นำเสนอผลงานวิจัยในที่สาธารณะอย่างไร ไม่ให้น่าเบื่อ


วาทศิลป์

นำเสนอผลงานวิจัยในที่สาธารณะอย่างไร ไม่ให้น่าเบื่อ

 

การนำเสนองานโดยการพูดนั้น จำเป็นต้องมีวาทศิลป์ช่วย จึงจะทำให้การนำเสนองานน่าสนใจ และไม่น่าเบื่อ หลักการพูดทั่ว ๆ ไป จะต้องมีการวางโครงเรื่องคือ ส่วนเกริ่นนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป ซึ่งการนำเสนอผลงานก็เรียงลำดับทั้งสามส่วนในทำนองเดียวกัน
การพูดเราต้องทราบว่า ผู้ฟังเป็นใครบ้าง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลงานของเรามากน้อยแค่ไหน ให้เรานึกถึง 3 ประเด็นคือ

                1. จะเริ่มต้นทำให้คนสนใจผลงานของเราได้อย่างไร
                2. เมื่อผู้ฟังสนใจ จะทำอย่างไรให้ผู้ฟังสนใจอยู่อย่างตลอดรอดฝั่ง
                3. เราจะเสนออะไร มีความรู้ / ประโยชน์ อะไรบ้างแก่ผู้ฟัง

                การวางแผนการพูด ควรเตรียมตัว โดยลองกำหนดเวลาการพูด อาจจะสัก 10 นาที กำหนดว่า 10 นาทีจะมีใจความสำคัญเป็นอย่างไร และอาจเตรียมเผื่อเวลา หากมีการเปลี่ยนแปลง เช่น เพิ่มเป็น 30 นาที หรือลดเหลือ 5 นาที

สิ่งที่ไม่ควรทำขณะนำเสนอ

 

1. อาการที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการใช้มือ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวบั่นทอนบุคลิกภาพขณะนำเสนอผลงาน
            *  ล้วง - มือล้วงกระเป๋ากางเกง ชักเข้าชักออก หรือสั่นมือในกระเป๋ากางเกง
            *  แคะ - แคะขี้เล็บ แคะจมูก
            *  แกะ - แกะกระดุมเสื้อแล้วกลัดเข้าไปใหม่ สลับไปมา
            *  เกา - เกาศีรษะ เกาจมูก แขน
            *  คลึง - คลึงปากกา ดินสอ ที่อยู่ในมือ
            *  คลำ - คลำตะเข็บเสื้อ เนคไท ต่างหู
            *  ขยำ - ขยำกระดาษเสียงกรอบแกรบ
            *  ขยี้ - ขยี้ดอกไม้ที่ประดับอยู่ หรือเด็ดดอกไม้ทีละกลีบ
            *  ดึง - ดึงผ้าปูโต๊ะ ดึงผมตัวเอง
            *  จับ - จับขาตั้งไมโครโฟน จับจมูก หู ของตัวเอง
            *  ขยับ - ขยับไมโครโฟนขึ้นลงไปมา ขยับปกคอเสื้อเป็นระยะ
           *  เคาะ - เคาะปากกา หรือดินสอ หรือเคาะโต๊ะเป็นจังหวะ
2. สั่นหรือกระดิกขาขณะนำเสนอ
3. จ้องมองแต่ Script เนื้อหาที่บรรยายจนลืมมองไปยังผู้ฟัง หรือนัยน์ตาเหม่อลอยขณะบรรยาย
4. การนำเสนอโดยใช้ภาษาไทยปนกับภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างชาติมากเกินไป กล่าวคือ พูดแบบไทยคำ ฝรั่งคำ เป็นต้น

ระวัง 12 สิ่งในการพูด

             1. พูดชักแม่น้ำทั้งห้า
             2. พูดน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง
             3. ไปไหนมา สามวาสองศอก
            4. พูดจามะนาวไม่มีน้ำ
            5. พูดเป็นขวานผ่าซาก
            6. พูดซ้ำๆซากๆ
            7. พูดกระท่อนกระแท่น
            8. พูดกระอึกกระอัก
            9. พูดเป็นนกแก้วนกขุนทอง (ไม่เข้าใจเรื่องที่ตัวเองพูด)
           10. พูดพายเรือในหนอง (พูดวกวน หาข้อสรุปไม่ได้)
           11. พูดจายกเมฆ
           12. พูดจาสัปดน

            ควรฝึกฝนและเพิ่มพูนสิ่งเหล่านี้ จะทำให้การนำเสนอเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และน่าชมน่าฟัง

            1. การใช้ภาษากาย เช่น การใช้มือประกอบการพูด
            2. การประสานสายตากับผู้ฟัง
            3. การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง เช่น การอ่านคำควบกล้ำ ร ล ว หรืออักษรนำ นอกจากนั้น ควรตรวจสอบการอ่านที่ถูกต้องจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
            4. ควรลดความรุนแรงของการใช้ภาษา เช่น คำว่าบ้านนอก ควรใช้คำว่า ชนบท ต่างจังหวัด, ใช้ไม่ได้ ควรใช้คำว่า ยังต้องปรับปรุง เป็นต้น
            5. ควรฝึกพูดเนื้อหาที่จะนำเสนอบ่อย ๆ จะทำให้เราสามารถนำเสนอได้อย่างคล่องแคล่ว
            6. การนำเสนอควรนำเสนอประกอบสื่อ จะทำให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เตรียมตัวอย่างไรกับคำถามที่อาจตามมา

                 คำถามที่จะได้รัเวลานำเสนองานวิจัย มีทั้งคำถามทั่วไป และคำถามเฉพาะทางเกี่ยวงานวิจัย ควรเตรียมตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. เหตุผลที่สนใจเรื่องนี้
2. รายละเอียดเกี่ยวกับงาน
3. แผนการทำงาน
4. การนำผลไปพัฒนาต่อ ทำได้อย่างไร




อ้างอิง....

http://www.vcharkarn.com/varticle/16269#P4

หมายเลขบันทึก: 399393เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบครับ...

สงสัยต้องนำไปใช้ซะแล้ว

ครูเต่านำไปใช้แล้วแจ้งผลด้วยนะเออ!!!!!!!!!!!!!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท