การปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน


ความหมายของการปรับพฤติกรรม

      

     ประเทือง ภูมิภัทราคม (2540) ได้ให้ความหมายของการปรับพฤติกรรม หมายถึง การประยุกต์หลักการพฤติกรรม หรือ หลักการเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขพฤติกรรมโดยเน้นที่พฤติกรรมที่สามารถ สังเกตเห็นได้หรือวัดได้ เป็นสำคัญและมีความเชื่อพื้นฐานว่า พฤติกรรมปกติ และไม่ปกติ พัฒนามาจากหลักการเรียนรู้

        Mikulas (1978) ให้ความหมายของการปรับพฤติกรรมไว้ว่า การปรับพฤติกรรม คือ การประยุกต์หลักการพฤติกรรมที่ได้จากการทดลองเพื่อแก้ปัญหาพฤติกรรม

        ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) หมายถึง การนำเอาหลักการแห่งพฤติกรรม (Behavior Principles) ประยุกต์ใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างเป็นระบบโดยเน้นที่พฤติกรรมที่สามารถสังเกต และวัดได้เป็นสำคัญ

ขั้นตอนของการปรับพฤติกรรม

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (2541) ได้กล่าวถึงขั้นตอนในการดำเนินการจัดการวางเงื่อนไขการกระทำตามแบบการวิเคราะห์พฤติกรรมว่ามีอยู่ 6 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้

1. การกำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย (Defining the Target Behavior) โดยจะต้องกำหนดให้เฉพาะเจาะจง สังเกตได้ และวัดได้ แต่ไม่อยู่ในรูปแบบของการตีตรา หรือบอกถึงลักษณะของบุคลิกภาพมากกว่าเป้าหมาย

2. การรวบรวมและบันทึกข้อมูลเส้นฐาน (Collecting and Recording Baseline Data) คือ การเก็บรวบรวมและบันทึกข้อมูลเส้นฐาน ทำให้แน่ใจว่าพฤติกรรมเป้าหมายนั้นเป็นปัญหาจริงเพื่อประเมินโปรแกรมการปรับพฤติกรรม และเป็นข้อมูลป้อนกลับ และช่วยให้การปรับพฤติกรรมมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. การวิเคราะห์พฤติกรรม (Behavior Analysis)

4. การกำหนดสิ่งที่มีศักยภาพเป็นตัวเสริมแรง (Identifying Potential Reinforces) ซึ่งจะต้องระลึกเสมอว่าคนเราทุกคนแตกต่างกันความต้องการก็ย่อมแตกต่างกัน

5. วางแผนและดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขผลกรรม (Planning and Implementing the Intervention) การวางแผนจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของพฤติกรรมเป้าหมายที่กำหนด

6. ประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินการปรับพฤติกรรม (Evaluating the Effects of Intervention) เป็นการรวบรวมข้อมูลภายหลังจากการดำเนินการปรับพฤติกรรมแล้ว

 วิธีปรับพฤติกรรม 

การปรับพฤติกรรมมีหลายวิธี ขอยกตัวอย่างการปรับพฤติกรรมเพื่อเป็นตัวอย่างเพียง 10 วิธี ดังต่อไปนี้

1. แรงเสริมเชิงบวก (Positive Reinforcement)

แรงเสริมเชิงบวก หมายถึง ขบวนการที่ส่งเสริมพฤติกรรมของเด็ก เพื่อให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประงสงค์ซ้ำอีก เมื่อได้รับคำชมเชย หรือรางวัล เช่นเมื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดสำเร็จ ครูควรพูดว่าเก่ง ดี วิเศษ เยี่ยม เป็นต้น อุปกรณ์เสริมแรงที่เป็นสิ่งของอาจได้แก่ อาหารหรือขนม ของเล่น การให้เสริมแรงควรให้สม่ำเสมอในตอนแรกเมื่อพฤติกรรมเริ่มคงที่แล้วควรลดเสริมแรงลงและให้แรงเสริมเป็นครั้งคราวเท่านั้นเมื่อพฤติกรรมคงที่แล้ว

2. แรงเสริมเชิงลบ (Negative Reinfocement)

แรงเสริมเชิงลบ หมายถึง ขบวนการที่ส่งเสริมพฤติกรรมของเด็ก เพื่อให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ซ้ำอีก เด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อต้องการหลีกเลี่ยงสภาวะที่เด็กไม่พึงพอใจ ตัวอย่างเช่น ครูบอกนักเรียนว่า "แบบฝึกหัดคณิตศาสตร์มี 2 ตอน หากใครทำตอนแรกถูกหมด ก็ไม่ต้องทำแบบฝึกหัดตอนที่ 2 " นักเรียนจึงตั้งใจทำแบบฝึกหัดตอนแรกถูกหมด และทำอย่างดีให้คำตอบถูกหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการทำแบบฝึกหัดตอนที่ 2 ดังนั้น แบบฝึกหัดตอนที่ 2 เป็นแรงเสริมเชิงลบเพราะเป็นสิ่งที่เด็กหลีกเลี่ยง แต่แบบฝึกหัดตอนที่ 2 นี้ ทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์

3. การหยุดยั้ง (Extinction)

เป็นการงดให้รางวัล งดให้ความสนใจต่อพฤติกรรมของเด็ก ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ครูควรให้แรงเสริมแก่พฤติกรรมที่พึงประสงค์ควบคู่ไปด้วย เช่นเมื่อเด็กลุกจากที่นั่ง ครูแสดงอาการไม่สนใจ แต่เมื่อเด็กนั่งเรียบร้อยครูจะชม เป็นต้น การเพิกเฉยของครู หรือผู้ปกครองเหมาะสำหรับพฤติกรรมที่ไม่รุนแรงเท่านั้น วิธีนี้ไม่เมหาะสำหรับพฤติกรรมที่รุนแรง เช่นการชกต่อย ซึ่งครูหรือผู้ปกครองควรหยุดพฤติกรรมนั้นทันที

4. เหรียญรางวัล (Token Economy)

เหรียญรางวัล เป็นการสะสมเหรียญหรือคะแนนเพื่อให้เด็กมีสิทธิ์ได้รับรางวัลอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทำกิจกรรมที่เด็กชอบ โดยครูกำหนดคะแนนหรือเหรียญเป็นระดับต่างๆ แต่ละระดับมีรางวัลแตกต่างกัน เช่น ครูจะให้ 1 คะแนนแก่เด็กทุกครั้งที่ทำงานเสร็จภายในเวลาที่กำหนดให้ และให้อีก 1 คะแนนหากเด็กไม่ลุกออกจากที่นั่งในเวลาที่กำหนดไว้ ถ้าใครสะสมคะแนนได้ 10 คะแนนครูจะมีรางวัลให้เป็นรูปลอก 1 แผ่น สะสมได้ 20 คะแนน ได้สมุด 1 เล่ม เป็นต้น การให้รางวัลควรจัดตามระดับความสำคัญของรางวัล การให้คะแนนควรให้สำหรับพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้

5. Overcorrection

เป็นการแก้ไขผลการกระทำของเด็กและแก้ไขในปริมาณที่มากกว่าเดิม เช่นเด็กคนหนึ่งคว่ำโต๊ะเรียนในห้องเรียน จนโต๊ะระเกะระกะเต็มไปหมด ครูจึงสั่งให้เด็กจัดโต๊ะให้เป็นระเบียบเหมือนเดิม ยิ่งไปกว่านั้น ครูยังให้นักเรียนคนนี้ ทำความสะอาดโต๊ะทุกตัวด้วย จะเห็นว่าเทคนิคการปรับพฤติกรรมนี้มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกคือ เด็กจะต้องแก้ไขผลการกระทำของตนเสียก่อน ส่วนขั้นที่ 2 เป็นการให้เด็กทำสิ่งที่ดีแต่เด็กไม่ชอบ การให้เด็กทำเช่นนี้เป็นการลงโทษสถานเบา

 6. Timeout

เป็นการงดให้รางวัลในช่วงเวลาจำกัด เช่นนักเรียนที่คุยกันจะถูกตัดสิทธิ์ไม่ให้เล่นเกมคอมพิวเตอร์ในชั่วโมงคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เด็กที่ร้องให้ไม่หยุดอาจถูกส่งเข้าไปกักขังไว้ในห้องนอนเป็นเวลา 5 นาที หรือจนกว่าเด็กจะหยุดร้องให้ เป็นต้น การงดให้รางวัลควรทำให้เหมาะสม ควรงดในสิ่งที่เด็กชอบและไม่งดนานจนเกินไป

7. การทำสัญญากับเด็ก (Behavioral contract)

เป็นการเซ็นสัญญาระหว่างครูกับนักเรียน ในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น นักเรียนสัญญากับครูว่าจะไม่ขโมยของเพื่อนอีก ตลอดระยะเวลา 2 เดือน เป็นต้น สิ่งที่จะให้เด็กทำสัญญาควรเป็นสิ่งที่เด็กสามารถทำได้ ระยะเวลาในสัญญาไม่ควรนานเกินกว่าที่เด็กจะทำได้มีการตรวจสอบตลอดเวลาว่าเด็กปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่หากผิดสัญญาควรมีการลงโทษ หากปฏิบัติตามสัญาครบถ้วน ควรให้รางวัลแก่เด็ก

8. การลงโทษ (Punishment)

เป็นขบวนการในการจัดกิจกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เด็กแสดงออกและไม่ให้เด็กแสดงพฤติกรรมเช่นนี้อีกในอนาคต การลงโทษอาจเป็นการลงโทษด้วยวาจา เช่น การตำหนิ หรือการลงโทษทางกาย เช่นการตี ครูควรพึงระวังว่าการลงโทษคือการหยุดพฤติกรรมไม่ใช่เป็นการเสริมพฤติกรรม หากลงโทษแล้วเด็กยังแสดงพฤติกรรมดังเดิมอีกแสดงว่าการลงโทษเป็นการปรับพฤติกรรมที่ไม่มีประสิทธิภาพสำหรับเด็กคนนั้น

9. การหล่อหลอมพฤติกรรม (Shaping)

เป็นการเลือกให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรมที่พึงประสงค์เท่านั้น เช่น ในห้องเรียนครูชมเด็กที่ตั้งใจฟังครูส่วนเด็กที่คุยกันนั้น ครูไม่ตำหนิ แต่ครูจะแสดงอาการไม่สนใจ การเลือกชมเฉพาะพฤติกรรมที่พึงประสงค์ จะช่วยให้เด็กแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีก

ครูหรือผู้ปกครองควรเป็นตัวอย่างที่ดี เด็กอาจยึดครูหรือผู้ปกครองเป็นแบบอย่างในลหลายด้านในการปรับพฤติกรรม หากครูหรือผู้ปกครองไม่สามารถเป็นแบบอย่างได้ อาจใช้นักเรียนเป็นแบบอย่างได้ เช่น ตัวอย่างของการพูดไพเราะ ความขยันหมั่นเพียรการมีสัมมาคาราวะต่อครู การรับผิดชอบในสิ่งที่ครูมอบหมายให้ เป็นต้น

 

**ดังนั้นการที่ครูเข้าใจในการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียนของเด็กเป็นอย่างดีแล้ว

จะทำให้เราเข้าใจในตัวเด็กและสามารถควบคุมชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี

มะเหมี่ยวหวังเป็นอย่างยิ่งนะคะ....ว่าเพื่อนๆ...พี่..และน้องจะสามารถนำความรู้นี้ไปประยุกต์ใช้ได้

หมายเลขบันทึก: 395511เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

ดีจริงๆครับสำหรับข้อมูลจะนำไปใช้ประโยชน์

ข้อมูลดีมากๆเลยค่ะ นำไปใช้ประโยคได้ดีกับครูทุกๆคนที่มีปัญหาในชั้นเรียนและการเรียนการสอนค่ะ

เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านจริงๆค่ะ....สามารถนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้กับนักเรียนได้

จะนำไปใช้ประโยชน์กับตัวเอง นะคะ...

ดีมากเลยค่ะจะได้นำไปปรับใช้ในการเรียนการสอน

พฤติกรรมนี้ถ้านำไปใช้จะได้ประโยชน์มากๆ ขอบอก

ข้อมูลดีจังค่ะ เหมาะสำหรับเอาไปใช้กับเด็กๆ

จะเอาไปทำไรดีเนี่ย

ดีมากค่ะ จะได้นำไปใช้บ้าง

ข้อมูลเหมาะกับอาชีพครูเลยค่ะ

ต้องนำไปประยุกต์ใช้บ้างเเล้ว

นำไปใช้ได้นะเนี่ย ขอบคุณค่ะ

เป็นเทคนิคที่ดีมากๆค่า

ขอบคุณมากๆนะคะ

แล้วคราวหน้าจะหาประโยชน์มาให้อีกนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท