กระบวนทัศน์ของการวิจัย (ตอนที่ 1)


The philosophy of sciences

กระบวนทัศน์ของการวิจัย

 

          ในช่วงศตวรรษที่ 18 นักปรัชญาธรรมชาติได้เสนอแนวคิดเกี่ยวความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้ขึ้นมาใหม่ เรียกว่า  ปรัชญาวิทยาศาสตร์(The philosophy of sciences)  ถือว่าเป็นการวางรากฐานกระบวนทัศน์ใหม่เกี่ยวกับความรู้และวิธีการแสวงหาความรู้แบบใหม่ขึ้นมาเพื่อให้ใช้แทนกระบวนทัศน์ที่นักปรัชญาเมธีโบราณใช้กันอยู่เดิม

กลุ่มนักปรัชญาเมธีทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเชื่อว่า ความรู้ได้มาจากการสังเกตและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ ขณะที่นักปรัชญาเมธีเดิมที่เชื่อว่า ความรู้ไม่ใช่สิ่งที่สังเกตเห็น แต่เป็นสิ่งที่ค้นพบได้ด้วยวิธีการเชิงตรรกะ เมื่อทัศนะเกี่ยวกับความรู้เปลี่ยนไป วิธีการแสวงหาความรู้ก็ย่อมแตกต่างกันตามไปด้วย   ปรัชญาวิทยาศาสตร์ได้ก่อให้เกิดแนวคิดและวิธีการใหม่ในการแสวงหาความรู้ ถือได้ว่าเป็นการพัฒนากระบวนการแสวงหาความรู้ใหม่ที่เป็นรากฐานของการพัฒนาระเบียบวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคมในยุคสมัยต่อมาด้วย

 ในบทนี้จะได้กล่าวถึงพัฒนาการของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติลักษณะของวิทยาศาสตร์  วิธีวิทยาศาสตร์  กระบวนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการประยุกต์สู่การวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคม เพื่อเป็นรากฐานความคิดในการพัฒนาระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์สังคมในสมัยหลังด้วย

หมายเลขบันทึก: 399482เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 16:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท