ความยากจนของเกษตรกรไทย


ความยากจนของเกษตรกรไทย

ความยากจนของเกษตรกรไทย
 มีคำถามเกิดขึ้นมากมาย   เช่น 
 1. ทำไมเมื่อก่อนเกษตรกรเบิกป่าใหม่ ๆ  เกษตรกรปลูกพืชผัก ผลไม้ ทุก ๆ ชนิด ได้ผลผลิตที่สูง และมี รสชาติดี  ไม่มีโรคและแมลงรบกวนจึงทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่อยู่ดีกินดี
 2. แต่เมื่อเกษตรกรปลูกพืช ผัก ผลไม้ไปประมาณ  7-8 ปี  ผลผลิตจึงลดลงเรื่อย ๆ  แถมมีโรคพืชเกิดขึ้นหลายโรค มีแมลงรบกวนมาก จึงต้องใช้สารเคมีจำนวนมาก มากำจัดแมลงและเชื้อโรค
 3. เมื่อผลผลิตลดลง เกษตรกรจึงได้นำเอาปุ๋ยเคมี  NPK มาใช้ ใช้ในช่วงแรกผลผลิตก็เพิ่มขึ้น แต่พอใช้ไปสัก   2-3 ปี ผลผลิตกลับลดลง  ทำให้เกษตรกรยิ่งใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น
 4. เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีมากขึ้น  ต้นทุนก็สูงขึ้นแต่ผลผลิตกลับไม่เพิ่ม  แถมยังทำให้ผลผลิตลดลงเรื่อย ๆ และยังถูกแมลงและเชื้อโรครบกวนหนักขึ้น เกษตรกรจึงหันมาใช้สารเคมีกำจัดทั้งเชื้อโรคและแมลง ยิ่งทำให้ต้นทุนสูงขึ้นอีก
             5. จึงมีคำถามว่าทำไมในป่าที่อุดมสมบูรณ์  จึงไม่ต้องใช้  NPK หรือใช้สารอื่น ๆ แต่พืชทุก ๆ ชนิดกลับอุดมสมบูรณ์ และแข็งแรงไม่เป็นโรค
 คำตอบ  ทรัพยากรดินในป่าทำไมถึงอุดมสมบูรณ์โดยไม่ต้องใช้อะไรไปปรับปรุง  เพราะมีจุลินทรีย์คอยแปร   ธาตุอาหารหลัก    ธาตุอาหารรอง  ธาตุอาหารเสริมให้พืชได้ใช้อยู่ตลอดเวลา เรียกว่า “ความสมดุลทางธรรมชาติ”  แต่เมื่อเกษตรกรเบิกป่าใหม่ ๆ  นำทรัพยากรดินมาทำธุรกิจทางการเกษตร  ก็มีการใช้ทรัพยากรดินอย่างต่อเนื่อง  มีแต่ใช้  แต่ไม่เคยเสริมแร่ธาตุอาหารทุก ๆ ชนิด  และไม่เคยสร้างจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้แก่ดิน  จึงทำให้ดินเสื่อมลงเรื่อย ๆ เมื่อดินเสื่อมลงก็ได้นำเอาสารเคมี  NPK  มาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต  แต่ของทุก ๆ สิ่งบนโลกใบนี้  มีคุณอนันต์  ย่อมที่จะมีโทษมหันต์  ดังนั้นเกษตรกรทั่วโลกยังขาดความรู้  เรื่องการใช้สารเคมีทุก ๆ ชนิด   เมื่อนำมาใช้ในครั้งแรกมีผลผลิตเพิ่ม  ก็ทำให้เข้าใจว่า  NPK  ดี  ก็ยิ่งใช้หนักขึ้น  แต่พอใช้ไปนาน ๆ เข้าจึงรู้ว่า  การใช้ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ ก่อให้เกิดปัญหาดินตายด้าน      ดินเสื่อมสภาพหนักขึ้นและก่อให้เกิดโรคชนิดต่าง ๆ มากมาย   ฉะนั้นจะแก้ไขอย่างไร  จากประสบการณ์มีคำตอบดังต่อไปนี้
ขอยกตัวอย่าง
   1. ปาล์ม  เมื่อตอนเปิดป่าใหม่ ๆ ตัดปาล์มได้  5 - 7  ตัน ต่อ 1 ไร่  ต่อมาเมื่อดินเสื่อมสภาพ  ผลผลิตปาล์มก็ลดลง  เหลือ 2 --3  ตัน ต่อ 1 ไร่   ปัญหาดินเสื่อมทำให้ปาล์ม  100  ต้น  มีปัญหาเป็นปาล์มตัวผู้  ถึง 20%  และออกลูกบ้าง  ไม่ออกลูกบ้าง  50%  และเหลือต้นที่ดี ๆ ประมาณ  30% 
 วิธีแก้ไขหากต้นปาล์มมีปัญหา  ให้นำเอาปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้ มีผลดีดังนี้ 
 1. ต้นที่ไม่ออกลูก 20%  เมื่อใช้แล้วประมาณ  3  เดือน  จะออกลูกเต็มต้น
 2. ต้นที่ออกลูก  50%  เมื่อนำไปใช้แล้ว  ออกลูก 100% และออกมากกว่าที่เคยออกลูก
 3. ต้นที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งมีอยู่  30% กลับออกลูกทั้งปีไม่เคยขาดคอ
 ทำให้ผลผลิตปาล์มสวนที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพซึ่งมีผลผลิตสูงขึ้นจากเดิมที่เคยตัดได้  2-3  ตัน ต่อ 1 ไร่  ต่อ 1 ปี   กลับตัดได้มากกว่า 8 ตัน  ต่อ 1 ไร่ ต่อ 1 ปี
 2. ยางพารา  ก็เช่นเดียวกันส่วนใหญ่ประเทศมาเลเซียและทางใต้ของไทยโค่นทิ้ง  หันมาปลูกปาล์มกันเป็นจำนวนมากปัญหายางที่ต้องโค่นทิ้งก็คือ
  1. เปอร์เซ็นต์น้ำยางต่ำ 
  2. น้ำยางออกน้อย
  3. ยางมีปัญหาหน้าตายเป็นจำนวนมาก
  4. เป็นโรคต่าง ๆ มากมาย
  5. หน้ายางแข็งกระด้างกรีดยาก
 แต่เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้มีผลดีดังนี้
  1. เปอร์เซ็นต์น้ำยางปกติวัดได้  32%  จะเพิ่มขึ้นเป็น 42-44%
  2. สวนยางที่ให้ผลผลิตต่ำ 100-150  ก.ก./ไร่/ปี เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้จะได้ผลผลิตเป็น 300-500 ก.ก./ไร่/ปี
  3. หน้ายางที่ตายนึ่งกรีดแล้วไม่มีน้ำยางออก เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้หลังจากนั้น 40 วัน ไปกรีดใหม่มีน้ำยางออกมาปกติ
  4. ปกติยางจะเป็นโรครากขาว ใบร่วง รอยที่กรีดจะเป็นปุ่ม ๆ หน้าไม่เรียบ จะหายหลังจากนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้จะไม่เกิดโรคชนิดต่าง ๆ เลย
  5. ปกติหน้ายางจะแข็งกระด้าง  หลังจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ หน้ายางจะนิ่มกรีดง่าย  เกษตรกรสามารถพิสูจน์โดยนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปทดลองหว่านได้เลย  15-20  วัน  หน้ายางก็จะนิ่มกรีดง่าย
  6. เมืองไทยได้ทดลองเอายางต้นแก่ซึ่งมีอายุ  25 ปี จะโค่นทิ้ง นำไม้ไปทำเฟอร์นิเจอร์ แต่ได้ทดลองนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้  ตอนนี้ต้นยางที่ทดลองอายุ 35  ปีแล้ว  น้ำยางกลับออกดีเปลี่ยนจากถ้วยมาเป็นถังรองรับน้ำยาง  ต้นไหนหน้ายางที่กรีดหมด  ต้นจะลอกออกมีหน้ายางใหม่เกิดขึ้นมาแทน 
 3. ข้าว  ก็มีปัญหามากมาย  ปกติผลผลิตได้ 400-500  ก.ก. ต่อ 1 ไร่  หลังจากนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้  จะทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นเป็น  800-1,500 ก.ก.  ต่อ  1  ไร่  ปัญหาหอยเชอร์รี่ก็น้อยลง  ต้นข้าวไม่ล้ม  ทำให้เกี่ยวง่าย  พวกโรคและแมลงไม่เข้าทำลายเลย
 4.พืช ผัก พืชไร่  เมื่อนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ 1 ไร่ ไปใช้แล้วทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น  200-300%
 5.ไม้ยืนต้น  เช่น  กาแฟ  ผลผลิตเพิ่มขึ้น  300%
 6.ไม้ดอกไม้ประดับ  ผลผลิตก็เพิ่มขึ้นเป็น  200-300%
 7.ผลไม้  หากนำไปใช้จะทำให้ผลผลิตออกก่อนฤดู  รสชาติหอมหวาน ไม่มีแมลงและเชื้อโรคเข้ารบกวน
 8. อ้อย เมื่อก่อนเบิกป่าใหม่ ๆ ปลูกอ้อยได้  30 ตัน ต่อ 1 ไร่ ปัจจุบันได้ 8-10 ตัน ต่อ 1 ไร่  หลังจากนำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้  ก็ทำให้ผลผลิตสูงเท่าเดิม คือ 30-40 ตัน ต่อ 1 ไร่
 9. มันสำปะหลัง ก็เช่นเดียวกัน  เบิกป่าใหม่ ๆ เกษตรกรไทยปลูกได้ 12 ตัน ต่อ 1 ไร่  ปัจจุบันลดเหลือ  3-5  ตัน ต่อ 1 ไร่  หลังจากนำ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพไปใช้ก็เพิ่มขึ้นเป็น  16 - 25  ตัน ต่อ 1  ไร่

หมายเลขบันทึก: 395708เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท