ทรง(หวานใจ)
ทรงศักดิ์ ทรง(หวานใจ) ชวดรัมย์

ประวัติกลองยาว


          กลองยาวเป็นเครื่องดนตรี สำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง

          ประวัติกลองยาว
           เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่น "กลองยาว" กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จำแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ และเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า "เถิดเทิง" หรือ "เทิงกลองยาว" ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่า เรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว
คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 395494เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤษภาคม 2012 22:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ได้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยมากค่ะ

กลองก็เป็นอีกนึงดนตรีที่ให้ความสนุกสนาน

ชอบค่ะ

นึกถึงสมัยก่อนตอนเด็กๆเลย

ได้ยินกลองยาวประจำ

อนุรกษ์ไว้อ่ะ จะได้ไม่ลืมกัน

แต่ละโรงเรียนยังอนุรักษ์ไว้ อย่าปล่อยให้วัฒนธรรมไทยสูญหายไปนะ

เอากลองยาว

ไปซ้อมที่โรงเรียน

เป็นดนตรีที่น่าอนุรักษ์มากๆ

เพิ่งรู้ประวัตินะคะเนี่ย อยากตีเป็นจัง

อยากแดนส์เลยอะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท