เข้าพรรษานี้เป็นช่วงแห่งการประพฤติตนให้เป็นคนดี ลองสัญญากับตัวเองสิว่าจะทำดู


“เข้าพรรษา” ช่วงเวลาแห่งการประพฤติดี
 

       ก้าวเข้าสู่เทศกาลเข้าพรรษาเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับปีนี้ โดยเริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 11 กรกฎา คม ต่อเนื่องไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 วันที่ 7 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา
ที่มาและความหมายของวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันนี้ กล่าวคือ เป็นวันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐาน จิตที่จะอยู่ประจำวัด หรือเสนา สนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้ ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยไม่ไปค้างอ้างแรมที่อื่น ตลอดระยะเวลา 3 เดือนในฤดูฝน ยกเว้นมีกิจจำเป็น 4 ประการ อันได้แก่ ไปเพื่อยับยั้งเพื่อนสหธรรมิก เช่น ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรีที่อยากสึก ไม่ให้สึก, ไปเพื่อพยาบาลบิดามารดา หรือเพื่อนสหธรรมิกที่ป่วย, ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น หาอุปกรณ์มาซ่อมวิหารที่ชำรุด และไปเพื่อฉลองศรัทธาที่ญาติโยมมานิมนต์ให้ไปร่วมบำเพ็ญบุญ ซึ่งพระพุทธองค์ ก็ได้ประทานอนุญาตให้ไปค้างแรมที่อื่นได้ คราวละไม่เกิน 7 วัน โดยไม่ถือว่าอาบัติโดยปกติการจำพรรษา จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกกันว่า เข้าพรรษาแรก” หรือ “ปุริมพรรษา” แต่ถ้าปีใดมีอธิกมาส หรือเดือน 8 สองหน ก็จะเลื่อนไปจำพรรษาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง ซึ่งพระภิกษุในประเทศไทยส่วนใหญ่ก็จะจำพรรษาในช่วงปุริมพรรษานี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดกรณีที่พระภิกษุบางรูปเกิดอาพาธ (ป่วย) หรือติดกิจธุระ ไม่สามารถจำพรรษาแรกได้ ก็สามารถอธิษฐาน “จำพรรษาหลัง” หรือ “ปัจฉิมพรรษา” ได้ โดยเริ่มตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 9 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 แต่จะไม่ได้รับกฐิน เนื่องจากยังอยู่ไม่ครบพรรษาในช่วงเทศกาลกฐิน สมัยก่อนประชาชนคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม จะเริ่มทำไร่ทำนา ปักดำกล้าก่อนช่วงเข้าพรรษา ครั้นพอเข้าพรรษาซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุอยู่ประจำที่ในฤดูฝนก็จะพอดีกับการเสร็จงานในไร่นา จึงมีเวลาว่างมาก ประกอบกับการคมนาคม ในสมัยก่อนยังไม่สะดวก อีกทั้งฝนตกน้ำเจิ่งนองเต็มแม่น้ำลำคลองทั่วไป ชาวบ้านจึงถือโอกาสนี้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนาเพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลกันโดยเหตุที่ในพุทธศาสนา มีการฝึกฝนตนตาม ไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา) โดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง เมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษา ที่มีพระภิกษุ มาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก พุทธศาสนิกชนจึงถือเป็นโอกาสเหมาะที่จะไปศึกษาหาความรู้ กับพระภิกษุ และเห็นสมควรที่จะส่งบุตรหลานไปอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรม คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รวมทั้งได้ ฝึกฝนตนเองด้วยจึงเกิดเป็นประเพณีนิยมบวช 3 เดือน เมื่อชายไทยอายุ 20 ปี บริบูรณ์ขึ้นมา ขณะเดียวกันพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งก็นิยมถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่มต้นที่จะสำรวจพฤติกรรมของตนที่ผ่านมา และอธิษฐานจิตที่จะปรับปรุงตนให้ดีขึ้น หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ตั้งใจจะลด ละ ความชั่วทั้ง หลาย และทำความดีเพิ่มขึ้น เพราะ ระยะ เวลา 3 เดือน หรือ 1 ไตรมาสนี้ นับ ว่าเป็นช่วงเวลาที่นานพอสมควรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความเคยชิน ที่ไม่ดีไปสู่การสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นได้
การงดเว้นบาป ละเว้นการทำความชั่วต่างๆ เพื่อประพฤติตนเป็นคนดี สามารถทำได้หลายทาง ซึ่งมงคลข้อหนึ่งที่จะทำให้เรามีความสงบสุขร่มเย็น มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

          3 เดือนแห่งเทศกาลเข้าพรรษานี้ หากใครคิดที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หันมาตั้งใจทำความดี ก็สามารถเริ่มกันได้ตั้งแต่วันนี้โดยไม่ต้องรีรอเพราะแน่นอนว่า...การทำความดีนั้น นอกจากจะทำให้จิตใจของเราสงบสุขแล้ว ผลบุญนั้นยังอาจส่งผลให้เราได้พบกับสิ่งดีๆ ในชีวิตอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 39736เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท