การเดินทางไปสัมภาษณ์ นักพัฒนาชุมชน3


การเตรียมตัว ไปสัมภาษณ์ นักพัฒนาชุมชน3

เป็นครั้งแรกที่ได้ไปสัมภาษณ์ ภาคค หลังจากสอบติดภาคข เช้าวันที่ 5 กันยายน 53 เดินทางออกจากบ้าน (เมืองพล) ตั้งแต่เช้าถึงอบต.ปะเคียบประมาณ 8.30 น ลงทะเบียนแล้วนั้งรอ เป็นคนลำดับที่ 45 จากทั้งหมด 52 คน ได้เข้าสอบตอน 11.45 น. มีคำถาม 2 ข้อคือ

1. แนะนำตัว ประวัติ การทำงาน

2. อยากพัฒนาสิ่งใดเป็นอยากแรก

 

สอบสัมภาษณ์...ก้อแล้ว.....กลับบ้านนั่งรอประกาศผลสอบ ณ.วันนี้ยังไม่ประกาศผลเลย

     สิ่งที่ได้จากการไปสัมภาษณ์ ....ในครั่งนี้  คือ

1. การแต่งตัว เราทำงานในงานเอกชนซะจนเคยชิน ...ก็เลยไปสัมภาษณ์โดยการใส่กางเกงแต่เป็นกางเกงผ้าและเสื้อเชิ๊ตก็ดูสุภาพเรียบร้อยนะไม่น่าจะผิดระเบียบอะไร และไปสัมภาษณ์ตำแหน่งพัฒนาฯ น่าจะดูทะมัดทะแมง (หรือไม่ คิดเอาเอง)....แต่เมื่อไปถึงสนามสอบ เฮ้ย...ทุกคนที่เป็นผู้หญิงเค้าใส่กระโปรงกันหมดเลย...เราเป็น  1 หรือ 2 คน(จากที่มองสำรวจ) ที่ใส่กางเกง...นึกในใจเราไม่น่าเลย มาสอบงานราชการควรจะใส่กระโปรงมาให้มันดูเรียบร้อยกว่านี้นะ....

2. การเตรียม แฟ้มผลงาน (Portforio) อาจจะเป็นจุดหนึ่งที่สำคัญเรามองข้ามไป เราเห็นผู้รอสัมภาษณ์บางคนก็ถือ Portrorio ไปด้วย เราก็นึงว่ามันก็เป็นจุดหนึ่งที่จะทำให้เรา Present ตัวเองได้จากภาพได้นอกเหนือจากคำพูดของเราแล้ว ........ทำให้ผู้สัมภาษณ์มองเห็นภาพ และเข้าใจมากขึ้น....ไม่ได้กลับไปเราต้องไปทำ Portfori ของตัวเองซะแล้ว

 

ก็เลยได้ไปลองค้นหา มาดูซิเค้าเตรียมตัวกันอย่าไรบ้าง.........

การสอบภาคความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่ง (ภาค ค.)

การสอบภาคความรู้ความเหมาะสมกับตำแหน่ง คือการสอบภาค ค. หรือการ สอบสัมภาษณ์ นั้นเอง

1. ความสำคัญของการสอบสัมภาษณ์       การสอบสัมภาษณ์มีความสำคัญมากด้วยเหตุผลดังนี้คือ

 

1.1 กรณีที่ผู้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ผ่านการสอบข้อเขียนแล้ว การสอบสัมภาษณ์จะเป็นด่านสุดท้ายที่จะชี้ขาดว่าผู้สอบจะสอบได้หรือสอบตก
1.2 กรณีคะแนนรวมเท่ากัน ผู้ที่ได้คะแนนวิชาภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (การสอบสัมภาษณ์) มากกว่า ู้นั้นจะได้รับการจัดอันดับเป็นผู้ที่สอบได้ในอันดับที่สูงกว่า

2. วัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์   มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญดังนี้ คือ

 

2.1 เพื่อพิจารณาบุคลิกลักษณะว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่  
2.2 เพื่อพิจารณากิริยามารยาท ท่วงที วาจา ว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่
2.3 เพื่อพิจารณาเชาว์ ไหวพริบ สติปัญญา และการใช้วาจาโต้ตอบว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่  
2.4 เพื่อทดสอบอารมณ์และจุดยืนที่ซ่อนอยู่ภายในว่าจะเหมาะสมกับตำแหน่งหรือไม่       
                          

3. การอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

 

การสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ       ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับ          การสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย

4. ลักษณะคำถามที่ใช้ในการสอบสัมภาษณ์

 

 ประเภทที่ 1 เป็นคำถามอิสระแล้วแต่กรรมการสอบสัมภาษณ์จะเลือกตั้งคำถามขึ้นเองได้ตามความเหมาะสม    
 ประเภทที่ 2 เป็นคำถามที่ฝ่ายดำเนินการสอบสัมภาษณ์จัดเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว   ในทำนองเป็น คลังข้อสอบสัมภาษณ์   เมื่อถึงเวลาสอบสัมภาษณ์อาจให้ผู้เข้าสอบหรือกรรมการสอบสัมภาษณ์เป็นผู้หยิบคำถามจากกล่องหรือภาชนะที่จัดไว้เมื่อหยับได้คำถามใดก็สัมภาษณ์กันในคำถามนั้น
ประเภทที่ 3   เป็นการนำคำถามประเภทที่หนึ่งและประเภทที่สองผสมกัน       กล่าวคือเปิดโอกาสให้กรรมการสอบสัมภาษณ์ตั้งคำถามได้โดยอิสระส่วนหนึ่ง       และอีกส่วนหนึ่งเป็นคำถามที่ได้มาโดย การหยิบคำถามจากกล่อง หรือภาชนะที่ฝ่ายดำเนินการสอบสัมภาษณ์เตรียมไว้ ไม่ว่าเป็นคำถามประเภทใดก็ตาม คำถามที่ใช้ในการสอบสัมภาษณ์บ่อย ๆ    มักเป็นดังนี้                              

4.1 คำถามเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว    เพื่อทราบภูมิหลังและสร้างความคุ้นเคย   เช่น   ชื่อ   สกุล   อายุ ภูมิลำเนา การศึกษา
4.2 คำถามเกี่ยวกับข้อสอบข้อเขียนที่สอบไปแล้ว       เพื่อประเมินว่าผู้เข้าสอบทำข้อสอบได้มากน้อยเพียงใด และเพื่อหาประเด็นซักถามในบางหัวข้อ
4.3 คำถามเกี่ยวกับความเห็น หรือทัศนคติเกี่ยวกับตำแหน่งที่สอบ หน่วยงานที่รับสมัครสอบ
4.4 คำถามเกี่ยวกับหลักธรรมในทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น   ศีลห้า   พรหมวิหาร 4 ทศพิธราชธรรม วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
4.5 คำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน เช่น อาจจะหยิบยกหัวข่าวบางหัวข้อที่หนังสือพิมพ์ พาดหัว เพื่อทดสอบความรอบรู้และความคิดเห็น            
4.6 คำถามเกี่ยวกับความสำเร็จในชีวิต
4.7 คำถามเกี่ยวกับความล้มเหลวในชีวิต
4.8 คำถามเกี่ยวกับความรู้ทางวิชาการ
4.9 คำถามเกี่ยวกับเชาวน์ ไหวพริบ สติปัญญา
4.10 คำถามเกี่ยวกับบุคคลสำคัญของประเทศ กระทรวง กรม หน่วยงานที่รับสมัครสอบ
4.11 คำถามเบ็ดเตล็ด แล้วแต่กรรมการสอบสัมภาษณ์จะนึกขึ้นได้หรือแล้วแต่การสนทนาจะพาไปในทำนองลูกติดพัน

5. การแต่งกายเพื่อเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

 

5.1 แต่งกายด้วยชุดสุภาพเรียบร้อย   สีไม่ฉูดฉาด   และไม่มีลวดลาย
5.2 ตัดผมสั้น   ไม่ไว้หนวดเครา
5.3 ไม่ไว้เล็บยาว
5.4 ติดกระดุมเสื้อให้ครบ
5.5 เหน็บปากกาให้เรียบร้อย
5.6 รองเท้าเช็ดให้สะอาด   ขัดให้มันวาว
5.7 ไม่ใส่แว่นตาที่มิใช่แว่นสายตา

6.   การรายงานตัวเพื่อเข้ารับการสอบสัมภาษณ์   การรายงานตัวที่ดีควรเป็นดังนี้

 

6.1 ชาย ยืนตรงแล้โค้งคำนับอย่างสวยงาม หญิง ยืนตรงแล้วก้มตัวลงไหว้อย่างนอบน้อม โดย ทำความเคารพกรรมการสอบสัมภาษณ์คนที่เป็นอาวุโสหรือประธาน       หากไม่แน่ใจว่ากรรมการท่านใดเป็น ผู้อาวุโสหรือประธาน  อาจทำความเคารพไปยังตรงกลางที่บรรดากรรมการนั่งอยู่ ไม่ควรจะทำความเคารพ ทีละคนเพราะจะดูรุ่มร่าม   แต่ถ้ามีกรรมกรเพียง   2   คน   ก็อาจพออนุโลมให้ทำความเคารพทีละคนได้ แต่ถ้ากรรมการสอบสัมภาษณ์นั่งอยู่คนเดียวก็หมดปัญหาไป
6.2 ต่อจากนั้นให้รายงานตัวด้วยเสียงดังพอประมาณว่า     ผู้เข้าสอบชื่อ – สกุลอะไร   หมายเลขประจำตัวที่เท่าใด มาขอรับการสอบสัมภาษณ์
6.3 เมื่อกรรมการเชิญให้นั่ง    ให้กล่าวคำว่า      ขอบพระคุณหรือขอบคุณ     ถ้าเป็นชายอาจโค้งคำนับ หญิง อาจไหว้อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงนั่งลงในที่นั่งที่จัดไว้

7. การวางตัวในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

 

    ตามปกติการสอบสัมภาษณ์จะเป็นการคุยกันระหว่างผู้ใหญ่   (กรรมการ)   กับผู้น้อย (ผู้เข้าสอบ) ดังนั้น     ผู้เข้าสอบพึงวางตัวสำรวมเป็นการให้เกียรติหรือความเคารพแก่กรรมการ ไม่พึงวางตัวเสมอหรือทำตัวเหนือกว่า เพราะจะทำให้กรรมการขาดความเมตตาต่อผู้เข้าสอบได้ การวางตัวอย่างสำรวมนั้น หมายความว่า   วางตัวอย่างสงบ   ใบหน้ายิ้มน้อย ๆ พูดด้วยเสียงที่ดังพอประมาณ ไม่ค่อยเกินไปจนไม่ได้ยิน ไม่ดังจนเกินไปจนเป็นการตะโกน เสียงที่พูดไม่สั่นหรือประหม่า หากเกิดอาหารเสียงสั่นหรือประหม่า    อาจแก้ไขด้วยการหายใจยาว ๆ   ลึก ๆ   เข้าปอดให้เต็มสัก   3 – 5   ครั้ง สายตา ไม่ควรเหม่อขึ้นบนหรือเหม่อลงล่าง ควรมองที่ใบหน้าของกรรมการที่บริเวณกึ่งกลางระหว่างคิ้วหรือริมฝีปาก แต่ไม่ควรมองแบบจ้องเขม็ง

 8. การซักถามกรรมการในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์  

 

    คนที่ตอบคำถามได้คล่องแคล่ว     วาจาฉะฉานย่อมเป็นที่พอใจของกรรมการสอบสัมภาษณ์มากกว่า คนที่ตอบคำถามอย่างติดขัดหรืออ้ำอึ้ง         กรณีกรรมการสอบสัมภาษณ์ซักถามในบางคำถามที่ผู้เข้าสอบตอบไม่ได้ หรือ ตอบไม่ได้ดี    อาจทำให้เกิดอาการงงหรือเกร็ง   นั่งนิ่งอึ้ง    พูดไม่ออกซึ่งจะเป็นเหตุให้ผู้เข้าสอบเสียคะแนน เพื่อป้องกันมิให้เกิดอาการดังกล่าว เมื่อผู้เข้าสอบเผชิญสถานการณ์เช่นนั้น ควรจะปฏิบัติตนดังนี้

 8.1 ขอประทานโทษกรรมการ   ให้ถามซ้ำอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่ากรรมการถามอะไรกันแน่ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เข้าสอบมีโอกาสตรึกตรองในระหว่างที่รอกรรมการถามซ้ำ

8.2 เมื่อได้ฟังคำถามซ้ำจากกรรมการแล้ว    หากปรากฏว่ายังตอบไม่ได้    หรือตอบไม่ได้ดีควรจะออกตัวอย่างสุภาพว่า เรื่องดังกล่าวผู้เข้าสอบไม่ค่อยสันทัด โดยให้เหตุผลประกอบ เช่น ไม่เคยศึกษามาก่อน ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน    แต่ก็จะขออธิบายตามความเข้าใจ      ด้วยวิธีนี้กรรมการจะเกิดความประทับใจในตัว ผู้เข้าสอบที่รู้จักแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ยอมนั่งนิ่งจนมุม คำอธิบายในกรณีเช่นนี้ถูกหรือผิดไม่ใช่ประเด็นสำคัญแล้ว

9. การถูกยั่วยุในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

 

      การสอบสัมภาษณ์มีวัตถุประสงค์ประการหนึ่ง คือ ต้องการทดสอบอารมณ์ของผู้เข้าสอบว่าจะมีขีดความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ดีเพียงใด   กรรมการอาจตั้งคำถามหรือใช้ข้อความบางอย่างยั่วยุให้เกิดอารมณ์โกรธ   เกลียด   เสียใจ   หรือน้อยใจ      ผู้เข้าสอบบางคนเกิดความสะเทือนใจอย่างมากถึงกับร้องไห้ต่อหน้ากรรมการก็มี เช่น หญิงหม้ายบางคนซักถามถึงชีวิตครอบครัว กรรมการบางคนพยายามใช้ถ้อยคำซักถามต้อนให้ ผู้เข้าสอบพูดในสิ่งที่ซ่อนอยู่ในใจจนผู้เข้าสอบเกิดอาการอึดอัด     บางทีกรรมการใช้ถ้อยคำในลักษณะเป็นเชิงดูหมิ่น เพื่อให้โกรธ ในสถานการณ์เหล่านี้พึงทำใจให้สงบ สบาย ๆ พยายามยิ้มเข้าไว้แม้ว่า จะ เป็นการฝืนยิ้มก็ตาม

10. การเกิดอารมณ์ขันในขณะกำลังเข้ารับการสอบสัมภาษณ์

 

     ในการสอบสัมภาษณ์ครั้งใดหากผู้เข้าสอบสามารถพูดคุยหรือสนทนาจนกรรมการยิ้ม     หัวเราะหรือเกิดอารมณ์ ขอให้สบายใจได้ว่าจับทางกรรมการถูกต้อง และถ้าผู้เข้าสอบสามารถตอบคำถามได้คล่องแคล่วถูกต้อง     คะแนนสัมภาษณ์ในครั้งนี้จะต้องดีแน่นอน   อย่างไรก็ดี   การมีอารมณ์ขันก็มีขอบเขตจำกัดคือ   ควรจะมีอารมณ์ขันในอาการสำรวม    ไม่ควรปล่อยให้มีอารมณ์จนดูเสียบุคลิกหรือมารยาทไป    มิฉะนั้น กรรมการอาจจะมองว่าผู้เข้าสอบเป็นคนเจ้าสำราญ ไม่เอาจริงเอาจัง ขี้เล่น จนไม่ว่าไว้ใจว่าจะมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ถ้าเผอิญเกิดอารมณ์ขันสุดขีดจนหัวเราะไม่หยุด ควรจะรีบนึกถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องจริงจัง   เพื่อน้อมใจให้สงบ เสร็จแล้วควรจะขออภัยกรรมการด้วย

11. กรณีที่กรรมการสอบสัมภาษณ์ไม่ค่อยซักถาม

 

             บรรยากาศปกติของการสัมภาษณ์น่า จะ เป็นว่ากรรมการถาม     ผู้เข้าสอบตอบและสนทนากันไป โดยผู้เข้าสอบควรดูสีหน้าของกรรมการประกอบด้วยว่า       ยังคงให้ความสนใจที่จะฟังคำตอบของตนเรื่องนั้น ๆ หรือไม่    หากดูทีท่ากรรมการไม่สนใจที่จะฟังคำตอบอาจจะหยุดเพื่อเปิดโอกาสให้กรรมการซักถามต่อ      อาจจะเป็นเพราะว่ากรรมการเหนื่อยเนื่องจากสอบสัมภาษณ์มาทั้งวัน  เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะเกิดสภาพแบบต่างฝ่ายต่างนิ่ง สภาพเช่นนี้ไม่เป็นผลดีแก่ผู้เข้าสอบ     กรรมการอาจจะเห็นว่าพูดไม่คล่องไม่น่าฟังไม่น่าประทับใจ    หรืออาจจะเชิญผู้เข้าสอบลุกขึ้นและบอกว่าเสร็จแล้ว    การป้องกันและแก้ปัญหาเช่นนี้     ควรจะทำโดยผู้เข้าสอบเป็นฝ่ายเริ่ม พูดขึ้นก่อน       เช่น     ขอเสริมคำพูดในบางประเด็นที่ได้พูดไปแล้วแต่เห็นว่ายังไม่ชัดเจนหรือแม้ว่าจะเสนอข้อเท็จจริง หรือความเห็นบางอย่างให้กรรมการรับทราบก็ยังได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การสนทนาดำเนินต่อไปได้

12. เมื่อการสอบสัมภาษณ์ยุติลง

 

          เมื่อกรรมการสอบสัมภาษณ์บอกว่า   การสอบสัมภาษณ์เสร็จแล้วให้ท่านกล่าว   ขอบคุณ ลุกขึ้น แล้วทำความเคารพอย่างนอบน้อม        โอกาสนี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่ผู้เข้าสอบจะตักตวงคะแนนจากการสอบสัมภาษณ์ ดังนั้นจึงไม่ควรรีบลุกขึ้นด้วยอาการลุกลี้ลุกลนจนขาดความสง่างาม

 

 

13. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้คะแนน

 

        เมื่อผู้เข้าสอบลุกขึ้นและโค้งคำนับหรือไหว้ออกไป   กรรมการจะพิจารณาคะแนนทันที ปกติ จะไม่มีผู้ใดสอบสัมภาษณ์ตก ยกเว้นผุนั้นบุคลิกลักษณะและการพูดจาโต้ตอบแย่จริง ๆ   กรรมการอาจจะให้สอบ ตกได้        ในทางตรงกันข้ามปกติจะไม่มีผู้ใดสอบสัมภาษณ์ได้เต็ม   ยกเว้นผู้นั้นจะมีบุคลิกลักษณะจากการพูดจาโต้ตอบ เป็นที่ประทับใจกรรมการจริง ๆ เพื่อป้องกันมิให้มีการเปรียบเทียบในการสอบสัมภาษณ์มากเกินไป ทางราชการนิยมกำหนดคะแนนต่ำสุด   และคะแนนสูงสุดที่กรรมการแต่ละคนจะให้ได้   เช่น   คะแนนสอบสัมภาษณ์เต็ม 100 คะแนน    กรรมการจะให้คะแนนต่ำสุด   75   คะแนน   และคะแนนสูงสุด     85   คะแนน    หากจะให้คะแนนต่ำหรืสูงกว่า จะต้องให้เหตุผลในช่องหมายเหตุไว้

        การพิจารณาให้คะแนนผู้เข้าสอบสัมภาษณ์ของกรรมการแต่ละคน     อาจจะใช้ดุลพินิจแตกต่างกันไป แต่อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ผู้เข้ารับการสอบสัมภาษณ์ที่ได้คะแนนดี มักจะเป็นเช่นนี้

13.1 บุคลิกลักษณะดี   ได้แก่   รูปร่างหน้าตา   ท่าทาง   การแต่งกาย

13.2 การพูดจาสุภาพ   เสียงดังพอประมาณฟังได้ชัดเจน

13.3 การโต้ ตอบคล่องแคล่วไม่ ติดขัด แม้ว่าอาจจะไม่มีความรู้ดีพอในบางเรื่อง

13.4 เป็นคนมีอารมณ์ขัน   หากสามารถทำให้กรรมการยิ้มหรือหัวเราะได้จะดีมาก

13.5 การวางตัวอยู่ในลักษณะสำรวมและใบหน้ายิ้มแย้มเสมอ

ขอบคุณแหล่งที่มา  http://www.khonlung.com/pangnang.php

หรือ อีก 1 ตัวอย่าง

แนวข้อสอบสัมภาษณ์ อย่าง่าย ๆ
1.   เดินเข้าไปหน้าโต๊ะกรรมการสอบ ให้ทำความเคารพด้วยการไหว้ และกล่าวคำว่า สวัสดีคับ/คะ ควรยืนตรงกลางด้านหน้ากรรมการ  ปกติจะมี 3 คน
2.   ถ้ากรรมการเชิญนั่งให้กล่าวคำขอบคุณแล้วนั่งเก้าอี้  นั่งแล้วควรขยับให้นั่งสบาย ไม่ควรนั่งชิดพนักจนเกินไป
ถ้ากรรมการไม่เชิญนั่งให้แนะนำตัวต่อเลย ตามนี้
   1.   สวัดดีคับกระผมชื่อ................................ลำดับที่...............เลขประจำตัวสอบ...............................
สมัครสอบในตำแหน่ง.............................ระดับ...........มารายงานตัวเพื่อขอรับการสอบสัมภาษณ์คับ
 กรรมการเชิญนั่ง ตอนนั่งหากมีเอกสาร หรือport ให้ยื่นให้กรรมการตอนนั้นเลย  ( ถ้าไม่เชิญนั่ง ) ให้ต่อด้วย ข้อ 2
2.ประวัติการศึกษา
   ประวัติการศึกษา จบการศึกษาชั้นสูงสุดในระดับ.......................  สาขาวิชา.........................เมื่อปี พ.ศ...........................จากมหาวิทยาลัย.............................. คับ (หากกำลังเรียนต่อให้บอกว่า ขณะนี้กำลังศึกษาต่อในระดับ................มหาวิทยาลัย........................
3.ประวัติการทำงาน
ให้แยกเป็นปี ๆ  หากมีการทำงานหลายที่  ถ้ามีที่เดียวให้บอกตำหน่งที่ทำงาน บริษัท ระยะเวลาการทำงานกี่ปี
4. ปัจจุบัน ทำงานอะไร ตำแหน่งอะไร

ข้อ 1 – 4 ให้เวลาประมาณ  ไม่เกิน 3 นาที
ต่อไป การตอบคำถามตามซองคำถาม หรือ คำถามที่กรรมการเตรียมไว้  คำถามก็จะมี
1.   ความรู้ทั่วไป  เหตุการณ์ปัจจุบัน ข่าวสาร
2.   พรบ กฏหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับตำแหน่งที่เราสอบ
3.   ความรู้ทั่วไปในจังหวัด  คำขวัญ ชื่อผู้ว่า  otop  สถานที่ท่องเที่ยว  หรืออาจจะเป็นความรู้ในตัวจังหวัดเราเองเลยคับ
4.   การตอบคำถามไม่ควรประหม่า เมื่ออ่านคำถามเสร็จ ควรพักแปปนึงเพื่อคิด แต่ไม่ควรนานเพื่อให้กรรมการรู้ว่าเราคิดก่อนตอบ  ถ้าไม่ทราบ หรือไม่แน่ใจ ให้บอกว่า ไม่ทราบคับ และจะกลับไปหาข้อมูลมาเพิ่มเติมครับ
5.   การตอบคำถามควรตอบด้วยความกระชับ ไม่ยืดยาวจนเกินไป  ไม่ควรชักแม่น้ำทั้ง 5  ควรตอบด้วยใจความสำคัญของคำถามนั้น ๆ
6.   เมื่อตอบคำถามเสร็จ กรรมการจะถามว่ามีอะไรจะถามต่อไหม  ควรตอบว่า ไม่มี  หากว่าตอบว่ามีกรรมการเค้าจะรุ้ว่าเราไม่ได้เพรียมข้อมูลมา
7.   พอกรรมการบอกว่าเรียบร้อยละ ให้ไหว้ และกล่าวคำขอบคุณ   ยืนขึ้น  และทำความเคารพอีกรอบ และเดินออกทางออกที่เค้าเตรียมไว้ให้  ไม่ควรเดินย้อนกลับไปทางที่นั่งรอสอบสัมภาษณ์
8.   หลังสอบสัมภาษณ์เสร็จควรออกจากที่สอบทันที ไม่ควรพูดคุยกับเพื่อนที่รอสอบ เดวกรรมการจะตัดคะแนนคับ
9.   การสอบสัมภาษณ์เป็นการวัดปฏิภาณ  ไหวพริบ ในการเตรียมตัวของผู้เข้าสอบ  ไม่ควรใจร้อน ตอบโดยไม่คิด   ควรมีความมั่นใจ  ไม่ประมาท  มีสมาธิ์  แค่นี้ก็อ สบายแล้ว  โชคดีคับ
ขอบคุณแหล่งที่มา http://www.thailocalmeet.com/index.php?topic=12608.0

 

หมายเลขบันทึก: 393779เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2010 15:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท