กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 4)


The Phenomenological Paradigm

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 4)

 

                  นักวิจัยกลุ่มสังคมศาสตร์เชิงตีความ ได้เสนอแนวคิดของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคมขึ้นมาใหม่ในชื่อต่างหลายชื่อ แต่ละชื่อก็มีลักษณะที่มุ่งเน้นแตกต่างกัน เช่นการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา(The Phenomenological Paradigm) ที่เน้นกระบวนการวิจัยที่จะทำให้สามารถเข้าถึงปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างลึกซึ้ง การวิจัยเชิงธรรมชาติวิสัย(The Naturalistic Paradigm) เน้นกระบวนการวิจัยตามสภาพที่เป็นธรรมชาติ ไม่รบกวนสิ่งที่ศึกษา หรือการวิจัยเชิงตีความ(The Interpretative Paradigm)เน้นที่กระบวนการในการตีความและให้ความหมายแก่ปรากฏการณ์ที่ศึกษา แต่พื้นฐานความคิดร่วมของการวิจัยกลุ่มนี้คือ วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเรียกให้แตกต่างกับการวิจัยแบบแรกที่เรียกว่า การวิจัยเชิงปริมาณ

นักวิจัยคนสำคัญๆในกลุ่มนี้ได้แก่ เอดมันด์ เฮสล์(Edmund Hessrl) เป็นบุคคลที่ริเริ่มบุกเบิกการวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยา ฮฮอร์เบร์ต สเปนเซอร์(Herbert Spence 1820-1903) ได้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษาสังคมในลักษณะของสิ่งมีชีวิตอีมิล ดัคไฮม์ (Emile Durkheim 1858-1917)ได้ศึกษาสังคมภายใต้ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่

ในศตวรรษที่20 ช่วงปี 1960-1970 นักวิจัยกลุ่มสังคมศาสตร์เชิงวิพากษ์(Critical Social Sciences) ได้เกิดความคิดต่อต้านความคิดการวิจัยทางสังคมศาสตร์สองกระแสแรก  นักวิจัยกลุ่มนี้มีความเห็นว่า วิธีการวิจัยเชิงปริมาณไม่สามารถเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของสิ่งที่ศึกษาได้ อีกทั้งละเลยความสำคัญของบุคคลซึ่งเป็น ปัจเจกบุคคลทั้งในด้านความรู้สึกและความนึกคิด ไม่สนใจบริบททางสังคมในเชิงพลวัตร ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพมีแนวทางที่เป็นอัตวิสัย ขาดความชัดเจน ประเด็นที่วิจัยเล็กเกินไป มองบริบทระยะสั้น  และประเด็นสำคัญวิธีการวิจัยทั้งสองวิธีเป็นการวิจัยเพื่อรู้ธรรมชาติและมนุษย์มากกว่าที่จะปฏิรูปรังสรรค์และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางที่ดีขึ้นในสังคม นักวิจัยกลุ่มสังคมเชิงวิพากษ์เชื่อว่า การวิจัยควรเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าเชิงปฏิรูปที่มุ่งให้เห็นโครงสร้างที่แท้จริงของปัญหาเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปหรือการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น โดยใช้ทั้งวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีคุณภาพร่วมกันและเน้นการวิจัยให้มีส่วนร่วมคิดร่วมทำและการวิพากษ์วิธี(Dialectic Technique)

นักวิจัยคนสำคัญๆในกลุ่มนี้ได้แก่ กลุ่มฟรังเฟิร์ต(Frankfurt School) ในประเทศเยอรมันโดยมี เจอร์เกน เฮเบอร์เมส(Jurgen Habermas1960s-1970s) เป็นบุคคลที่ริเริ่มบุกเบิกการวิจัยแบบสังคมศาสตร์เชิงวิพากษ์ เคริต์เลวิน(Kurt Lewin 1940s-1980s) เป็นผู้นำการวิจัยแบบวิพากษ์ไปใช้แก้ปัญหาในชุมชนแออัด

คำสำคัญ (Tags): #critical social sciences
หมายเลขบันทึก: 399486เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท