การประเมินงานวิจัย ( evaluation of Research ) ตอนที่ 3


การประเมินงานวิจัย ( evaluation  of  Research ) ตอนที่ 3

     อาจจะแบ่งย่อยหน่อยแต่เพื่อไม่ให้ท่านผู้อ่านเกิดความอ่อนล้า  เหมือนกับผู้เขียนในตอนนี้  ดังนั้นผู้เขียนจะขอแบ่งเป็นประเด็นๆ เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาอย่างต่อเนื่องนะค่ะ

หัวข้อต่อไปที่สำคัญในการประเมินงานวิจัย มีดังนี้ค่ะ

         วิธีดำเนินการวิจัย 

         ในการวิจัยนั้นมีหลายประเภท ซึ่งจะมีวิธีดำเนินการวิจัยที่แตกต่างกัน  แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ควนพิจารณาในการวิจัยเชิงปริมาณโดยภาพรวมดังนี้

         1.) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสอดคล้องกับประเด็นปัญหาการวิจัยหรือไม่

         2.) ในกรณีที่ใช้กลุ่มตัวอย่างศึกษาได้กล่าวถึงการได้มาของกลุ่มตัวอย่างชัดเจนหรือไม่

         3.) เครื่องมือการวิจัยมีการระบุที่ไปที่มาชัดเจนหรือไม่  เป็นการสร้างใหม่หรือพัฒนามาจากงานวิจัยอื่น

         4.) ในกรณีที่สร้างเครื่องมือใหม่มีความสอดคล้องกับนิยามศัพท์ที่เขียนไว้หรือไม่

         5.) เครื่องมือที่ใช้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญหรือไม่และผู้เชี่ยวชาญมีความน่าเชื่อถือเพียงใด

         6.) เครื่องมือที่ใช้มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นสูงมากน้อยเพียงใด

         7.) การให้คะแนนและการแปลความหมายของคะแนนเป็นมาตรฐานหรือยอมรับได้หรือไม่

         8.) คำชี้แจงของเครื่องมือมีความชัดเจนเพียงใด

         9.) ข้อคำถามที่ใช้มีความครอบคลุมในประเด็นที่ต้องการศึกษา

        10.) ข้อคำถามมีความชัดเจนรัดกุมและเหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา

 

        การเก็บรวบรวมข้อมูล

         1.)  มีการกำหนดวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้อย่างเหมาะสมกับวิธีการศึกษาหรือไม่

         2.)  มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบและชัดเจนเพียงใด

 

         การวิเคราะห์ข้อมูล

         1.)  ใช้สถิติสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยหรือไม่

         2.)  ใช้สถิติสอดคล้องกับระดับการวัดของตัวแปรหรือไม่

         3.)  ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อตกลงเบื้องต้นของตัวสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน  ผู้วิจัยได้ตรวจสอบหรือไม่  แล้ถ้าพบว่าไม่เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น 

ผู้วิจัยได้แก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องตามหลักสถิติหรือไม่

         4.)  ขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพียงพอกับการใช้สถิติหรือไม่

 

         ผลการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมาย

          1.)  สัญลักษณ์ทางสถิตติมีความถูกต้องหรือไม่

          2.)  การแปลความหมายเป็นไปตามหลักสถิติหรือไม่

          3.)  การแปลความหมายได้แปลอย่างปราศจากอคติหรือไม่

          4.)  การแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูลมีความสอดคล้องกับสถิติที่ใช้หรือไม่

          5.)  รูปแบบการนำเสนอเหมาะสมและง่ายต่อการทำความเข้าใจมากน้อยเพียงใด

 

          การสรุปผลการวิจัย

          1.)  สรุปผลได้สอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่

          2.)  สรุปผลได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่

          3.)  สรุปผลได้ครบและถูกต้องในประเด็นหลักๆหรือไม่

          4.)  สรุปผลเป็นไปตามผลการวิเคราะห์หรือไม่

          5.)  สรุปผลสามารถบอกได้หรือไม่ว่าปฏิเสธหรือยอมรับสมมติฐานการวิจัย

 

          การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

           1.)  การอภิปรายผลอยู่บนพื้นฐานของแนวคิด  ทฤษฎี  ตลอดจนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือไม่

           2.)  ได้อาศัยความรู้และประสบการณ์มาช่วยในการอภิปรายผลหรือไม่

           3.)  แนวคิดเรื่องทฤษฏีที่นำมาอภิปรายผลมีความสอดคล้องกับปัญหาการวิจัยหรือไม่

           4.)  เอกสารที่นำมาอ้างอิงมีความทันสมัยหรือไม่

           5.) อภิปรายผลได้นำเสนออย่างเป็นระบบสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยและสมมติฐานการวิจัยหรือไม่

           6.) ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับผลการวิจัยที่จะนำไปสู่การนำผลวิจัยนี้ไปใช้หรือไม่

           7.) ได้เสนอแนะการนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือไม่และข้อเสนอแนะนั้นเกินขอบเขตการวิจัยหรือไม่

           8.) มีการเสนอแนะสำหรับการวิจัยในครั้งต่อไปหรือไม่และข้อเสนอแนะนั้นได้เพิ่มองค์ความรู้ในปัญหาวิจัยที่คล้ายคลึงมากเพียงใด

 

           บรรณานุกรม  ระบบการเขียนและภาคผนวก

           1.)  บรรณานุกรมครบถ้วนและถูกต้องหรือไม่

           2.)  ได้มีการตรวจสอบการสะกดคำหรือไม่

           3.)  ภาคผนวกได้นำเสนอข้อมูลที่จำเป็นเพื่อให้เข้าใจงานวิจัยมากน้อยเพียงใด

 

เอกสารอ้างอิง

บุญชม  ศรีสะอาด. (2543). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

รัตนะ บัวสนธ์. (2548).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 

         

หมายเลขบันทึก: 399160เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2010 14:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท