ครั้งที่ 12 งานวิจัยเชิงอนาคต (ตอนที่ 1)


Futures Studies

ช่วงนี้เพื่อน C&I  จะมีความสนใจ งานวิจัยเชิงอนาคตเป็นพิเศษ เลยเอามาฝากให้ลองอ่านกัน

           อนาคตศึกษาเป็นคำที่แปลมาจากคำภาษาอังกฤษว่า  Futures  Studies   ซึ่งหมายถึงวิชาสาขาใหม่ที่ศึกษาถึงแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษาอนาคต   ตลอดจนระเบียบวิธีที่ใช้ในการศึกษาแนวโน้ม และทางเลือกต่าง ๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต
             โดยนัยนี้อนาคตศึกษา จะประกอบไปด้วยเนื้อหาอย่างน้อย  2  ส่วนใหญ่ ๆ  คือ


1.      ส่วนที่เป็นแนวคิด (Perspectives)  และทฤษฎี (Theories)  ซึ่งอาจใช้คำรวมว่าอนาคตนิยม (Futurism)   
2.      ส่วนที่เป็นระเบียบวิธี (Methodologies) ซึ่งอาจเรียกว่าการวิจัยอนาคต (Futures Research)


            ความหมายที่ให้ไว้ข้างบนนี้  เป็นความหมายที่ผู้เขียนสรุปไว้เพื่อให้ผู้อ่านที่ยังไม่ค่อยคุ้นเคยกับสาขาวิชานี้ได้เข้าใจเป็นเบื้องต้นเท่านั้น    ผู้อ่านอาจจะพบความหมายของคำนี้ในลักษณะที่แตกต่างไปจากที่ผู้เขียนให้ไว้ได้ในตำราหรือบทความอื่น ๆ  ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาในวงวิชาการ  ยิ่งไปกว่านั้น   ผู้อ่านอาจจะพบคำอื่น ๆ ที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกับคำ ๆ  นี้   อีกหลายคำ เช่น  Futurics, Futurology, Futuribles, Prognostics, และ Anticipatory  Science เป็นต้น  แต่ละคำก็มีความหมาย  และลักษณะพิเศษเฉพาะตัวตามแนวคิดของคนที่คิดขึ้น  แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือการเน้นเรื่องอนาคต ผู้ที่ทำการศึกษาอนาคตอย่างเป็นระบบโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยอนาคตแบบต่าง ๆ เรียกว่า  นักอนาคตนิยม
           

อ้างอิงจาก 
 จุมพล   พูลภัทรชีวิน,  อนาคตศึกษา :  ความรู้และความเข้าใจพื้นฐาน  วารสารครุศาสตร์อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
( กรกฎาคม – ธันวาคม  2533 )

http://onzonde.multiply.com/journal/item/1/1

คำสำคัญ (Tags): #อนาคตนิยม (futurism)
หมายเลขบันทึก: 399188เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท