มาตรฐานการศึกษาของชาติ


 
มาตรฐานการศึกษาของชาติ
มาตรฐานที่ ๑ ์ เป้าหมายของการจัดการศึกษาอยู่ที่การพัฒนาคนไทยทุกคนให้เป็น "คนเก่ง คนดี และมีความสุข" โดยมีการพัฒนา คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์ ที่เหมาะสมกับช่วงวัย พัฒนาคนตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ตรงตามความต้องการทั้งในด้านสุขภาพร่างกาย ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก และจิตใจสติปัญญา ความรู้และทักษะ คุณธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข 
๑.๑ กำลังกายกำลังใจที่สมบูรณ์ 
๑.๑.๑ คนไทยมีสุขภาพกายและจิตที่ดี มีพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย 
๑.๒ ความรู้และทักษะที่จำเป็นและ เพียงพอในการดำรงชีวิตและ 
๑.๒.๑ คนไทยได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนเอง
๑.๒.๒ คนไทยมีงานทำ และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงานและสร้างประโยชน์ให้กับสังคม 
๑.๓. ทักษะการเรียนรู้และการปรับตัว 
๑.๓.๑ คนไทย สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้ รู้ทันโรค รวมทั้งมีความสามารถในการใช้แหล่งความรู้และสื่อต่างๆ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม
๑.๓.๒ คนไทยสามารถปรับตัวได้ มีมนุษยสัมพันธ์ดีและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี 
๑.๔ ทักษะทางสังคม 
๑.๔.๑ คนไทยเข้าใจและเคารพในธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและสังคมมีทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข 
๑.๔.๒ คนไทยมีความรับผิดชอบ เข้าใจ ยอมรับ และตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน สามารถแก้ปัญหาในฐานะสมาชิกของสังคมไทย และสังคมโลกโดยสันติวิธี 
๑.๕ คุณธรรม จิตสาธารณะ และจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก 
๑.๕.๑ คนไทยดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต 
๑.๕.๒ คนไทยมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมและสังคม มีจิตสำนึกในเกียรติภูมิของความเป็นคนไทย มีความภูมิใจในชนชาติไทย รักแผ่นดินไทย และปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย เป็นสมาชิกที่ดี เป็นอาสาสมัครเพื่อชุมชนและสังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก
มาตรฐานที่ ๒ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนเห็นแบบอย่างที่ดี ได้ฝึกการคิด ได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงแนวการจัดการศึกษา ที่หลากหลาย ตรงตามความต้องการ และมีความสุขในการเรียนรู้ ครู คณาจารย์รู้จักผู้เรียนเป็นรายบุคคล เตรียมการสอน จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน และใช้สื่อที่ผสมผสานความรู้สากลกับภูมิปัญญาไทย จัดบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ จัดหาและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ เป็นสำคัญและการบริหารโดยใช้ ที่หลากหลาย และพัฒนาความคิดของผู้เรียนอย่างเป็นระบบและสร้างสรรค์ ความสำเร็จของกระบวนการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาเป็นฐาน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ขึ้นอยู่กับ 
๑) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ผู้เรียน ครู คณาจารย์ ผู้บริหาร ผู้ปกครองและสมาชิกชุมชน และ
๒) ปัจจัยด้านการบริหาร ได้แก่ หลักการบริหารจัดการ และหลักธรรมาภิบาล
๒. ๑ การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ 
๒.๑.๑ มีการจัดหลักสูตรที่หลากหลายตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียนทุกระบบ สอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียน และท้องถิ่น สนับสนุนการพัฒนา ศักยภาพของผู้เรียน 
๒.๑.๒ ผู้เรียนมีโอกาส / สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่างๆ ที่จัดไว้อย่างทั่วถึง
๒.๑.๓ องค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีอาคารสถานที่ มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย และความปลอดภัย
๒.๑.๔ มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ สื่อเพื่อการเรียนรู้ และการให้บริการเทคโนโลยีสารนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 
๒.๒ มีการพัฒนาผู้บริหาร ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ 
๒.๒.๑ ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ 
๒.๒.๒ ผู้บริหาร ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม มีความพึงพอใจในการทำงานและผูกพันกับงาน มีอัตราการออกจากงาน และ อัตราความผิดทางวินัยลดลง 
๒.๒.๓ มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่มและติดตามการดำเนินงานของบุคลากร และสถานศึกษา ตลอดจนการสั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย 
๒.๓ มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน 
๒.๓.๑ องค์กร ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามสภาพท้องถิ่น สภาพปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน 
๒.๓.๒ ผู้รับบริการ / ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการทางการศึกษาของสถานศึกษา ๒.๒.๓ มีการกำหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา เพื่อนำไปสู่
การพัฒนาคุณภาพ และสามารถรองรับ การประเมินภายนอกได้
มาตรฐานที่ ๓ การเรียนรู้ ความรู้ นวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยี เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ การส่งเสริมและ แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้/ การสร้างกลไกเพื่อให้คนไทยทุกคนมีโอกาสและทางเลือกที่จะเข้าถึงปัจจัยและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลิดชีวิตด้วยรูปแบบ สังคมแห่งความรู้ และวิธีการที่หลากหลาย โดยการได้รับความร่วมมือ จากทุกภาคส่วนของสังคม จะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพ ประสิทธิภาพ การสร้างวิถีการเรียนรู้ และแหล่ง และขีดความสามารถของคนไทยในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ การเรียนรู้ให้เข้มแข็ง 
๓.๑ การบริการวิชาการ และสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชน ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ / สังคมแห่งความรู้ 
๓.๑.๑ สถานศึกษาร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ทุกระดับ ร่วมจัดปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน และให้บริการ ทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคนในชุมชน เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและคนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต 
๓.๑.๒ ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสถานภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ / สังคมแห่งความรู้ มีความปลอดภัย ลดความขัดแย้ง มีสันติสุข และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
๓.๒ การศึกษาวิจัย สร้างเสริม สันบสนุนแหล่งการเรียนรู้และกลไกการเรียนรู้ 
๓.๒.๑ ศึกษาวิจัย สำรวจ จัดหา และจัดตั้งแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ 
๓.๒.๒ ระดมทรัพยากร(บุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ภูมิปัญญาและอื่นๆ) และความร่วมมือจากภายในและภายนอกสถานศึกษา ในการสร้างกลไกการเรียนรู้ทุกประเภท เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ และสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จริง
๓.๒.๓ ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาประเทศ 
๓.๓ การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม 
๓.๓.๑ ครอบครัว ชุมชน องค์กรทุกระดับ และองค์กรที่จัดการศึกษามีการสร้างและใช้ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรม แห่งการเรียนรู้

     

           
          
 
  
                    

หมายเลขบันทึก: 39380เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท