กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 6)


ปรัชญาวิทยาศาสตร์

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 6)

ปรัชญาวิทยาศาสตร์       

 นักปรัชญาธรรมชาติมีแนวคิดเกี่ยวกับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้ที่แตกต่างไปจากแนวคิดของนักปรัชญาเมธีที่มีอยู่เดิม แนวคิดใหม่นี้ เรียกว่า วิธีวิทยาศาสตร์(Scientific approach) 

 

1.ความหมาย

          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 กล่าวว่า วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ หมายถึง  ความรู้ที่ได้จากการสังเกตและค้นคว้าจากประจักษ์ธรรมชาติแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบและเป็นวิชาที่ค้นคว้าได้หลักฐานและเหตุผล

          วิทยาศาสตร์ธรรมชาติจึงเป็นองค์ความรู้ที่ได้มาด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ ได้แก่การสังเกตอย่างมระบบและยึดหลักของเหตุผล มีการค้นคว้าในเชิงประจักษ์ พิสูจน์และตรวจสอบได้ชัดเจน

 

2. กระบวนทัศน์ของวิธีวิทยาศาสตร์

         แนวคิดเกี่ยวกับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้ของวิทยาศาสตร์มี  6 ประเด็น ประกอบด้วย (ชาย)

2.1  สมมุติคติด้านภววิทยา  วิทยาศาสตร์เชื่อว่า ความรู้เป็นวัตถุวิสัย(Objectivity)ที่ทุกคนเห็นประจักษ์ได้โดยไม่สงสัย นักปรัชญาต้องมีการสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้แน่ใจในสิ่งที่สังเกตนั้น

2.2 สมมุติคติด้านญานวิทยา วิทยาศาสตร์เชื่อว่า ความรู้เป็นวัตถุวิสัยที่อิสระจากผู้วิจัย  เป็นความรู้ที่เป็นจริงด้วยตัวเอง มิใช่เกิดจากผู้วิจัย  ความรู้จากการวิจัยจึงถูกนำไปใช้โดยไม่ตะขิตตะขวงใจ 

2.3 สมมุติคติด้านคุณค่า  วิทยาศาสตร์เชื่อว่า  การวิจัยต้องเป็นอิสระจากคุณค่า  ความรู้จากการวิจัยสามารถเบี่ยงเบนได้ถ้านักวิจัยนำเอาคุณค่ามาเกี่ยวข้อง

2.4 สมมุติคติด้านวาทวิทยา  วิทยาศาสตร์เชื่อว่า การวิจัยต้องใช้ถ้อยคำภาษาที่เป็นทางการ เป็นอิสระจากภาษาและการอธิบาย

2.5 สมมุติคติด้านวิธีการ  วิทยาศาสตร์เชื่อว่า การวิจัยต้องมีระเบียบวิธีที่เป็นระบบเป็นขั้นเป็นตอน ผลจึงออกมาถูกต้องแม่นยำ

หมายเลขบันทึก: 399488เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท