Story telling กับข้อมูลที่ "ลึก" และ "ลอย..."


แต่ในวันนี้ที่มีบล็อค ประเทศไทยกำลังมีการดำเนินการจัดการ Story telling ครั้งใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญเป็นข้อมูลที่ "ลึก" และ "ลอย"

ขออนุญาตยกตัวอย่างท่านชยพรอย่างสืบเนื่อง เข้าไปเชื่อมโยงถึงวงการกล้วยไม้ในประเทศไทย

 

ที่มาจากบันทึก มาสนับสนุนการบันทึกนะครับ และ อิสรภาพแห่งการเรียนรู้ : ความพอใจที่ได้ "บันทึก"

 

 

ช่วงก่อนที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และได้สัมผัสกับ "คนกล้วยไม้" หลายท่าน ก็ได้ทราบข่าวว่า พี่น้องชาวกล้วยไม้นี้เขารักกันมาก "มีอะไรก็ช่วยกัน" คือมีงานที่ไหนต่างคนก็ต่างเอากล้วยไม้ของตัวเองไปช่วยกัน ออกงานบ้าง ประกวดบ้าง เมื่อข้าพเจ้าได้ฟังครั้งนั้นแล้วถือได้ว่าเป็นสมาคมที่น่ายกย่องของประเทศไทย เพราะการที่ไป แต่ละคนก็ต้องออกค่ารถค่าโรงแรมกันเอง ไปกันด้วย "ใจ" จริง ๆ

 

 

 

และที่สำคัญ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสฟังการถ่ายทอด Tacit Knowledge จากคุณชาลี ซึ่งการเดินทางไปที่สวนทุกครั้ง คุณชาลีก็จะเล่าเทคนิคการเลี้ยงกล้วยไม้แบบลึก ๆ ให้ฟังทุกครั้ง ซึ่งได้รับการกระซิบจากท่านอาจารย์ที่พาไปว่า "เรื่องนี้เขาไม่บอกกันง่าย ๆ หรอก" อาทิเช่นเรื่อง เทคนิคการรมควันสวนกล้วยไม้เพื่อให้รากอากาศได้รับคาร์บอน อย่างนี้เป็นต้น

 

ดังนั้นย้อนกลับมาถึงท่านอาจารย์ชยพร ที่ท่านได้เมตตาถ่ายทอด Tacit Knowledge ในการเลี้ยงกล้วยไม้จากประสบการณ์ จากชีวิตของท่าน ซึ่งก็ขอย้อนกลับไปถึงคำพูดที่ท่านอาจารย์เคยกระซิบว่า "เขาไม่บอกกันง่าย ๆ" แต่ด้วยการที่มี Gotoknow ซึ่งเป็นช่องในการถ่ายทอด Tacit Knowledge ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญในเรื่องของ "การจัดการความรู้ (Knowledge Mangement)"ทำให้เรามีโอกาสได้รับความรู้ทางด้านกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญเป็นการสื่อสารแบบ Two way communication ซึ่งผู้อ่านสามารถถ่ายรูปกล้วยไม้บ้านตัวเองมาถามสอบถามกับ Blogger ผู้เชี่ยวชาญได้โดยทันที 

 

ซึ่งแต่เดิมถ้าหากเราจะต้องการความรู้ลึก ๆ แบบนี้ก็จะต้องทำหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญ พร้อมจัดค่าอาหาร ค่าที่พักเป็นจำนวนมากกว่าจะได้ความรู้ลึก ๆ แบบนี้มาสักชุดหนึ่ง

 

ด้วยเหตุนี้ ถ้าถอยออกมามองในภาพกว้าง ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นส่วนตัวว่า ผู้บริหารการศึกษาในเมืองไทย หรือนักวิชาการในส่วนกลางทั้งทางภาครัฐและเอกชนนั้นทำงานได้ง่ายมากขึ้น

 

 

 

เพราะถ้าจะต้องการ Focus ความรู้ฝังลึกในเรื่องใด ก็สามารถใช้ Tag (คำสำคัญ) ที่ผู้พัฒนาระบบวางไว้ แล้วเข้าไปสืบค้นเพื่อนำไปใช้ตอบคำถาม วิเคราะห์ สรุปผลในเอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที

 

ซึ่งในอดีต เมื่อเราต้องการความรู้เรื่องใด ก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการเขียนโครงร่างการวิจัย ขอทุน ดำเนินการ สรุปผล จึงจะได้ความรู้มาเพื่อใช้งาน

 

แต่ในวันนี้ที่มีบล็อค ประเทศไทยกำลังมีการดำเนินการจัดการ Story telling ครั้งใหญ่ของประเทศ และที่สำคัญเป็นข้อมูลที่ "ลึก" และ "ลอย"

 

"ลึก" นั้นหมายถึง เป็นข้อมูลที่มีที่มา และที่ไป ซึ่งเป็นข้อดีอย่างเช่นที่ท่านอาจารย์ชยพรได้นำเสนอไว้ในภาษาแบบง่าย ๆ ทั้ง 8 ประการ

 

ดังนั้น การวางแผนงานในภาพรวมทางด้านวิชาการจะทำได้ง่ายมากขึ้น เพราะมี Gotoknow เป็นฐานของงานในระดับ "ปฐมภูมิ (Primary Data)" คือ ถ้าต้องการข้อมูลทางวิชาการด้านใดให้เข้ามาหยิบได้เลยใน Gotoknow ซึ่งข้อมูลแบบนี้คือการ "ลอย" ทางวิชาการ คือ เป็นความรู้ที่ลอยอยู่แล้ว ใครอยากใช้ก็ช้อนไปใช้ได้ทันที ไม่ต้องไปซื้อเบ็ด หาเหยื่อ แล้วไปนั่งรอตกปลาในสระน้ำ เหมือนกับที่เราจะต้องไปควานหาในชุมชนดั่งเช่นในอดีต

 

และถ้าหากเราต้องการข้อมูลเรื่องใดมากขึ้น ระบบ social network ที่เกิดขึ้นจาก G2K ที่ได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ตัดกำแพงระหว่างองค์กรออกไปได้ที่ดำเนินการมากกว่า 5 ปีแล้วนั้น ถือว่าเป็น network ของนักวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

 

ในทุกแขนงวิชามี Link เชื่อมต่อเข้าหากัน โดยมีข้อต่อเป็นบุคคลสำคัญต่าง ๆ ที่เข้ามาส่งเสริมให้การสนับสนุนระบบบ่อย ๆ อาทิเช่น ท่านอาจารย์หมอ รศ.นพ.จิตเจริญ ไชยยาคำ และท่าน อาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง ที่สามารถ Link สมาชิกทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่าเข้าหากันได้อย่างกลมกลืน

 

 ดังนั้น ถ้าหากเราให้ความสำคัญกับ Story telling ในสังคมที่เปิดอิสรภาพแห่งการเรียนรู้ที่ชื่อว่า Gotoknow แห่งนี้แล้ว ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่า ความก้าวหน้าในทุก ๆ ด้านของประเทศไทยจะเดินหน้าไปอย่างก้าวกระโดด...

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 395173เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2010 14:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท