ขลุ่ยเพียงออ


ดนตรีไทย
                           เจ็ดวันเว้นดีดซ้อม          ดนตรี     
                          อักขระห้าวันหนี             เนิ่นช้า
                         สามวันจากนารี             เป็นอื่น
                        วันหนึ่งเว้นล้างหน้า        อับเศร้า  หมองศรี

..............

          ดนตรีไทยเป็นวิชาที่เน้นกิจกรรมภาคปฏิบัติ และการเป่าขลุ่ยเพียงออก็เป็นอีกหนึ่งความรู้ที่ข้าพเจ้าได้สอนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเริ่มต้นข้าพเจ้าจะให้ลูกศิษย์ผู้น่ารักทุกคนได้รู้จักขลุ่ยไทย ทั้ง ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ และขลุ่ยหลีบซึ่งขลุ่ยแต่ละชนิดมีขนาดและระบบเสียงที่แตกต่างกัน

 

 

จากนั้นเราก็จะมารู้จักส่วนต่างๆ ของขลุ่ย

 

เมื่อเรารู้จักส่วนต่างๆ ของขลุ่ยแล้วเราก็มาเรียนรู้วิธีการเป่าขลุ่ยและระบบเสียงของขลุ่ยเพียงออกันเลย

เทคนิคการเป่าขลุ่ย

           การที่เราจะเป่าขลุ่ยให้ไพเราะนั้น ย่อมมีเทคนิคต่างๆกันเช่น การเปาให้มีเสียงสั่น เสียงเอื้อน เสียงรัว หรือมีเสียงควงประกอบด้วยเป็นต้น การเป่าให้ได้เสียงที่กล่าวไว้นั้น ต้องอาศัยการหมั่นฝึกฝน โดยมีวิธีการหลายอย่างดังนี้

1.การเป่าเสียงสั่น ต้องบังคับลมให้ออกมาเป็นช่วงๆ ให้ลมทยอยออกมาถี่ๆ หรือห่างๆตามต้องการที่จะทำให้เกิดเสียงคล้ายคลื่นตามอารมณ์ของเพลง

2.การเป่าเสียงรัว หรือการพรมนิ้วทำได้โดยใช้นิ้วเปิดปิดสลับกันถี่ๆ ใช้สอดแทรกเพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น

3.การเป่าเสียงเอื้อน คือการใช้นิ้วค่อยๆเปิดบังคับลมให้เสียงขลุ่ยโรยจากหนักไปเบาหรือจากเบาไปหนักที่เสียงใดเสียงหนึ่ง

4.เสียงโหยหวน หวน ใช้ลมและนิ้วบังคับเพื่อให้เสียงต่อเนื่องระหว่างสองเสียง เช่นเสียงคู่สาม คู่ห้า ซึ่งเป็นเสียงที่มีความกลมกลืนกันมากเท่ากับเสียงโดกับเสียงซอล เป็นต้น

5.การหยุด หรือ การชะงักลม การเป่าขลุ่ยบางจังหวะควรมีการหยุด การเบา การเน้นเสียงบ้าง เพื่อให้เพลงเกิดความไพเราะมากขึ้น

6.เสียงเลียน หรือ เสียงควง คือการทำเสียงโดยใช้นิ้วต่างกันแต่ได้เสียงเดียวกัน ใช้เมื่อทำนองเพลงช่วงนั้นยาว ทำได้โดยการเป่าเสียงตรงก่อนแล้วจึงเป่าเสียงเลียนและกลับมาเป่าเสียงตรงเมื่อหมดจังหวะ

 แล้วมาต่อเพลงกันในชั่วโมงหน้านะค่ะ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ขลุ่ยเพียงออ
หมายเลขบันทึก: 395517เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ได้ความรู้เพิ่มเติมมากค่ะ ไม่คิดว่าขลุ่ยก็มีหลายชนิดเหมือนกันให้ความไพเราะต่างกัน

เคยเรียนนะ แต่ไม่มีแรงเป่า อิอิ

เสียงขลุ่ย ฟังที่ไร เศร้าทุกที เฮ้อ!

เพิ่งจะรู้ว่าขลุ่ยมีหลายประเภท

แต่ว่าประเภทไหนๆก็เพราะจนยอมศิโรราบ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท