ความหลากหลายทางพันธุกรรมสัตว์และการใช้เป็นประโยชน์


1. จงอดทนและทำต่อไป อย่ายอมแพ้ อย่าหยุด 2. อย่าให้คำพูดที่มีราคาถูกของคนอื่นมามีผลต่อชีวิตเราที่มีราคาแพง

ความหลากหลายทางพันธุกรรมสัตว์และการใช้เป็นประโยชน์

ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์และคน

การผลิตสัตว์ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1. ผลิตแบบการค้า เป็นการผลิตเพื่อมุ่งเน้นผลผลิตเป็นหลัก เลี้ยงเพียงชนิดเดียว มีการใช้เทคโนโลยี และปัจจัยการผลิตจากภายนอก เป็นฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ มุ่งเน้นด้านเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง ไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมหรือผลเสียหายต่อระบบนิเวศ ส่งผลให้ความหลากหลายของพันธุ์สัตว์ต่างๆลดน้อยลง

2. ผลิตแบบวิถีชุมชน เป็นการผลิตแบบชาวบ้านทั่วไปในชนบท น่าจะเรียกว่าเป็นการเลี้ยงสัตว์แบบครัวเรือน มีสัตว์เลี้ยงหลายชนิด ชนิดละไม่กี่ตัว มีความผูกพัน มีจิตวิญญาณเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว โดยรวมแล้วเลี้ยงเพื่อเป็นการออมทรัพย์ เมื่อต้องการใช้จ่ายก็นำสัตว์เลี้ยงไปขายเพื่อได้เงินมาใช้สอย เช่นการขายสุกรเป็นตัวๆไป ไม่ได้ขายทั้งหมด บางครั้งเลี้ยงเพื่อแลกเปลี่ยนกันในชุมชนโดยมิได้คิดเป็นตัวเงิน เช่น มีพ่อพันธุ์สุกรจะนำไปผสมพันธุ์โดยที่ไม่คิดเป็นเงิน แต่ตอบแทนเป็นลูกสุกรที่เกิดใหม่

ฟังคำบรรยายของอ.จรัล ที่ท่านกล่าวว่า” ทุกอย่างในโลกล้วนสัมพันธ์ด้วยกันทั้งสิ้น” เห็นด้วยกับ อ.แต่เป็นห่วงเกษตรกรที่ทำเกษตรแบบการค้า ไม่ทำแบบเกษตรยั่งยืน สุดท้ายอาจทำลายความสัมพันธ์ทุกอย่างที่มีในโลกลงได้ เช่น เราจะไม่เห็นควายในปลักควาย ไม่เห็นเป็ดไล่ทุ่ง ไม่เห็นหมูล่ามคอ การเลี้ยงสัตว์ในชุมชนจะหมดไป

อ.จรัล ได้แบ่งการเกษตรออกเป็น 2 พวก

1. Agricultural system เป็นการปลูกพืชเป็นหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพด

2. Livestock system เป็นการเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก ซึ่งแบ่งลักษณะการเลี้ยง 3 ชนิด

2.1. Commercial (Industrial) system

2.2. Mixed (Integrated) system

2.3. Grazing system

ตัวอย่างของ Mixed (Integrated) system ดังสมการ

X ทำนา (A) ----------------> grain (a) + straw (stubble)

Y ควาย (B) ----------------> meat (b) + manure

(X+Y) = (a + b) + (a b)

(a + b) นำไปขาย ส่วน (a b) ผสมผสานกัน (Integrated) เกิด Interaction ทำให้ผลผลิตมากขึ้น

กรณีเป็ดไล่ทุ่งในนาข้าวก็เป็นเกษตรผสมผสานเช่นกัน

การเลี้ยงสัตว์ในไทยเพื่อจุดประสงค์ดังนี้

1. Companion

2. Food

3. Draught power

4. Recreation

5. Cultural and Religious

6. Food security

7. Saving

8. Soil fertility

9. Use of crop residue

10. Sustainability of Farming system

11. Gender role

12. Old age

13. Community spirit

14. By product

ดังนั้นการเลี้ยงสัตว์เพื่อให้ได้ประโยชน์ทั้ง 14 ข้อ ย่อมทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรมสัตว์เป็นการเกษตรแบบยั่งยืน ดำรงไว้ซึ่งวิถีชุมชน วัฒนธรรม แต่การปฏิบัติค่อนข้างยาก จึงอยากให้ทั้งเครือข่ายภาคเอกชน และภาครัฐบาลร่วมกันอย่างแข็งขันเพื่อสัมฤทธิ์ผลอันเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรและประเทศชาติ

ขอสดุดี อ.จรัล จันทลักขณา ที่ท่านมีประสบการณ์ความรู้ความสามารถที่สั่งสมมาเป็นเวลายาวนานถือเป็นปูชนียบุคคลด้านการเกษตรที่สำคัญยิ่ง ในการบรรยายครั้งนี้ท่านยังให้คติพจน์แก่นิสิตว่า 1. จงอดทนและทำต่อไป อย่ายอมแพ้ อย่าหยุด

                           2. อย่าให้คำพูดที่มีราคาถูกของคนอื่นมามีผลต่อชีวิตเราที่มีราคาแพง

พวกเรานิสิตทุกคนขอน้อมรับไปปฏิบัติและขอให้ อ.จรัล จันทลักขณา มีอายุมั่นขวัญยืนเป็นมิ่งขวัญของพวกเราทุกคน

หมายเลขบันทึก: 396193เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 21:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท