รายละเอียด ของเกษตรตัวอย่าง (2)


คุณชัยพร  พงษ์พันธ์  เรียนจบชั้นประถม 4 คุณพ่อมีอาชีพทำนา ตอนเด็กก็ช่วยพ่อทำนาอยู่บ้างแต่ก็ หลังจากออกจากโรงเรียนก็ไปอยู่อู่ซ่อมรถยนต์เพื่อจะได้มีรายได้ช่วยครอบครัวและเรียนรู้เรื่องเครื่องยนต์ไปในตัวด้วย แต่สุดท้ายก็ต้องกลับมาช่วยพ่อทำนาอีกเพราะไม่มีใครทำซึ่งตอนนั้นก็ทำแบบที่เขาทำกันทั่วไปที่ใช้สารเคมีก็ได้ข้าวประมาณ 13 เกวียนซึ่งก็แทบขาดทุนเพราะได้น้อยมากพอทำแล้วแต่ก็ยังไม่มีทางออก จึงไปติดต่อเกษตรตำบลเพื่อว่าเขาจะมีการอบรมหรือว่ามีข้อแนะนำอะไรใหม่ๆและก็ขอหนังสือหรืออื่นๆ เพื่อเอามาศึกษา  และก็ไปตามร้านขายสารเคมีเพื่อขอหนังสือเขามา และเวลาไปนาก็นำหนังสือนั้นไปด้วยไปเทียบกับใบข้าวเลยเวลาที่ข้าวเป็นอะไรและก็ใช้แบบนั้น ปรากฏว่าทำแบบนั้นไม่มีกำไรและคอยจะขาดทุนและอีกอย่างก็ทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง และก็มาน้ำท่วมก็ไม่ได้ทำ ก็ต้องกินเงินเก่าหมด ทำอย่างนั้นอยู่ 6 ปี ซึ่งตอนนั้นนาไร่ละ 3000-5000 บาทไม่มีเงินซื้อ ก็ผ่านไปก็เช่านาเขาทำ  ทีนี้อาจารย์เดชา ศิริพัตร์ ซึ่งเป็นคนรวยอยู่บ้านรั้วติดกันก็มาแนะนำให้พ่อ ซึ่งบ้านพ่ออยู่ข้างโรงสีให้ใช้สมุนไพรแต่พ่อเป็นผู้ใหญ่บ้านก็ไม่ได้ทำผมต้องไปทำให้หว่านข้าวจนถึงเก็บเกี่ยวเวลาฉีดยาก็เอาสมุนไพรมาให้ฉีดโดยพ่อทำและผมฉีดทำกับพ่ออยู่ 2 ปีก็ว่าดีในสายตาผมก็เลยมาทำบ้างกับที่นา 8 ไร่ที่มีตอนนั้น และก็ได้ใช้สมุนไพรสูตรอาจารย์เดชา  แต่ว่าเคยใช้สารเคมีอย่างแรงๆ ผมก็จะปรับจากอาจารย์เดชาจากสะเดาอัตรา 1 kg/ น้ำ10 ลิตร แต่คุณชัยพรคิดว่าอ่อนไปเพราะความเคยชินกับการใช้สารเคมีจึงใช้อัตรา 7 กกต่อน้ำ 25ลิตร ซึ่งแรงกว่าอีก 2-3 เท่าปรากฏว่าช่วงที่ทดลองใช้ครั้งแรกก็ได้เกี่ยวข้าวในขณะที่แปลงอื่นๆรอบประมาณ 200 กว่าไร่ ที่ใช้สารเคมีไม่ได้เกี่ยวเพราะเพลี้ยลง นั่นเป็นจุดเริ่มต้นในการใช้สารสมุนไพร บวกกับว่าดีก็เลยทดลองทำมาเรื่อยๆ ก็ทำทั้งแบบที่ใช้สารเคมีร่วม และใช้สมุนไพรเดี่ยวๆ แต่ปกติก็ทำได้แค่ครั้งเดียวและเขาก็ยืมนาเขาทำสมัยนั้นยังไม่มีนา  ความที่ว่ามันไม่ดี และเขาก็ใช้สมุนไพรตลอด พอหว่านไปได้สักประมาณเกือบเดือนข้าวของเพื่อนบ้านเพลี้ยลงเต็มเขาก็บอกว่าเขายอมและไม่ทำอะไรเลยเขายอมที่จะไถนาคืนเจ้าของที่เพราะการยืมนาทำมีข้อตกลงว่าพอทำนาเสร็จแล้วก่อนน้ำท่วมก็จะไถให้เป็นการทดแทนเจ้าของก็ไม่ต้องไถ เขาก็ใช้สมุนไพรตลอดแต่ของเพื่อนบ้านที่เสียเวลาฝนตกก็กลับมาเขียวพอข้าวตั้งท้องเขาก็วิดน้ำเข้าข้าวเขาก็ออกรวงก่อนเราอีกทั้งที่เป็นพันธุ์เดียวกันคือ กข25 และคุณชัยพรก็บอกว่าคราวหน้าจะเอาบ้างคือทำแบบทิ้งและก็ได้เกี่ยวเหมือนกัน และมีอีกบ้านหนึ่งมีลูกมากการทำนาอย่างเดียวไม่พอก็ไปรับจ้างงานช่างไม้ด้วย ก็จะมาให้น้ำบ้างพอคนอื่นเขาเพลี้ยลงและคนอื่นๆเสียเขาก็ไม่เสียด้วยเพราะว่า พอช่วงที่หว่านข้าวตอนปีนั้นมีเพลี้ยลงและก็ไม่มีน้ำด้วยก็ใช้แค่สมุนไพรฉีดพ่นอย่างเดียวแต่พอฝนตกมาข้าวก็เขียวเช่นเดิมก็ได้เกี่ยวได้ และมีแปลงที่ใกล้กันเขาปลูกแล้วก็ไปรับจ้างนานจะมาขึ้นน้ำบ้างไม่ได้ดูแลอะไรทั้งปุ๋ยและยาก็ไม่ให้แต่ก็ยังได้เกี่ยว ก็เลยนึกย้อนไปเมื่อตอนสมัยโบราณไม่ได้มีสารเคมีเลยแต่ก็ยังอยู่ได้ แต่เราต้องดีกว่าเพราะเรายังมีสมุนไพรใช้ก็ต้องการเลียนแบบสมัยโบราณ ต่อมาก็มีชาวนาใกล้เคียงที่ทราบข่าวก็ต้องการทำบ้างซึ่งตอนนั้นที่ทำก็ประมาณ 52 คนที่คิดใช้สมุนไพรแต่แค่ปีเดียวเพราะใช้ไม่ถูกวิธี เพราะบางคนใช้สารเคมีจนเอาไม่อยู่แล้วถึงได้มาใช้สมุนไพร และบางคนก็ใช้คู่กัน ซึ่งจริงแล้วการใช้สมุนไพร ต้องมีตัวห้ำตัวเบียนช่วยด้วยไม่ใช่สมุนไพรอย่างเดียว จะสามารถช่วยควบคุมแมลงได้ สมัยนั้นชาวนาไม่มีใครส่งลูกเรียนได้จะได้ต้องมีที่นา 40-50 ไร่ เพื่อขายส่งลูกเรียน เขาจึงสมัครเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเพื่อสามารถเบิกค่าเล่าเรียนให้ลูกได้ แต่ทำมา 2-3 ปีก็ลาออกเพราะไม่สามารถทำนาของตนได้เต็มที่ และก็ทำสมุนไพรใช้เองก็รู้ที่มาที่ไปของเงินและเห็นแล้วว่าทำแบบนี้จะมีเงินเหลือมากจึงคิดว่าทำนาอย่างเดียวก็สามารถส่งลูกเรียนได้แล้ว และตอนนั้นก็มีการทำปุ๋ยหมักใช้ด้วย ที่มาของการทำปุ๋ยหมักก็คือเป็นการการรณรงค์ของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่เกษตรกรรับไม่ได้เนื่องจากว่าแนะนำให้หว่านไร่ละตัน เกษตรกรขนไม่ไหวเพราะไม่มีรถด้วยก็เลยไม่ประสบผลสำเร็จ แต่ก็ได้แนวคิดจากตรงนั้นมาด้วยดังนั้น พอทำนาครั้งแรกพอเกี่ยวเสร็จจะมีปัญหาเรื่องฟางและใช้วิธีจุดฟางกัน พออยู่มาปีหนึ่งฝนตกมากจุดไฟเผาฟางไม่ได้ก็จะเป็นเหตุให้การทำนาล่าช้าไปอีกเป็นเดือน  แต่ผมรอไม่ไหวเพราะน้ำจะท่วม ก็ใช้วิชาช่างตอนเด็กมาคิดดัดแปลงผานไถให้ไถกลบฟางได้  แต่ปัญหาก็คือเมื่อขึ้นน้ำข้าวเกิดอาการเหลืองหลังจากที่หว่านไป 25 วันเพราะแก็สฟางเน่าอยู่ในดินและเอาน้ำแช่ไว้ตลอด พอสังเกตดูบริเวณที่ดอนน้ำแห้งก่อนข้าวก็เขียว และดินแตกระแหงมีแก็สระเหยขึ้นมาที่ผิวดินเป็นแผ่นเลยต้องรออากาศร้อนจัดเพื่อให้น้ำระเหยไปแต่ก็แก้ปัญหาก็คือปล่อยน้ำแห้งเลยดังนั้นข้าวก็เขียวตอนนั้นก็เริ่มดังแล้วพอไถกลบฟางข้าวได้ตอนปี 2537 แขกเข้ามามาเลยทีวีมาถ่ายทำไม่ต้องบอกเลยว่าเราแค่ไหนเพราะจะเขียวตลอดเลยตามรูปนาเลยนาเลี้ยวก็เลี้ยวนั่นเป็นที่มาของการลดปุ๋ย พอทำนาแรกแล้วก็ไถกลบฟางไว้โดย 1 เอาฟางของเราที่ได้นะไร่เป็นตันและเอาขี้ไถกลบไว้ และขี้ไถจะมีช่องว่างอยู่แต่ก็มีเพื่อนบ้านที่ไม่ไถ และเวลาน้ำท่วมจะท่วมประมาณ 3 เดือนฟางก็จะย่อยสลายเป็นตะกอนเป็นฟางที่ย่อยแล้วและลมพัดมากลูกคลื่นก็แรงก็นำตะกอนฟางของนาเพื่อนบ้านที่พื้นที่จะเรียบๆ ลูกคลื่นก็มาเรื่อยๆแต่เวลามาถึงเราจะมาอยู่กับเราหมดเพราะเรามีช่องว่างอยู่ก็จะมาตกที่เราหมดดังนั้นหว่านข้าวฤดูแรกในเวลา 1 เดือนก็เลยไม่ต้องใส่ปุ๋ย และถ้าใส่ปุ๋ยมากก็งามเกินก็จะทำให้หนอนชอบก็ทำให้เสียหาย ฤดูที่ผ่านมาแปลงใกล้บ้านอาจารย์เดชานา 11 ไร่ได้ข้าว 11 เกวียน 35 ถังเพราะว่าฟดูที่ไม่ฉีดเป็นการเปรียบเทียบเพราะเกิดอุบัติเหตุทำงานไม่ได้ก็ไม่ได้ฉีดอะไรเลย แม่บ้านก็ไปขึ้นน้ำอย่างเดียว ก็ได้ข้าวฤดูแรก ที่ฉีดสมุนไพร 1 ครั้งช่วงแรกก่อนอุบัติเหตุหลังจากนั้นข้าวตั้งท้องไม่ได้ฉีดอะไรเลยได้ข้าว  97 เกวียนปกติที่ 102 ไร่แต่ฤดูที่ 2 ตอนขาเจ็บไม่ได้ทำอะไรเลยได้ 87 เกวียนก็หายไป 10 เกวียนแต่ก็มีข้ออ้างจากกลุ่มคนใช้สารเคมีว่าเพราะไม่มีการระบาดมากกว่า และก็ทดลองอีกโดยที่ไม่ฉีดอะไรเลยก็ได้ 97 เกวียนไม่ฉีดอะไรเลย ตอนที่ฉีดฮอร์โมนช่วงข้าวตั้งท้องเคยได้ 103 เกวียน ทดลองอีกปีเดียวก็จะฉีดฮอร์โมนโดยใช้ฮอร์โมนทำเองโดยใช้ ฮอร์โมนนมสดช่วงข้าวอายุที่ 18 วัน ฉีดสมุน ถ้าจะทำให้ดีก็ใช้สมุนไพรฉีด โดยหมักสมุนไพรหมักใส่ถังโดยใช้สะเดา หัวกลอย หางไหล บอระเพ็ด กำจัดแมลง และบวกกับฮอร์โมนนมสดจะทำให้ข้าวแตกกอ ต้องใช้ร่วมกับเวลาเราต้องกราดน้ำ น้ำจะประยุกต์ทำแบบปล่อย โดยหลังจาก 25 วันไปแล้วจะปล่อยน้ำแห้งแล้วข้าวจะปรับตัวจะหยั่งรากลงลึกกอจะแบะเพราะขาดน้ำ ก็จะเริ่มวิดน้ำเป็นบางระยะพอข้าวก็จะเริ่มขาวๆ ข้าวเริ่มเหี่ยวก็จะวิดน้ำใส่ ข้าวก็จะกระตือรือร้น ก็จะแตกกอ ออกข้างๆ ก็จะแตกดีมาก บวกกับเราจะฉีดฮอร์โมนนมสดเข้าไปด้วย โดยใช้นมสดพาสเจอร์ไลด์โดยจะไปซื้อตอนที่นมลดราคาลดเนื่องจากนมใกล้ๆหมดอายุ ซึ่งปกติลดต้นทุนได้ซึ่งปกติจะอยู่ที่ราคา 155-175 ถ้าใกล้ๆหมดอายุจะอยู่ที่ราคา 75 บาทเท่านั้นโดยจุลินทรีย์ จะใช้จุลินทรีย์ จากนมเปรี้ยวบีทาเก้นท์มาใส่ ถ้าไม่ใช่บีทาเก้นท์ จะขยายเชื้อไม่ค่อยออก แต่ก่อนใช้ยาคูล จะใช้เวลาหมักนานเป็นเดือน แต่ถ้าเป็นบีทาเก้นท์จะเร็วอย่างเช่นเมื่อ  2 วันที่แล้วหมักให้ทีวีบูรพาดูตอนนี้เริ่มหอมแล้วแต่ยังใช้ไม่ได้ วิธีการคือใช้ นมสด 5 ลิตร กากน้ำตาล 3 kg และลูกแป้งข้าวหมาก 1 ลูก นมเปรี้ยวบีทาเก้นท์ 1 ขวดขนาด 10 บาท ซึ่งต้องสังเกตจากข้างขวดว่ามีจุลินทรีย์ก็ใช้ได้ หมักไว้ 2 สัปดาห์ ซึ่งจะใช้ได้ แต่ถ้จะให้ดีไม่มีเชื้อราเลยจะต้องเป็นเวลา 1 เดือน นั่นหมายถึงว่าเวลาเริ่มมีการดำนาต้องทำยาก่อนหมายถึงเริ่มทำนา ต้องมีการวางแผนก่อน และต้องไม่ทำเป็นผู้จัดการนา ถึงจะมีกำไร ถ้าไม่ทำดังกล่าวคือ จะเจ็งหมด ผู้จัดการนาหมายถึงคือการทำนามีที่และมีโทรศัพท์มือถือ เวลาตีดิน ฉีดยาคลุม หว่านข้าวที เอารถมาเกี่ยวให้ทีก็เรียบร้อย ยกตัวอย่างเช่นเวลาตีดินและทำเทือกเพื่อหว่านค่าจ้าง 600 บาท ก็น้ำขาวๆก็วิ่งเลยน้ำบานเลยเขาบอกเสร็จก็เสร็จ เจ้าของก็ไปหว่านข้าวปรากฏว่าไม่ได้ประณีต อะไรเลยบางทียังย่ำไม่ทั่วเลยรถวิ่งข้ามไปเลยเว้นเป็นที่ๆไป ดินเป็นดิบๆคือดินเป็นก้อนๆ พอหว่านข้าวไปเปิดน้ำแห้ง 3 วันดินก็แตกหัวระแหงก็ทำให้หญ้าขึ้นแล้ว แต่ของเราทำเองประณีต จะหล่มเป็นกะทิเลย หล่มเป็นกะทิเนี่ยพอหว่านข้าวไปแล้วปล่อยน้ำแห้งเป็นอาทิตย์ดินก็ยังไม่แห้งเลยก็ทำให้หญ้า
หมายเลขบันทึก: 395675เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท