การวิจัยและพัฒนาพืชพลังงานทดแทน (ศ.ดร.เจริญศักดิ์ โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์)


     เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น การบริโภคโดยเฉพาะเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ความต้องการน้ำมันของโลกเพิ่มขึ้นมากโดยเฉพาะประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา โดยเมื่อพิจารณาถึงการใช้พลังงาน พบว่า ภาคการคมนาคมขนส่งเป็นภาคที่มีปัญหาการใช้พลังงานสูงสุดของประเทศ

     สถานการณ์พลังงานในปี 2550 พบว่า ประเทศไทยใช้พลังงานคิดเป็นมูลค่า 1.487 ล้านล้านบาท และปริมาณการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ในประเทศ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบ สำหรับภาคสาขาที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานมากที่สุด คือ ภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมขนส่ง

     พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มากเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น

     สำหรับการผลิตเอทานอลเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน พบว่า ประเทศบราซิลเป็นประเทศหนึ่งที่เป็นผู้นำด้านแก๊สโซฮอล์ และมีการส่งเสริมการใช้อย่างจริงจัง เริ่มจากความพยายามที่จะลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการผลิตเอทานอล เพื่อทดแทนน้ำมันในยุคที่ราคาน้ำมันดิบสูง การส่งเสริมอย่างจริงจังทำให้มีการก่อสร้างโรงกลั่นเอทานอลทั่วประเทศ โดยบราซิลใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเอทานอล ส่วนวัตถุดิบที่นิยมใช้ในการผลิตเอทานอลภายในประเทศไทย ได้แก่ อ้อยและกากน้ำตาล และมันสำปะหลัง

     พืชอาหาร และพืชพลังงาน จะทำอย่างไรให้สมดุล เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องพิจารณาให้รอบด้าน ในอนาคต การแย่งชิงวัตถุดิบจะเกิดขึ้น คือ เชื้อเพลิง (fuel) อาหารคน (food) และอาหารสัตว์ (feed) ซึ่งประชากรที่เพิ่มมากขึ้นนี้ เป็นสิ่งที่ต้องเตรียมการรองรับ

สรุปปัญหา

  1. การพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ไม่สนองความต้องการของสังคม
    และเศรษฐกิจของชาติ
  2. งบประมาณวิจัยจำกัดและไม่ตรงประเด็น

     ทิศทางการวิจัยและพัฒนาพืชพลังงานทดแทนในอนาคต ต้องพิจารณาหาพืชที่มีศักยภาพ ซึ่งการนำพืชอาหารมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทดแทนอาจทำให้เกิดผลกระทบในหลายๆ ด้าน เช่น การนำอ้อยไปใช้เป็นวัตถุดิบมากเกินไปอาจทำให้น้ำตาลขาดตลาดหรือราคาน้ำตาลอาจสูงขึ้น อาหารเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับมนุษย์มากกว่าพลังงาน ในการนำพืชอาหารมาผลิตพลังงาน จึงต้องจัดพื้นที่ให้เหมาะสม และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรด้วย

ข้อมูลจากการบรรยายของ ศ.ดร.เจริญศักดิ์  โรจนฤทธิ์พิเชษฐ์ วันที่ 9 กันยายน 2553

คำสำคัญ (Tags): #พลังงานทดแทน
หมายเลขบันทึก: 395920เขียนเมื่อ 20 กันยายน 2010 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท