dararat
ดร. ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์

การพัฒนากล้ามเนื้อมือก่อนที่จะเขียน


การพัฒนากล้ามเนื้อมือ : การเขียนในเด็กปฐมวัย

ส่งเสริมพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อเล็กก่อนที่จะเขียนหนังสือ

 

      ผู้ใหญ่มักใจร้อนต้องการให้ลูกหลานของเราพอโตขึ้นหน่อยก็จะให้เขียนหนังสือแล้ว  การเขียนที่ว่าคือการเขียนอย่างเป็นทางการ  เป็นตัวพยัญชนะ  ตัวสระ ในภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ที่เราๆ

ต่างคาดหวังให้เด็กเขียนได้   ขณะเดียวกันเราลืมว่าเด็กมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง  ความสามารถด้าน

ร่างกายของเขาเป็นอย่างไร     ความต้องการและความเป็นจริงนั้นแตกต่างกันมาก   จะทำอย่างไร

ให้คนส่วนใหญ่ได้เข้าใจ  และทำในสิ่งที่ถูกต้องแล้วเด็กเล็กๆของเราก็จะได้พัฒนาการอย่างเป็นไป

ตามวัยและความต้องการของเขา  อย่างเช่นการเขียนหนังสือถ้าจะทำให้เด็กมีความสุขในการเขียน

และเขียนอย่างถูกต้องเมื่อมีความพร้อมแล้ว   เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เราก็จะมีปัญหาน้อยมากในการ

เขียน    ซึ่งขณะนี้เรามักบ่นว่าการเขียนของเด็กประถมหรือเด็กมัธยมเขียนอะไรก็ไม่รู้  เขียนผิดๆ

ถูกๆ     เขียนไม่เป็นตัวทั้งๆที่เรียนมาตั้งแต่ชั้นอนุบาล   หรือเรียนมาตั้งแต่อายุยังน้อย  เราเคยมา

ทบทวนปัญหาตรงนี้กันหรือไม่    อย่างเช่น  เขาถูกบังคับให้เขียนในขณะที่เขายังไม่พร้อมหรือเปล่า   ดังนั้นก่อนที่จะให้เด็กเขียนอย่างเป็นทางการ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเขาก่อน     โดยการจัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้มือทั้ง

สองข้างให้ประสานสัมพันธ์กันก่อน   ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ง่ายๆ  เช่น

1. การจัดกิจกรรมให้มือได้เคลื่อนไหว

-หยิบจับสิ่งของ ใส่ภาชนะต่างๆ  หรือกล่อง

-ร้อยลูกปัดเม็ดใหญ่

-เล่นของเล่น

-ถัก  ทอ  เย็บง่ายๆ

        2  การจัดกิจกรรมที่ให้มือได้กำและจับ

              -ตักน้ำจากถ้วยหนึ่งไปอีกถ้วยหนึ่ง

               -ร้อยของเล่นโดยใช้ไม้แทนเข็ม

               -หมุนกล่องของเล่นที่มีตุ๊กตาโผล่ออกมา

               -ถือสิ่งของด้วยมือใดมือหนึ่ง แล้วอีกมือหนึ่งทำกิจกรรมอย่างอื่น

       3  การปรบมือ  เพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อมือและแขนโดยสามารถใช้ประกอบเพลง และการเล่นเกมต่างๆ

       4  การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สัมผัส  โดยจัดหาวัสดุต่างๆ  ให้เด็กได้สัมผ้ส    อาจเป็นวัสดุที่มีผิว

สัมผัสที่แตกต่างกัน

       5 กิจกรรมศิลปะต่างๆ

               -การวาดรูประบายสี

                -การประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ

              -การระบายสีด้วยนิ้วมือ

              -การปั้น

                   ฯลฯ

        6 การให้เล่นเครื่องดนตรี 

                -การตีกลอง

                 -การเป่า

                  -การดีด

              ฯลฯ

        7 การให้เล่นเกมและการละเล่น

                  -เกมต่างๆ  เช่น  อีตัก  หมากรุก

                  -การขีดเขียนบนดิน

        ดังนั้นการจัดกิจกรรมดังกล่าวข้างต้นเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อมือให้กับเด็กได้มีความแข็งแรง

ก่อนที่เด็กจะได้เขียนอย่างเป็นทางการ   พ่อแม่  หรือผู้ใหญ่อย่าใจร้อน  ให้เด็กเขาได้เล่นซึ่งถือว่า

เป็นการเรียนรู้ที่สำคัญ  เลิกความคิดที่ว่าเล่นแล้วเสียเวลา   ถ้าเด็กได้เล่นอย่างเต็มที่แล้วเขาจะมี

ความพร้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเตรียมความพร้อมด้านกล้ามเนื้อมือก่อนที่เขาจะเขียนได้อย่างมีคุณภาพเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 394479เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2010 14:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เด็กควรมีการพัฒนาไปตามวัยของเขาไม่ควรไปเร่งรัดให้เด็กปฏิบัติเพราะเป็นการฝืนธรรมชาติของเด็ก

การพัฒนากล้ามเนื้อมือจะช่วยให้เด็กได้รู้จักการหยิบ จับ เช่น การให้เด็กเริ่มต้นด้วยการหัดกำมือ

หัดตัดกระดาษ ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่าง ๆ จะช่วยให้เด็กมีการพัฒนาทั้งทางด้านกล้ามเนื้อสมองและ

กล้ามเนื้อมือ เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาไปตามวัยเขาก็จะมีความพร้อมในทุกด้านต่อไปเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่

เขาก็จะมีปัญหาน้อยมากในการเขียนและการทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ

นางยุวลักษณ์ เย็นนะสา

เด็กแต่ละช่วงวัยมีการพัฒนากล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง เราจึงไม่ควรเร่งรัดและบังคับเด็กมากจนเกินไป เพราะเด็กอาจจะเกิดการเบ่อหน่าย การพัฒนาทางด้านกล้ามเนื้อก็เป็นการเพิ่มการเรียนรู้ทางด้านจินตนาการ

การพัฒนากล้ามเนื้อมือของเด็กพ่อแม่ต้องคิดในใจตลอดเวลาว่า  ลูกต้องทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองตามวัย เพื่อที่จะเป็นกำลังใจในการฝึกเด็กชวนลูกทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมือ เช่น ปั้นดินน้ำมัน หนีบไม้หนีบ  บีบ  ขยำฟองน้ำ  เปิด-ปิดฝาเกลียว แกะห่อขนม ดึง  ลาก  วัตถุ ฉีกกระดาษ  ขยำกระดาษ  ตัดกระดาษ ฝึกขีดเขียน  ลากเส้น  ระบายสี

นางสาวจีระนันท์ ผันผาย

การพัฒนากล้ามเนื้อมือก่อนที่จะเขียนมีหลายวิธี  เช่น การปั้นดินน้ำมัน  การระบายสี  การร้อยลูกปัดเม็ดใหญ่  เล่นของเล่น  หยิบจับสิ่งของ  เป็นต้น  เมื่อเด็กได้รับการพัฒนาไปตามวัยเขาก็จะมีความพร้อมในทุกด้าน  ต่อไปเมื่อเป็นผู้ใหญ่เขาก็จะมีปัญหาน้อยมากในการเขียนและการทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ

การพัฒนากล้ามเนื้อมือของเด็กก่อนที่จะเขียน  เราต้องคำนึงถึงความพร้อมของเด็กด้วย  ควรเริ่มพัฒนาเด็กจากการฝึกกล้ามเนื้อมือก่อน  สอนให้เด็กเล่นดินน้ำมัน  กำดินน้ำมัน  สอนให้รู้จักปีนป่าย  จะช่วยฝึกกล้ามเนื้อมือได้มากทั้งกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และมัดเล็ก  การขยำกระดาษก็ช่วยได้มากในการพัฒนากล้ามเนื้อของเด็กก่อนที่จะเขียน

การที่ค่อยเป็นค่อยไป ไม่รีบร้อนจนเกินกาล จะทำให้เด็กได้เติบโตอย่างสมบูรณ์ เต็มความสามารถ และปล่อยให้เป็นไปตามวุฒิภาวะของตัวเด็กเอง เด็กก็จะโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์พร้อมทุกๆด้าน เพราะไม่ได้โดนยัดเยียดหรือเร่งรีบจนเกินพัฒนาการนั้นเอง

จันทิมา บรรดาศักดิ์

อยากให้ผู้ปกครองเด็กๆทุกท่านได้อ่านบทความนี้ค่ะ   เพื่อที่จะเข้าใจวิธีการให้เด็กๆ  อันเป็นที่รักของทุกท่าน  ได้เตรียมความพร้อมก่อนจะลงมือเขียน  ซึ่งจะทำให้ผลของการเขียนของเด็กออกมาเป็นที่น่าภูมิใจของผู้ปกครองค่ะ  หากผู้ปกครองไม่คำนึงถึงความพร้อมทั้งทางด้านวัยที่เหมาะสม  และพัฒนาการของเด็กเองแล้ว  ผลที่ออกมาก็จะไม่เป็นที่พอใจของผู้ปกครองเอง

เด็กควรมีพัฒนาไปตามวัยของเขาไม่ควรไปเร่งรัดเพราะเป็นการฝืนธรรมชาติของเด็ก หากไม่คำนึงถึงความพร้อมของเด็กผลที่ออกมาก็จะไม่ดีต่อตัวเด็กเอง

ได้อ่านบทความของท่านแล้วทำให้ได้ความรู้่สามารถนำมาปรับใช้ในงานวิจัยได้  ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท