บทความครูกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง


บทความครูกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

บทความ ครูกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติมีข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดีไว้ตอนหนึ่งว่า "ครูที่แท้นั้น ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ

ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร

ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ

ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน

ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม

ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ

ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่

ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ

ต้องเมตตาหวังดี

ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจคติ

ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความรู้ในเหตุผล

ที่มาของคำว่า ครู

ที่มาของคำว่า ครู คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"

ความสำคัญของครู

ในชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี

ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ความเป็นครู หรือครูมืออาชีพ จะต้องเป็นบุคคลที่มีความพิเศษ เป็น ผู้ที่มีจิตใจสูง มีความเมตตาและเสียสละในการทำหน้าที่ครู นอกจากนี้แล้วยังเป็นนักวิชาการเป็นผู้ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและจะต้องเป็นผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับบุคคลอื่นมีความสุขกับการที่ได้พัฒนาคน ,พัฒนาตน สนับสนุนและช่วยแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสังคมและประเทศชาติเช่นนี้แล้วการประพฤติปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพครู

วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สำคัญและมีบทบาทมากในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติ ในอดีต ครู คือ ปูชนียบุคคลของสังคม เป็นผู้ที่พร้อมซึ่งมีความฉลาด รอบรู้คู่ความดี เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสืบสาน และถ่ายทอดความรู้และความดีจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งของสังคม เป็นแบบอย่างของคนทั่วไปในด้านความประพฤติและคุณธรรม โดยสรุปก็คือ วิชาชีพครูในอดีตเป็นวิชาชีพที่มีเกียรติสูงเป็นที่ยกย่องนับถือของคนทั่วไปในสังคม และเป็นวิชาชีพที่คนเก่งคนดี ใฝ่ฝันที่จะเป็น ครูที่แท้จริงเป็นผู้ทำแต่ความดี คือ ต้องหมั่นขยัน และอุตสาหะ พากเพียร ต้องเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่และเสียสละ ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน ต้องรักษาวินัย สำรวม ระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในแบบแผนที่ดีงาม ต้องปลีกตัวปลีกใจจากความสะดวกสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิของตน ต้องตั้งใจมั่นคงแน่วแน่ ต้องซื่อสัตย์ รักษา ความจริงใจ ต้องเมตตา หวังดี ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจอคติ ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้น จึงกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การทำหน้าที่ครู ก็คือ การสร้างบารมีที่แท้นั่นเอง และการบำเพ็ญบารมี หรือเพิ่มพูนความดีนั้น ย่อมบำรุงจิตใจให้เจริญมั่นคงขึ้นและขัดเกลาให้ประณีตสะอาดหมดจด

 

หมายเลขบันทึก: 396070เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 15:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท