กรณีศึกษา ความหลากหลายในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออก


มีนิคมอุตสาหกรรม สำหรับผลิตสินค้าออกยังต่างประเทศ และที่บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง ได้เน้นด้านอุตสาหกรรมเปโตรเคมี โดยการนำเอาก๊าซธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย มาแปรสภาพเป็นสารที่ใช้ในการทำพลาสติก ทำวัสดุพีวีซี ชายฝั่งทะเลด้านนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวและหาดทราย ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ จึงเป็นแหล่งที่ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นิยมมาพักผ่อนท่องเที่ยว

กรณีศึกษา   ความหลากหลายในทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออก

ศุกร์  สิงหา

 

ภูมิศาสตร์    

พื้นที่ของภาคตะวันออกมีขนาดเล็กกว่าภาคอื่น เดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาค

กลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลาง คือ ผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้ มีลักษณะเด่นเฉพาะ อาชีพในภาคนี้ส่วนใหญ่ เป็นพืชสวนพืชไร่ การประมง พืชสวนที่สำคัญได้แก่ เงาะ ส่วนพืชไร่ มี อ้อย มันสำปะหลัง และสับปะรด

จังหวัดฉะเชิงเทราและปราจีนบุรี มีการประมงทำกันตามชายฝั่ง  และมีการเลี้ยง

กุ้งการทำนา  ในบางจังหวัด ส่วนจังหวัดจันทบุรี มีการทำพลอยดิบจำนวน ปัจจุบันแม้ว่าจะลดลงไปมาก แต่ก็ยังเป็นศูนย์กลางของการเจียระไนพลอยที่สำคัญ โดยการนำเอาพลอยต่างประเทศเข้ามาเจียระไนด้วย

ด้านเศรษฐกิจ ในภาคนี้เศรษฐกิจก้าวหน้าไปอย่างมาก        เพราะได้มีการสร้าง

ท่าเรือน้ำลึกขึ้นที่แหลมฉบัง มีโรงงานกลั่นน้ำมันขนาดใหญ่  มีนิคมอุตสาหกรรม สำหรับผลิตสินค้าออกยังต่างประเทศ  และที่บริเวณมาบตาพุด จังหวัดระยอง      ได้เน้นด้านอุตสาหกรรมเปโตรเคมี โดยการนำเอาก๊าซธรรมชาติที่พบในอ่าวไทย มาแปรสภาพเป็นสารที่ใช้ในการทำพลาสติก ทำวัสดุพีวีซี ชายฝั่งทะเลด้านนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวและหาดทราย ซึ่งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ จึงเป็นแหล่งที่ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นิยมมาพักผ่อนท่องเที่ยว โดยเฉพาะที่พัทยา จังหวัดชลบุรี

ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับภูเขาลูกเตี้ยๆ บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกมี

เทือกเขาจันทบุรีทอดตัวไปทางตะวันตกจดกับเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งทอดยาวจากเหนือถึงใต้ เป็นเส้นแบ่งอาณาเขต ระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย มีแม่น้ำสายสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำระยอง และแม่น้ำประแสร์ ซึ่งไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทย ชายฝั่งทะเลที่เรียบยาวโค้งเว้า

ท้องทะเลตะวันออกเต็มไปด้วยกลุ่มเกาะน้อยใหญ่หลายแห่ง        ที่สำคัญได้แก่

เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกูด ในภาคตะวันออก เกาะเสม็ด เกาะมัน จังหวัดระยอง เกาะล้าน เกาะสีชัง ในจังหวัดชลบุรี ส่วนบริเวณปากแม่น้ำเป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนโคลนตม ที่แม่น้ำสายต่างๆ พัดพามา เป็นบริเวณที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ของสิ่งมีชีวิต

จากสภาพภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ และท้องทะเลที่

กว้างใหญ่ มีโรงงานอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ซึ่งกำหนดให้ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมหนัก ที่ต้องใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติเป็นวัตถุดิบ

ภูมิภาคนี้ยังเป็นที่ตั้งของสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งเป็นสนามบินของทหาร ใช้เป็นที่

จอดเครื่องบินขณะร่วมซ้อมรบ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา อีกทั้งยังใช้เป็นสนามบินสำหรับเครื่องบินเช่าเหมาของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ

ภาคตะวันออกยังเป็นสุดยอดของแหล่งท่องเที่ยว ที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวทั้งชาว

ไทยและชาวต่างประเทศมากที่สุดด้วย ยังเป็นปราการสำคัญของแผ่นดินไทย ดินแดนชายฝั่งทะเลตะวันออกของไทย ที่อุดมสมบูรณ์ เป็นปราการป้อมทางทะเลที่สำคัญของประเทศ

ทิศเหนือติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์  นครราชสีมา  และนครนายก  ดินแดนที่อยู่

เหนือสุดอยู่ที่เขาใหญ่ อำเภอประจันตคาม  จังหวัดปราจีนบุรี

ทิศตะวันออก ติดต่อกับประเทศกัมพูชา                โดยมีแนวเทือกเขาบรรทัดเป็น

พรมแดน  ดินแดนที่อยู่ทางตะวันออกสุด  คือ  แหลมสารพัดพิษ  อำเภอคลองใหญ่  ภาคตะวันออก

ทิศใต้ ติดต่อกับอ่าวไทย  ดินแดนที่อยู่ทางใต้สุดของภาคตะวันออก  คือ  แหลม

สารพัดพิษ  อำเภอคลองใหญ่  ภาคตะวันออก

ทิศตะวันตก ติดต่อกับกรุงเทพมหานคร  สมุทรปราการ  และอ่าวไทย  ดินแดนที่

อยู่ทางตะวันตกสุดอยู่ที่อำเภอสัตหีบ  จังหวัดชลบุรี

ภาคตะวันออก มีภูมิประเทศเป็นเทือกเขาประกอบด้วย ภูเขาใหญ่น้อยหลายลูก

โดยทอดตัวจากรอบ ตะเข็บของเขตแดน 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และจันทบุรี เข้าสู่ทางตอนเหนือ และทางตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี ที่เป็นเทือกเขาหินแกรนิตที่แข็งแกร่งแทรกตัว ขึ้นมาสลับระหว่างหินชั้น นอกจากนี้ยังมีหินบะซอลต์แทรกตัวขึ้นมาเป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นแหล่งแร่รัตนชาติ

แม่น้ำบางประกงเป็นแม่น้ำที่ยาวที่สุดของภาคตะวันออก ต้นน้ำ เกิดจากเทือก

เขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรี ไหลผ่านจังหวัดสระแก้วและปราจีนบุรี เรียกว่า แม่น้ำปราจีนบุรี แล้วไหลลงสู่อ่าวไทยระหว่างอำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี  แม่น้ำบางปะกง ไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรี มีแควไหลมาบรรจบ 2 แคว คือ แควหนุมาน และแควพระปรง นับเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดของภาคตะวันออก

            เขตที่ราบในภาคตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบใหญ่อยู่ทางตอนเหนือของภาค ต่อเนื่องกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง ที่ราบนี้อยู่ระหว่างแนวเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาจันทบุรี ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและจังหวัดสระแก้ว นักภูมิศาสตร์ชาวต่างประเทศเรียกที่ราบนี้ว่า ฉนวนไทย หมายถึง พื้นที่ราบที่เชื่อมระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของภาคกลาง กับที่ราบต่ำเขมรในประเทศกัมพูชา ที่ราบดังกล่าวเป็นที่ราบดินตะกอน ที่แม่น้ำพัดมาทับถมกัน (alluvial plain) เนื่องจากบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางประกง เป็นที่ราบต่ำ โดยเฉพาะบริเวณตั้งแต่ตัวเมืองฉะเชิงเทรา ไปจนถึงปากแม่น้ำบางประกง จึงทำให้แม่น้ำบางปะกง ลดอัตราการไหลของน้ำลงอย่างมาก และไหลคดเคี้ยวมากจนเปลี่ยนทิศทาง

ผู้คนแถบภาคตะวันออกคล้ายคนภาคกลาง ค่อนไปทางปักษ์ใต้ แต่สำเนียงการ

พูดและภาษาท้องถิ่นมีคำสร้อยท้ายคำ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ในเรื่องผิวพรรณอาจแตกต่างตรงขาวกว่า ส่วนบ้านเรือนที่อยู่อาศัยคล้ายคลึงกันมาก บ้านเรือนเก่า ๆ นิยมปลูกเป็นเรือนไทยปั้นหยา พื้นบ้านยกใต้ถุนสูงเตี้ย ๆ และมีเสาปูนรองรับเสาบ้าน เพื่อกันความชื้นจากพื้นดินอีกที ทั้งมักปลูกอยู่ในลานทรายท่ามกลางดงมะพร้าว

นอกจากนี้พืชพรรณที่ปลูกทำกิน เช่น มะพร้าว เงาะ ทุเรียน มังคุด สับปะรด และ

เมื่อมีการส่งเสริมให้ปลูกยางพาราที่นำพันธุ์มาจากภาคใต้ จังหวัดจันทบุรีหรือจังหวัดตราด มีบรรยากาศของสวนยางพาราเหมือนกับที่จังหวัดนครศรีธรรมราช   รสชาติอาหารการกินของชาวภาคตะวันออก จะคล้ายชาวภาคกลาง เพียงแต่จะเน้นอาหารทะเลมากขึ้น เนื่องจากอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลที่อุดมสมบูรณ์

 

ประวัติศาสตร์ภาคตะวันออก

            หัวเมืองภาคตะวันออกนับตั้งแต่เมืองชลบุรี เมืองระยอง เมืองจันทบูร และเมืองตราด รวมทั้งเมืองพุทไธมาศ (เมืองสีหนุวิลล์ เดิมเป็นหัวเมืองของไทย) แม้ว่าจะเป็นเมืองสำคัญชายฝั่งทะเลมาตั้งแต่สมัยกรุงเศรีอยุธยาตอนต้น แต่กระนั้นก็ตามไม่ค่อยจะมีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารมากนัก เพราะเหตุว่าเป็นเมืองที่สงบสุข ข้าวปลาอาหารบริบูรณ์ ไม่เคยเกิดข้าวยากหมากแพง ส่วนปัญหาด้านการเมืองก็ไม่เคยคิดกบฏต่อราชธานี จึงไม่มีเหตุการณ์สำคัญ หรือเรื่องราวร้ายแรงที่พระราชพงศาวดารจะต้องบันทึกไว้ ฉะนั้นเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในหัวเมืองภาคตะวันออกจึงค้นพบน้อยมากในเอกสารประวัติศาสตร์ จะพบอยู่บ้างก็กระท่อนกระแท่นไม่ค่อยจะต่อเนื่อง

เหตุการณ์ด้านประวัติศาสตร์ที่ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในพระราชพงศาวดารของ

หัวเมืองเหล่านี้ เพิ่งปรากฏชัดเจนในสมัยตอนกรุงศรีอยุธยาใกล้จะเสียกรุงครั้งที่สอง เพราะว่าชุมชนหัวเมืองภาคตะวันออกไม่ถูกกองทัพพม่ากวาดต้อนผู้คน บ้านเมืองไม่แตกระส่ำระสาย ส่วนหัวเมืองบริเวณภาคกลางที่ล้อมรอบกรุงศรีอยุธยาถูกกองทหารพม่ากวาดต้อนปล้นสะดม เข่นฆ่าราษฎรตอนที่ล้อมกรุงฯ ฉะนั้นหัวเมืองภาคตะวันออกจึงมีสภาพปรกติสุข เพียบพร้อมด้วยกำลังผู้คน เสบียงอาหาร และศัสตราวุธ เป็นผลให้ผู้นำทัพที่จะกอบกู้อิสระภาพจึงมุ่งที่จะมารวบรวมกำลังซ่องสุมผู้คน และกองทัพในหัวเมืองภาคตะวันออกถึง 2 ท่าน คือ (1) กรมหมื่นเทพพิพิธ เชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ได้มารวบรวมกองกำลังเมื่อ พ.ศ.2308 ก่อนเสียกรุงฯ (2) พระเจ้าตากสิน สมัยดำรงตำแหน่งพระยาวชิรปราการแม่ทัพ หรือพระยากำแพงเพชร ได้มาซ่องสุมผู้คนในหัวเมืองภาคตะวันออกตอนใกล้จะเสียกรุงฯ กรมหมื่นเทพพิพิธไปซ่องสุมกำลังที่หัวเมืองภาคตะวันออก กรมหมื่นเทพพิพิธ เป็นโอรสในสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พระนามเดิมว่า "พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าแขก" เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (พระเจ้าเอกทัศน์) และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ (พระเจ้าอุทุมพร) ครั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.2301 กรมหมื่นเทพพิพิธสนับสนุน พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ ซึ่งดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (ตำแหน่งรัชทายาท) ได้ครองราชสมบัติ แต่พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ผู้เป็นพี่รีบลาผนวชออกมา ประจวบกับ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อรักสงบ ไม่ชอบการขัดแย้งจึงสละราชสมบัติเสด็จออกทรงผนวช กรมหมื่นเทพพิพิธเกรงราชภัยจะถึงตน จึงออกผนวชที่วัดกระโจม แต่กระนั้นก็ตามเมื่อสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้ครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมพระตำรวจทั้งแปดไปจับตัวมาหวังจะประหารชีวิตเสีย แต่ขุนนางกราบบังคมทูลว่าเป็นเชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ไม่มีความผิดชัดเจน ไม่ควรประหารในระหว่างทรงพรตในเพศสมณะ จึงสั่งให้จองจำไว้ ครั้นกำปั่นจะไปลังกาทวีปเพื่อส่งพระวิสุทธาจารย์ และพระวรญาณมุนีไปเผยแผ่พุทธศาสนาสยามวงศ์ที่เมืองลังกา จึงให้เนรเทศกรมหมื่นเทพพิพิธไปกับเรือกำปั่นนั้นด้วย กรมหมื่นเทพพิพิธพำนักที่เมืองลังกาได้ 4-5 ปี ต่อมาภายหลังทราบว่ากรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่ จึงหาโอกาสหนีกลับมาเมืองไทยอีก ได้โดยสารเรือกำปั่นแขกลูกค้าเมืองเทศมายังเมืองมะริด เมื่อ พ.ศ.2305

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2307 กองทัพพม่ายกมาตีเมืองมะริด ตะนาวศรี กรมหมื่นเทพ

พิพิธจึงหนีมาอาศัยอยู่ที่เมืองเพชรบุรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอุทุมพร (ลาผนวชมารักษากรุงฯ) ทราบเรื่องราวกรมหมื่นเทพพิพิธตกยากอยู่ที่เพชรบุรี จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปอยู่เมืองจันทบูรในปีเดียวกันนั้น เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธมาอยู่เมืองจันทบูรนั้น ข่าวกองทัพพม่าล้อมกรุงฯ ปล้นสะดมชาวเมืองในหัวเมืองใกล้เคียง และเข่นฆ่าชาวบ้านชาวเมืองล้มตายเป็นจำนวนมาก ผู้คนได้รวมตัวกันเป็นชุมนุมตั้งค่ายป้องกันตัว ดังค่ายบ้านบางระจัน เป็นต้น ชาวหัวเมืองในภาคตะวันออกต่างก็เห็นว่า เชื้อพระวงศ์ผู้ใหญ่ได้มาพำนักที่เมืองจันทบูร ต่างพากันมาสวามิภักดิ์ หวังจะให้เป็นหัวหน้าต่อสู้กองทัพพม่า ซึ่งพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาบันทึกไว้หน้า 146 ว่า "ฝ่ายเจ้ากรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งไปอยู่ ณ เมืองจันทบูรนั้น บรรดาคนชาวหัวเมืองทั้งหลาย ฝ่ายตะวันออกชวนกันนับถือ พากันมาสวามิภักดิ์พึ่งบารมีกันอยู่เป็นอันมาก กรมหมื่นเทพพิพิธจึงพาคนทั้งหลายนั้นเข้ามาอยู่ ณ เมืองปราจีนบุรี และคนชาวหัวเมืองนครนายก เมืองปราจีนบุรี เมืองฉะเชิงเทรา เมืองชลบุรี เมืองบางละมุง เลื่องลือกันว่าจะเสด็จยกเข้ารบพม่าช่วยกรุงเทพมหานคร (สมัยโบราณเรียกอยุธยาว่า กรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกัน) จึงพากันมาเป็นพวก มาเข้าด้วยเป็นหลายพัน ทูลรับอาสาจะรบพม่า กรมหมื่นเทพพิพิธจึงให้ตั้งค่าย ณ เมืองปราจีนบุรี จึงแต่งให้หมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ชาวเมืองปราจีนบุรี และนายทองอยู่น้อย (พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมว่า "นายทองอยู่ นกเล็ก") ชาวเมืองขลบุรี คนทั้งสามนี้เป็นนายซ่องฝีมือเข้มแข็ง ให้เป็นนายทัพหน้าคุมพลชาวหัวเมืองต่างๆ สองพันเศษยกมาตั้งค่าย ณ ปากน้ำโยธกา คนทั้งหลายต่างส่งหนังสือกลับเข้ามาถึงพรรคพวกญาติ ซึ่งอยู่ในกรุงเทพมหานคร คนในกรุงเทพมหานครรู้ก็ยินดี คิดพาครอบครัวหนีจากพระนครออกไปเข้าด้วยกรมหมื่นเทพพิพิธเป็นอันมาก บรรดาหม่อมเจ้าชายหญิงซึ่งเป็นพระหน่อในกรมหมื่นเทพพิพิธ กับทั้งหม่อมห้ามข้าไทก็หนีออกไปหาเจ้า และพระยารัตนาธิเบศนั้นก็พาพรรคพวกหนีออกไปเข้าด้วย ช่วยกันคิดการซึ่งจะทำสงครามกับพม่า" (นายซ่อง คือหัวหน้าซ่องสุมกำลังพล) เหตุการณ์ที่กรมหมื่นเทพพิพิธตั้งค่ายซ่องสุมผู้คนที่เมืองปราจีนบุรีนั้นอยู่ระหว่าง พ.ศ.2308 ซึ่งกองทัพพม่ายังตีกรุงศรีอยุธยาไม่แตก แต่พม่าได้ส่งกองทัพเข้าตีปล้นสะดมหัวเมืองต่างๆ ใกล้เคียงกับกรุงศรีอยุธยา ครั้งแม่ทัพพม่าทราบว่ามีค่ายเจ้านายไทยตั้งอยู่ที่เมืองปราจีนบุรี จึงให้เมฆราโบและกวนจอโบสองนายเป็นแม่ทัพคุมพล 3,000 ยกทัพออกไปตีค่ายที่ปากน้ำโยธกา ต่อสู้กันเป็นสามารถ หักค่ายปากน้ำโยธกา จับตัวหมื่นเก้า หมื่นศรีนาวา ฆ่าเสีย

ส่วนนายทองอยู่น้อย (หรือนายทองอยู่ นกเล็ก) หนีไปได้ ค่ายไทยแตกกระจัด

พลัดพราย ภายหลังพาสมัครพรรคพวกมาตั้งมั่นที่เมืองชลบุรี นัยว่าขณะนั้นชลบุรีเป็นเมืองร้าง ผู้คนพากันหนีพม่าเข้าไปอยู่ป่า ครั้นนายทองอยู่ นกเล็ก มาตั้งมั่น ชาวเมืองชลบุรีก็อพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวนมาก ฝ่ายกรมหมื่นเทพพิพิธและพระยารัตนาธเบศ ทราบว่าค่ายปากน้ำโยธกาแตกต่างก็ตกใจไม่คิดอ่านที่จะต่อสู้กับทัพพม่า จึงพาสมัครพรรคพวกหนีขึ้นไปทางช่องเรือแตก (ช่องทางเทือกเขาใหญ่ที่จะผ่านไปเมืองนครราชสีมา) ผ่านด่านหนุมาน (ภายหลังยกเป็นเมืองกระบินทร์บุรี) ไปยังเมืองนครราชสีมา กรมหมื่นเทพพิพิธไปเกลี้ยกล่อม เจ้าพระยานครราชสีมาไม่ได้ จึงไปเกลี้ยกล่อมพระพิมาย พระยาพิมายยอมเข้าด้วยและได้คิดอ่านจับพระยานครราชสีมาประหารเสีย และแต่งตั้งพระพิมายเป็น "เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์" บุตรชายทั้งสองของพระพิมายเป็น "พระยามหามนตรี" และ "พระยาวรวงศาธิราช" กรมหมื่นเทพพิพิธมีอำนาจเหนือเมืองพิมายและเมืองนครราชสีมา เรียกว่า "ก๊กเจ้าพิมาย" ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก พวกเชื้อพระวงศ์และนายทัพนายกองที่หนีเอาชีวิตรอดต่างก็มุ่งหน้าไปรวมกับเจ้าพิมายเป็นจำนวนมาก ฉะนั้นก๊กเจ้าพิมายจึงมีกำลังเข้มแข็งมากหลังเสียกรุงฯ เหตุการณ์ที่กองทัพพม่าตีค่ายปากน้ำโยธกา นั้นเป็นระยะเวลาก่อนกรุงฯ แตก คือในปี พ.ศ.2308 หัวเมืองภาคตะวันออกยังไม่ถูกกองทัพพม่ายกมาปล้นสะดม ครั้นเมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธพาพรรคพวกหนีไปตั้งมั่นที่เมืองพิมาย ชาวหัวเมืองภาคตะวันออก บางส่วนก็ติดไปกับกองทัพของกรมหมื่นเทพพิพิธ และกำลังส่วนใหญ่ยังไม่ได้เคลื่อนไปที่ใดกองทัพพม่าล้อมกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลาแรมปี และส่งกองทหารเที่ยวปล้นสะดม เข่นฆ่าประชาชนตามนิคมคามรายรอบกรุงศรีอยุธยา ส่วนทหารในกองทัพรักษากรุงฯ ต่างก็อิดโรยอ่อนกำลังลงมากประจวบกับพม่าโหมกำลังเข้ามาตั้งค่ายประชิดกำแพงเมืองทางด้านหัวรอ สภาพในกำแพงพระนครนั้นผู้คนก็หวั่นไหวเกรงกลัวทัพพม่า นอกจากนี้พระราชพงศาวดารยังบันทึกเหตุการณ์อาเพศต่างๆ ไว้ด้วย เช่น สมเด็จพระสังฆราชสวรรคต โดยเฉพาะวันเสาร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก จ.ศ.1128 (พ.ศ.2308) ก่อนเสียกรุงเพียง 2-3 เดือน (เสียกรุงวันอังคารขึ้น 9 ค่ำ เดือน 5 ตรงกังวันสงกรานต์ คือวันเนาว์เปลี่ยนปีเป็นปีกุน นพศก จ.ศ.1129 ตรงกับ พ.ศ.2310) เกิดไฟไหม้บ้านเรือนในกำแพงเมืองตั้งแต่ท่าทรายลามติดไปยังสะพานช้าง คลองข้าวเปลือก ย่านป่าถ่าน ไหม้วัดสำคัญไปหลายวัด เช่น วัดราชบูรณะ วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นต้น พระยากำแพงเพชร (พระเจ้าตากสิน) ตั้งค่ายอยู่ที่วัดพิชัย ได้ปรึกษากันระหว่างนายทัพนายกองค่ายวัดพิชัย เห็นว่าบ้านเมืองคงจะรักษาไว้ไม่ไหวแล้ว จึงคบคิดกันตีแหวกกองทัพพม่าหนีออกไปทางภาคตะวันออกดีกว่า จึงรวบรวมสมัครพรรคพวกพลทหารได้ประมาณพันหนึ่ง เก็บรวบรวมสรรพาวุธ พร้อมกับนายทหารผู้ใหญ่ คือ พระเชียงเงิน หลวงพรหมเสนา หลวงพิชัยราชา หลวงราชเสน่หา ขุนอภัยภักดี รวมเป็น 5 นาย กับขุนหมื่นผู้น้อยอีกจำนวนหนึ่ง พระยากำแพงเพชรทิ้งค่ายวัดพิชัยยกไปทางบ้านหันตรา (ทุ่งหันตรา อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) ตอนเวลาพลบค่ำ วันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศกนั้นเอง กองทัพพม่ายกไล่ตีตามจนมาถึงบ้านข้าวเม่า บ้านสัมบัณฑิตต่อสู้กันบริเวณนั้นจนถึงเที่ยงคืน กองทัพพม่าถอยไป วันรุ่งขึ้นเดินทัพไปยังบ้านโพสังหาร กองทัพพม่าตามมาตีอีก ครั้งนี้ต่อสู้กันเป็นสามารถ เสียกำลังพลไปมากทั้งสองฝ่าย กองทัพพม่าล่าถอยไปเก็บศัสตราวุธได้จำนวนหนึ่งจึงถอยไปหยุดพักแรมอยู่บ้านพรานนก ในครั้งนั้นกองทัพพระยากำแพงเพชรขาดเสบียงอาหารแต่กองทัพพม่าก็ตามตีติดๆ ไป

กองทัพพระยากำแพงเพชร (พระเจ้าตากสิน) สู้พลางถอยพลาง ทแกล้วทหารล้ม

ตายไปบ้างแตกหนีกระจัดกระจายไปบ้าง พลพรรคที่ตามติดอยู่กับแม่ทัพคงเหลือไม่มากนัก หวังจะพึ่งพาเจ้าเมืองรายทาง เช่น เมืองฉะเชิงเทรา เมืองปราจีนบุรี ซึ่งมีเสบียงอาหารสมบูรณ์ ก็อยู่ในสภาพกระอักกระอ่วนใจ เพราะตนเองนั้นทิ้งค่ายหนีออกมาขณะที่กรุงศรีอยุธยายังไม่แตก จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าเมือง อีกประการหนึ่งพระยากำแพงเพชรคงจะทราบดีว่าเจ้าเมืองเหล่านั้นยอมสวามิภักดิ์เข้าข้างด้วยไม่ได้ เพราะทางกรุงศรีอยุธยาจะกล่าวหาว่าเอาใจออกห่างจากราชธานี ฉะนั้นกองกำลังของพระยากำแพงเพชรจึงหลๆ ซ่อนๆ ตามชนบทนิคม หาสมัครพรรคพวกที่เป็นชุมชนขนาดย่อม ในครั้งนั้นกองกำลังพระยากำแพงเพชรเดินทางไปถึงเมืองนครนายก พบกับขุนชำนาญไพรสณฑ์ และนายกองช้างเมืองนครนายก เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนยี่ (พ.ศ.2309) ขุนชำนาญไพรสณฑ์และสมัครพรรคพวกยอมเข้าด้วย จึงได้กำลังพลมากขึ้น มีเสบียงอาหารและได้ช้างพลาย พังถึง 6 เชือก อาจจะกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นในการเกลี้ยกล่อมกำลังหัวเมืองภาคตะวันออกนั้น เริ่มต้นจากกองกำลังของขุนชำนาญไพรสณฑ์

แต่กระนั้นก็ตามพระยากำแพงเพชรยังไม่กล้าที่จะขอความร่วมมือจากเจ้าเมือง

นครนายก และเจ้าเมืองปราจีนบุรี แสดงให้เห็นว่าสถานภาพของกองกำลังของพระยากำแพงเพชรยังไม่เข้มแข็งพอที่เจ้าเมืองเหล่านั้นจะยอมอ่อนน้อมยอมเข้าด้วยโดยง่าย จึงพากองกำลังเดินทางมาด้านหัวเมืองชายทะเล เที่ยวเกลี้ยกล่อมชาวนิคมชนบท ครั้นถึงบ้านกง (แขวงเมืองนครนายก) พระยากำแพงเพชรก็ส่งคนไปเจรจากับขุนหมื่นพันทนายบ้านกง แต่ขุนหมื่นพันทนายเหล่านั้นก็หายอมเข้าด้วยไม่ เตรียมกำลังตั้งค่ายจะสู้รบ แม้ว่าจะเจรจาเกลี้ยกล่อมถึงสามครั้งสามคราก็ตาม ในที่สุดพระยากำแพงเพชรจึงนำหน้าทหารม้า 20 นาย เข้าโจมตีบ้านกง ตีหักเอาค่ายได้ ชาวบ้านแตกตื่นไม่เป็นส่ำ เก็บได้ช้างม้าและเสบียงอาหารจำนวนมาก ครั้นวันรุ่งขึ้นเดินทางมาประทับแรมที่บ้านหนองไม้ซุง เดินทางต่ออีกสองวันมาถึงบ้านนาเริ่ง (ในเขต อำเภอบ้านนาในปัจจุบัน) แขวงเมืองนครนายก ประทับแรมอยู่คืนหนึ่ง วันรุ่งขึ้นเดินทางไปถึงแม่น้ำข้ามไปฟากตะวันออกอีกหนึ่งวัน ถึงบ้านกงแจะ ด่านเมืองปราจีนบุรี เดินทัพข้ามทุ่งไปจนเวลาพลบค่ำ หยุดพักหุงหาอาหารและพักคอยกองทหารของพระเชียงเงิน แต่ไม่เห็นกองทหารของพระเชียงเงิน จึงสั่งให้หลวงพรหมเสนาขึ้นม้าตามหากองทหารพระเชียงเงิน ส่วนกองทัพพระยากำแพงเพชรคอยอยู่ถึง 3 วัน ครั้นถึงวันจันทร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือนยี่ กองทหารของพระเชียงเงินจึงตามมาทัน พระยากำแพงเพชรโกรธพระเชียงเงินที่แกล้งเชือนแช เดินทัพชักช้า หวังจะเอาใจออกห่าง จึงลงโทษโบยหลัง 30 ที แล้วให้ประหารชีวิตเสีย แต่นายทหารทั้งปวงได้ขอชีวิตไว้ 2. ปะทะกับกองทัพพม่าที่ปากน้ำเจ้าโล้ แขวงเมืองฉะเชิงเทรา แม่ทัพพม่าทราบว่ากองทัพที่สั่งให้ไล่ตามตีทัพพระยากำแพงเพชรเสียทีถอยกลับไป จึงได้ส่งกองทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่ปากน้ำเจ้าโล้ (ลำน้ำเจ้าโล้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง อำเภอบางคล้า) แขวงเมืองฉะเชิงเทรา และได้ส่งกองทัพเรือพม่ามาเสริมกำลังที่ปากน้ำเจ้าโล้อีกด้วย ค่ายพม่าที่ปากน้ำเจ้าโล้ได้ส่งกองลาดตระเวน สอดแนมกองทัพของพระยากำแพงเพชร ครั้นถึงวันอังคาร ขึ้น 14 ค่ำ เดือนยี่ ปีจออัฐศก กองทัพพระยากำแพงเพชรเห็นกองทัพพม่าที่ค่ายปากน้ำเจ้าโล้ยกตามมาติดๆ จึงขุดสนามเพลาะบังตัวต่างค่ายให้กองเสบียงลำเลียงหาบคอนล่วงหน้าไปก่อน

ครั้นกองทัพพม่าเข้ามาใกล้เดินเรียงรายมาตามดงแขมห่างประมาณหกเจ็ดเส้น

จึงให้ยิงปืนใหญ่น้อยระดมไปยังกองทหารพม่า แม้ว่ากองทหารพม่าจะดาหน้าหนุนเนื่องกันมา ก็สั่งให้ยิงปืนใหญ่น้อยสำทับไป ทหารพม่าล้มตายจำนวนมาก หนีกลับไป เหล่าทหารหาญในกองทัพพระยากำแพงเพชรต่างก็โห่ร้อง ตีฆ้อง ตีกลองสำทับ ไล่ตามฆ่าทหารพม่าล้มตายอีกจำนวนมากหลังจากนั้นก็เตรียมเดินทัพต่อไปการที่กองทัพพระยากำแพงเพชรสู้รบกับกองทัพพม่าที่ปากน้ำเจ้าโล้นั้น คงจะสูญเสียทหารจำนวนมากทั้งกองทัพพม่าและกองทัพของพระยากำแพงเพชร โดยเฉพาะพระยากำแพงเพชรคงจะสูญเสียทหารคนสนิทและเเพื่อคู่ใจไปจำนวนมากในการปะทะกับพม่าครั้งนั้น

ดังมีหลักฐานการสร้างสถูปเจดีย์เป็นอนุสรณืแก่เพื่อนนักรบไว้ที่ปากน้ำเจ้าโล้

ด้วยหลังจากท่านได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว เป็นเจดีย์ทรงลังกาขนาดย่อมตั้งอยู่โดดเดี่ยว (ไม่มีวัดบริเวณนั้น) ชาวบ้านบริเวณนั้นเล่าสืบต่อกันมาว่าเป็นเจดีย์พระเจ้าตากสินสร้างไว้ ปู่ย่าตายายเรียกว่าเจดีย์พระเจ้าตาก เจดีย์ดังกล่าวถูกน้ำเซาะตลิ่งล่มในปี พ.ศ.2483 ฉะนั้นผู้อาวุโสอายุ 70 ปี (พ.ศ.25437 ยังจดจำกันได้ ขณะนี้ทางราชการอำเภอบางคล้าได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นใหม่ในสถานที่เดิม นัยว่าพยายามรักษารูปสัณฐานเดิม และทำพิธีเปิดเมื่อ พ.ศ.2543 3. เดินทัพมุ่งเมืองระยอง ครั้นได้ชัยชนะกองทัพพม่าที่ปากน้ำเจ้าโล้ แขวงเมืองฉะเชิงเทราแล้ว พระยากำแพงเพชรจึงเดินทัพผ่านมาทางบ้านหัวทองหลาง สะพานทอง จังหวัดชลบุรี) ล่วงแดนเมืองชลบุรีไปยังหัวเมืองฝ่ายตะวันออก ซึ่งเมืองชลบุรีในสมัยนั้นตั้งอยู่บริเวณบ้านบางปลาสร้อย (หัวตลาดชลบุรีด้านกรุงเทพฯ) และชาวบ้านทั่วไปสมัยก่อนเรียกเมืองชลบุรีว่า "บางปลาสร้อย" เหมือนกับนิยมเรียกเมืองฉะเชิงเทราว่า "แปดริ้ว" ฉะนั้นจึงพบว่าชาวจีนและเอกสารจีนจดบันทึกชื่อเมืองชลบุรีว่า เมืองบังก๊อกส่วย คือบางปลาสร้อยนั่นเองเมื่อกองทัพพระยากำแพงเพชรผ่านมายังเมืองชลบุรีนั้น พระยากำแพงเพชรหาได้เขาไปเมืองชลบุรีไม่ นัยว่าขณะนั้นชลบุรีเป็นเมืองร้างเมื่อครั้งทัพพม่ามาตีค่ายหน้าด่านที่ปากน้ำโยธกาของกรมหมื่นเทพพิพิธ พ.ศ.2308 จึงเดินทัพลัดเลาะไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุง ซึ่งได้พบกับนายกลม (ฉบับพระราชหัตถเลขาชื่อว่า นายกล่ำ) นายซ่องสุมไพร่พล เป็นหัวหน้าอยู่ที่นั่น นายกลมหัวหน้าซ่องบ้านนาเกลือหาได้อ่อนน้อมไม่ เตรียมท่าจะต่อรบ พระยากำแพงเพชรจึงขี่ช้างพลายพร้อมด้วยพลทหารแวดล้อมหน้าหลัง เดินตรงไปยังพลพรรคของนายกลมที่ยืนสกัดอยู่นั้น ด้วยท่าทีองอาจไม่เกรงกลัวกองกำลังของนายกลม

ในที่สุดนายกลมเกรงกลัวบารมีจึงยอมอ่อนน้อมยอมเข้าด้วย       พระยากำแพง

เพชรจึงให้ทรัพย์แก่นายกลมและพลพรรค และให้โอวาทแก่นายกลมให้ตั้งอยู่ในยุติธรรม นายกลมอาสานำทางไปยังเมืองระยองต่อไป ครั้นวันอาทิตย์ แรม 6 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ อัฐศก นายกลมคุมไพร่พล 100 นำทัพเดินถึงทัพยา (บางฉบับว่าพัทยา) หยุดพักแรมคืนหนึ่ง รุ่งขึ้นเดินทัพมาถึงบ้านนาจอมเทียน ทุ่งไก่เตี้ย สัตหีบหยุดประทับแรมแห่งละ 1 คืน แล้วเดินทัพตามชายทะเล ถึงตำบลหินโขง และบ้านน้ำเก่า แขวงเมืองระยอง หยุดประทับแรมแห่งละ 1 คืน พระยากำแพงเพชรได้ปรึกษาแม่ทัพนายกองว่า บัดนี้กรุงศรีอยุธยาคงจะเสียแก่พม่าเป็นแน่แท้ เราคิดจะรวบรวมอาณาประชาราษฎร์ในหัวเมืองภาคตะวันออกทั้งปวง ซ่องสุมผู้คนให้เป็นกำลังแก่บ้านเมือง และเราจะทำนุบำรุงสมณพราหมณาประชาราษฎร์ให้ร่มเย็นเป็นสุข และได้ประกาศให้บรรดานายซ่อง นายชุมนุมที่ซ่องสุมกำลังรี้พลให้มารวมกันเป็นขอบขัณฑเสมาเดียวกันให้จงได้ ในครั้งนั้นได้มีนายซ่อง นายชุมนุมอยู่ในป่าเขาได้มาเข้าด้วยเป็นจำนวนมาก กิติศัพท์ดังกล่าวได้ล่วงรู้ไปถึงพระระยองบุญเมือง เจ้าเมืองระยอง พระระยองบุญเมืองจึงนำข้าวสาร 1 เกวียนมาต้อนรับเมื่อกองทัพพระยากำแพงเพชร (พระเจ้าตากสินมหาราช) ยกมาตั้งที่วัดลุ่ม พระระยองบุญเมืองคงมีความลำบากใจมาก เพราะจะยอมอ่อนน้อมเข้าด้วยก็เกรงว่าทางกรุงศรีอยุธยาจะหาว่ากบฏเพราะเหตุว่าช่วงระยะเวลาดังกล่าวกรุงศรีอยุธยายังไม่ได้เสียแก่พม่า ครั้นจะป้องกันเมืองระยองก็เห็นว่าคงจะสู้ไม่ได้ จึงดำเนินนโยบายแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น โดยออกมาต้อนรับกองทัพพระยากำแพงเพชร ประหนึ่งว่าแม่ทัพเดินทัพผ่านมา นำเสบียงอาหารมาเลี้ยงดูกองทัพจากเมืองกรุงฯ และหาได้ยินยอมให้กองทัพเข้าเมืองไม่ แต่พระยากำแพงเพชรคงจะรู้ความในใจของพระระยองบุญเมือง ฉะนั้นเมื่อตั้งค่ายพักแรมที่วัดลุ่มนั้นได้สั่งให้ทหารตั้งค่ายขุดคูล้อม และวางขวากหนามป้องกันตามธรรมเนียมการตั้งค่ายศึก

ส่วนคณะกรมการเมืองระยอง        มีผู้ไม่เห็นด้วยจำนวนมากที่ยอมอ่อนน้อมต่อ

กองทัพพระยากำแพงเพชร โดยเฉพาะขุนรามหมื่นซ่อง หลวงพลแสนหาญ ขุนจ่าเมืองด้วง นายทองอยู่ นกเล็ก (นายทองอยู่ นกเล็ก เป็นนายซ่องชาวเมืองชลบุรี เคยรับอาสากรมหมื่นเทพพิพิธเป็นนายทัพรักษาค่ายปากน้ำโยธกาแต่ถูกกองทัพพม่าตีแตก ดังกล่าวไว้ในตอนต้น) คณะกรรมการเมืองเหล่านั้นให้ความเห็นว่าพระยากำแพงเพชรทิ้งค่ายวัดพิชัยหนีเอาตัวรอด ผิดพระราชอัยการศึกอยู่แล้ว อีกประการหนึ่ง กรุงศรีอยุธยา ก็ยังมิได้เสียแก่ข้าศึก การอ่อนน้อมเข้าด้วยกับพระยากำแพงเพชร ครั้งนี้ เมืองระยองก็เท่ากับเป็นกบฏต่อราชธานี ความลับดังกล่าวนั้นได้ล่วงรู้ถึงพระยากำแพงเพชร เมื่อนายบุญรอด แขนอ่อน นายบุญมา น้องเมียพระยาจันทบูร และนายมาด (พระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทุมาศ (เจิม) ไม่มีชื่อ นายมาด แต่พระราชพงศาวดารฉบับบริติชมิวเซียมมีชื่อ นายหมวก) ขอถวายตัวทำราชการกับพระยากำแพงเพชร และได้นำความลับดังกล่าวมาแจ้งให้ทราบ เมื่อพระยากำแพงเพชรทราบข่าวลับ จึงชิงดำเนินการก่อนที่กรมการเมืองระยองจะรู้ตัวอีกประการหนึ่งพระยากำแพงเพชรระแวงเจ้าเมืองไม่ให้ความร่วมมืออยู่ก่อนแล้ว ดังที่ท่านไม่กล้าที่จะเข้าเมืองนครนายก เมืองฉะเชิงเทราเพื่อเจรจาขอให้เข้าด้วย

ครั้นมาถึงเมืองระยองสถานภาพกองทัพของท่านดีขึ้น ประเมินกำลังว่าคงจะตี

หักเอาเมืองระยองได้ การที่พระระยองบุญเมืองปฏิสันถารต้อนรับนั้นก็เป็นมารยาทของเจ้าเมืองที่ต้องเลี้ยงดู ให้เสบียงอาหารแก่กองทัพหลวงที่เดินทางผ่านมาเท่านั้น หาได้เป็นใจที่จะอ่อนน้อมเข้าด้วยแต่อย่างไรไม่ ฉะนั้นพระยากำแพงเพชรจึงให้หาพระระยองฯ มาปรึกษายังค่ายวัดลุ่มทันที พระระยองฯ ไม่ทราบว่าความลับล่วงรู้ไปถึงพระยากำแพงเพชรแล้ว จึงไปหาที่ค่ายด้วยความซื่อ ครั้นถึงค่ายวัดลุ่มพระยากำแพงเพชรได้สอบสวนหาความจริง

ส่วนกรมการเมืองระยองสำคัญๆ ที่เป็นผู้นำในการเข้าปล้นค่ายวัดลุ่มของพระยา

กำแพงเพชร ต่างก็แตกหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศคนละทาง ขุนรามหมื่นซ่องได้มุ่งไปตั้งค่ายซ่องสุมกำลังพลที่บ้านประแส แขวงเมืองจันทบูร (สมัยอดีตบ้านประแสขึ้นกับเมืองจันทบูร) เกลี้ยกล่อมชาวบ้านนิคมในละแวกใกล้เคียง คือ บ้านไร่ บ้านกร่ำ เมืองแกลง นับวันว่ากองกำลังของขุนรามหมื่นซ่องจะเข้มแข็ง

พระยากำแพงเพชรจึงยกทัพจากเมืองระยองไปปราบกองกำลังของขุนรามหมื่น

ซ่องที่บ้านประแส บ้านไร่ บ้านกร่ำ เมืองแกลง ในครั้งนั้นกองทัพของขุนรามหมื่นซ่องได้ต่อสู้เป็นสามารถ จนถึงตะลุมบอนฟันแทง กองทัพของขุนรามหมื่นซ่องแตกพ่าย ตัวขุนรามหมื่นซ่องหนีไปพึ่งพระยาจันทบูร กองทัพพระยากำแพงเพชรจับได้ทหาร ครอบครัว ผู้คนไว้ได้จำนวนมาก และได้หัวหน้าที่เป็นกำลังสำคัญต่อมาของพระยากำแพงเพชรหลายคน เช่น นายบุญมีบางเหี้ย นายแทน นายมี นายเมืองพม่า นายสนหมอ นายบุญมีบุตรนานสน ได้ช้างม้าโคกระบือจำนวนมาก และทรงตั้งหัวหน้านิคมคามบำรุงรี้พลให้มีกำลัง รวมทั้งเกลี้ยกล่อมอาณาประชาราษฎร์ที่แตกหนีเข้าป่ากลับมาเป็นจำนวนมาก ครั้นสำเร็จราชกิจปราบกองกำลังของขุนรามหมื่นซ่องแล้วก็กลับมาตั้งที่

หมายเลขบันทึก: 393806เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2010 16:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท