือการสังเกตอย่างมีส่วนรวม

9.5 การรวบรวมข้อมูล(Collect Data) การเก็บข้อมูลมีหลายวิธี ผู้ศึกษาต้องเลือกวิธีการที่จะทำเกิดความเชื่อมั่นได้มากที่สุดและเที่ยงตรงกับสภาพจริงมากที่สุด  อาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การสอบถาม การวบรวมเอกสาร

9.6 การวิเคราะห์ข้อมูล(Analyze the Data) การวิเคราะห์เป็นตีความข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงของสิ่งทีศึกษานั้นและพรรณนาหรือสรุปให้ได้คำตอบของปัญหาที่วิจัย 

9.7 การสรุปผลการวิจัย(Develop the Conclusion) การสรุปผลเป็นตรวจสอบสมมุติฐานด้วยผลการสังเกตการณ์เพื่อหาผลสรุปที่นำไปใช้อธิบายปรากฏการณ์ทั่วไปในเรื่องนั้นในกรณีอื่นต่อไป

          ปรัชญาวิทยาศาสตร์เป็นแนวคิดเกี่ยวกับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้ของนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาและทำความเข้าใจในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ  นักวิทยาศาสตร์มีความเชื่อเกี่ยวกับความรู้เชิงประจักษ์นิยม และพัฒนาวิธีวิทยาศาสตร์ขึ้นมาใช้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์สังคมได้นำแนวคิดนั้นมาใช้ศึกาปรากฏการณ์ทางมนุษย์และสังคมด้วย

หมายเลขบันทึก: 399498เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 17:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท