กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 5)


นักปรัชญาเมธีมาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้มาอย่างไม่ขาดสาย

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 5)

        การวิจัยได้พัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง  นักปรัชญาเมธีมาเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้มาอย่างไม่ขาดสาย ในแต่ละยุคสมัยมีแนวคิดต่างแนวเกิดขึ้น ทั้งแบบที่เป็นการพัฒนาแนวคิดเดิมให้สมบูรณ์มากขึ้น และแบบที่เสนอแนวคิดใหม่ที่ต่างไปจากเดิม

 

พัฒนาการของแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ (วัชรา83)

 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติกำหนดเป็นศาสตร์สาขาใหม่แยกออกมาจากวิชาปรัชญาในยุคที่ศิลปวิทยาการเฟื่องฟู ก่อนหน้านั้นนักวิทยาศาสตร์ถูกเรียกว่า นักปรัชญาธรรมชาติ(Natural philosopher) ยังไม่มีการจัดกลุ่มความรู้วิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบดังเช่นในปัจจุบัน

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่เกิดขึ้นเมื่อนิโคลัส โคเปอร์นิคัส(Nicholaus Copernicus, 1473-1543 A.D.) นักวิทยาศาสตร์ชาวโปแลนด์ได้เสนอทฤษฎีความรู้ทางดาราศาสตร์ขึ้นในหนังสือชื่อ การปฏิวัติทฤษฎีฟากฟ้า(Concerning the Revolution of Celestial Spheres)ซึ่งขัดแย้งกับความคิดและความเชื่อทางศาสนาของสังคมในยุโรปขณะนั้นอย่างมาก และนี่เองเป็นจุดเริ่มแรกให้เกิดการแยกวิทยาศาสตร์ออกจากความเชื่อทางศาสนาได้ 

กาลิเลโอ กาลิเลอิ(Galilao Galilei, 1564-1642 A.D.)ได้ประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์ขึ้นศึกษาดวงจันทร์ ดวงดาวและทางโคจรของดวงดาวในระบบสุริยะจักรวาล

ฟรานซิส เบคอน(Francis Bacon, 1561-1626 A.D.) ได้เสนอแนวคิดในการศึกษาวิทยาศาสตร์ด้วยแนวคิดประสบการณ์นิยมและเขียนหนังสือแสดงจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ในหนังสือชื่อ ทวีปแอตแลนติสใหม่(New Atlantis)   

ใน 50 ปีต่อมา โจแฮนเนส เคปเลอร์(Johannes Kepler) ใช้เวลาหกปีศึกษาการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์

ในศตวรรษที่ 16 เซอร์ ไอแชค นิวตัน(Sir Issac Newton) ได้เขียนหนังสือชื่อ Principia อธิบายกฎแห่งแรงโน้มถ่วงของโลก

ในศตวรรษที่18 คาร์โรลัส ลินเนียส(Carolus Linnaeus) ชาวสวีเดนได้ศึกษาและจำแนกประเภทของพืชและสัตว์อย่างเป็นระบบ

ในศตวรรษที่18 นี้เองวิทยาศาสตร์ธรรมชาติได้แยกตัวเองออกมาจากวิชาปรัชญาอย่างสมบูรณ์ เรียกกลุ่มความรู้ของตนว่า วิทยาศาสตร์(Sciences) และเรียกตัวเองว่า นักวิทยาศาสตร์(Scientist)

พัฒนาการของแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ได้ก่อตัวและพัฒนาแยกออกมาจากวิชาปรัชญาและศาสนาจนเป็นวิทยาการสาขาใหม่ขึ้นโดยเฉพาะ

หมายเลขบันทึก: 399487เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท