กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 2)


พัฒนาการของแนวคิดทางการวิจัย

กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 2)

พัฒนาการของแนวคิดทางการวิจัย

การวิจัยได้พัฒนาแนวคิดมาอย่างต่อเนื่องจากสมัยโบราณมาจวบจนถึงปัจจุบัน นักวิจัยได้จำแนกยุคสมัยของการวิจัยออกเป็น 4 ยุค คือ ยุคปรัชญาบริสุทธิ์ ยุควิทยาศาสตร์ ยุคมนุษย ศาสตร์และยุคสังคมศาสตร์

 

1.ยุคปรัชญาบริสุทธ์ (ผ่องพรรณ/สุภาพ7-10) 

ปรัชญาเป็นวิชาศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับความเป็นไปในธรรมชาติ พระเจ้า จักรวาล โลก ชีวิตและจิต โดยวิธีการวิพากษ์ พยายามค้นหาคำตอบในสิ่งที่สงสัยโดยใช้เหตุผล บิดาของวิชาปรัชญาคือ ทาเลส(Thales, 624-550 B.C.)เป็นผู้วางรากฐาน แนวคิดลัทธิสสารนิยม(Materialism)

พลาโต้(Plato,427-347BC) กับอริสโตเติล(Aritotle,384-322BC)ลูกศิษย์เป็นผู้วางแนวคิดว่า ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่สังเกตเห็น แต่เป็นสิ่งที่ค้นพบได้ด้วยหลักเหตุผล เขาจึงเสนอและคิดหาวิธีการให้เหตุผลโดยใช้วิธีการเชิงตรรกะ การอนุมานวิธีการเชิงคณิตศาสตร์ ความรู้ที่ได้เป็นองค์ความรู้ที่เป็นสมเหตุสมผล เป็นนามธรรมและเป็นสากล

อริสโตเติลได้พัฒนาวิธีแสวงหาความรู้โดยวิธีการอนุมานขึ้น เรียกว่า การอนุมานแบบอริสโตเติล(Aritotalian deduction)และต่อมาเขาได้พัฒนาวิธีการ แสวงหาความรู้แบบอปมานขึ้นใช้แสวงหาความรู้ควบคู่ไปกับวิธีอนุมานด้วย

 

2.ยุคปรัชญาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ   

วิทยาศาสตร์ธรรมชาติเป็นวิทยากรสาขาที่ศึกษาเกี่ยวกับความเป็นจริงของสิ่งทั้งหลายและปรากฏการณ์ทั้งหลายในธรรมชาติ

อริสโตเติล เป็นผู้เสนอแนวคิดว่า ความรู้ได้มาจากการสังเกตและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ และความรู้ทีได้เป็นองค์ความรู้ที่เป็นรูปธรรม เฉพาะเจาะจงและไม่ใช่สากล เขาได้เสนอวิธีการแสวงหาความรู้แบบอุปมานขึ้น เรียกว่า การอุปมานแบบอริสโตเติล(Arithotalian Induction)

พัฒนาการของวิทยาศาสตร์เริ่มต้นขึ้นขึ้นอย่างจริงจังในช่วงศตวรรษที่ 17  ในยุคของฟรานซิส เบคอน( Francis Bacon) และเซอร์ ไอแวค นิวตัน( Sir Isaac Newton) ซึ่ง  ถือเป็นรากฐานของพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ในยุคต่อๆมา(ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูลและสุภาพ ฉัตราภรณ์ 2545:6-8)  

ฟรานซิส เบคอน(1561-1626) ได้ให้ความสำคัญกับการแสวงหาความรู้เชิงประจักษ์โดยเน้นเพียงการรับรู้ ยังไม่เพียงพอต่อการได้คำตอบที่ถูกต้อง เขาได้ปรับปรุงวิธีการอุปมานของอริสโตเติลขึ้นใหม่ เรียกว่า วิธีอุปมานแบบเบโคเนียน(Baconian induction)

เซอร์ ไอแวค นิวตัน(1642-1727) ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยได้เสนอวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์และได้ใช้เป็นพื้นฐานของวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในสมัยต่อมากับได้ขยายแนวคิดวิธีการอุปมานแบบเบโคเนียนเป็นวิธีอนุมานแบบนิวตัน(the Newton’s induction)

ในยุคศตวรรษที่ 18  ยุคนี้เป็นระยะเวลาของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง นักวิทยาศาสตร์ได้เปลี่ยนแปลงวิธีการแสวงหาความรู้ใหม่ เริ่มตั้งแต่ จอห์น ลอค(John Lock)  และอิมมานูเอล คานต์( Immanuel Kant)

จอห์น ลอค (1632-1704) ได้ย้ำถึงความจำเป็นของการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีเชิงประจักษ์และยอมรับว่าวิธีการเชิงตรรกะก็สามารถใช้แสวงหาความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ได้

อิมมานูเอล คานต์(1724-1804) ได้เสนอวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีเชิงประจักษ์ขึ้นในงานเขียนชื่อ The critique of pure reason และเสนอว่า วิธีการประจักษ์เป็นวิธีวิธีการที่ดีที่สุดในการแสวงหาความรู้ความจริงและโจมตีวิธีการเชิงตรรกะ

หมายเลขบันทึก: 399483เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 16:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท