กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 3)


ยุคปรัชญาสังคมศาสตร์

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 3)

ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 19 แนวความคิดทางวิทยาศาสตร์ได้วางรากฐานลงอย่างมั่นคง เมื่อชาร์ล ดาร์วิน(Charles Darwin 1809-1882 A.D.) เป็นผู้เสนอวิธีหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ขึ้นในแบบปัจจุบันนี้ขึ้น

 

3.ยุคปรัชญาสังคมศาสตร์ 

สังคมศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวสภาพความเป็นอยู่และพฤติกรรมของมนุษย์   การวิจัยทางสังคมศาสตร์เริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 19 จากแนวคิดของออกัสตุส ดองเต้ (Auguste Comte) และ จอห์น สจวต มิลล์(John Stuart Mil)l ที่เชื่อว่า สังคมศาสตร์สามารถศึกษาได้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นการวางฐานของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ด้วยวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

ออกัสตุส ดองเต้(1798-1857) เป็นบุคคลแรกที่เสนอความคิดว่า ปรากฏการณ์ทางสังคมสามารถศึกษาได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการเสนอคำว่า  สังคมปฏิฐาน(Positivism)ขึ้น เพื่อให้หมายถึงการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์

จอห์น สจวต มิลล์(1806-1873) เชื่อว่า การแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สังคมมีเป้าหมายเพื่อได้ความรู้ที่เป็นนัยทั่วไปเช่นเดียวกัน แม้ปรากฏการณ์ทางสังคมจะซับซ้อนกว่า แต่ก็สามารถกำหนดให้เป็นรูปธรรมและใช้วิธีเชิงประจักษ์ได้  โดยเขาได้เสนอระบบการคิดเชิงตรรกะในทางวิทยาศาสตร์สังคม ขึ้นเพื่อใช้เทียบเคียงกับวิธีทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ

ต่อมาในศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการพัฒนาแนวคิดของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม โดยกลุ่มเวียนนา(The Vienna Circle) กลุ่มนี้ได้เสนอความคิดในการเชื่อมโยงแนวคิดเชิงตรรกะเข้ากับแนวคิดประจักษ์นิยม ด้วยหลักการของนิยามปฏิบัติการ(Operationalism) คือการนิยามทฤษฎีไปสู่กระบวนการวัดจากนิยามปฏิบัติการที่ชัดเจน  ซึ่งถือเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งของการวิจัยเชิงปริมาณในทางสังคมศาสตร์และกล่าวได้ว่าในศตวรรษที่ 20 นี้เป็นยุคของการวิจัยทางสังคมศาสตร์ที่ใช้วิธีการเชิงปริมาณ ถือว่าศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการพัฒนาแนวคิดของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม

 

4.ยุคปรัชญามนุษยศาสตร์  

มนุษยศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อและค่านิยมของมนุษย์ ในตอนปลายของศตวรรษที่ 20 ประมาณปี 1980-1990 นักวิจัยกลุ่มวิทยาศาสตร์สังคมเชิงตีความ(Interpretative Social Sciences) ได้เกิดความคิดต่อต้านความคิดการวิจัยทางสังคมศาสตร์ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระแสหลัก  นักวิจัยกลุ่มนี้มีความเห็นว่า วิธีการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ถูกจำกัดด้วยวิธีการคิดแบบกลไกของวิทยาศาสตร์ และไม่สอดคล้องกับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม แม้วิธีวิทยาศาสตร์จะมีวิธีการวัดที่เป็นปรนัยและเชื่อถือได้เพียงใดก็ตาม แต่ข้อค้นพบก็ยังผิวเผินไม่สามารถสะท้อนความหมายเชิงมนุษย์และปรากฏการณ์เชิงสังคมที่ลึกซึ้งได้(ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และ สุภาพ ฉัตราภรณ์ 2545:9) 

หมายเลขบันทึก: 399484เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 23:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท