เผยแพร่ผลงานวิจัย CAI หน่วย ร่างกายมนุษย์


บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วย ร่างกายมนุษย์

ชื่อเรื่อง           การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วย ร่างกายมนุษย์

                      กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้วิจัย             นายธนวัฒน์  กาฬหว้า

ตำแหน่ง          ครู       วิทยฐานะ  ครูชำนาญการ

โรงเรียน         บ้านดอนอุมรัว  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

ปีที่วิจัย           2552

 

บทคัดย่อ

 

                การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียน หน่วย ร่างกายมนุษย์

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80

2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้น

4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้น และ 5) เพื่อศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบทเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านดอนอุมรัว อำเภอกุฉินารายณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมิน

ความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test

 

ผลการวิจัยพบว่า

 

                1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพดีพอใช้ถึงพอใช้ (86.96/83.19) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80)

                2.  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียนของผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

                3.  ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีค่าเท่ากับ 0.7469 คิดเป็นร้อยละ 74.69

                4.  ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่า ผู้เรียน

มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (  = 4.59 , S.D. = 0.51)

                5.  ความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังเรียนผ่านไป 7 วัน และ 30 วัน พบว่าคะแนนเมื่อผ่านไป 7 วัน คะแนนลดลงร้อยละ 3.47 ซึ่งเกณฑ์ความคงทนลดลงไม่เกิน

ร้อยละ 10 เมื่อระยะเวลาผ่านไป 30 วัน คะแนนลดลงร้อยละ 7.36 ซึ่งเกณฑ์ที่กำหนดลดลงร้อยละ 30 ทำให้ผู้เรียนมีความจำคงเหลืออยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด สรุปได้ว่าผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 396816เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

  • เป็นงานวิจัยชั้นเรียนที่น่าสนใจมาก

 

เป็นงานวิจัยและใช้นวัตกรรมที่น่าสนใจ อยากได้ตัวสื่อค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท