ความรู้เรื่องโรคภูมิแพ้ SLE


 SLE
Systemic Lupus Erythrematosus

          ในช่วงเวลาที่ผ่านมามักจะมีข่าว อาการและอันตรายจากภัยของโรคภูมิแพ้ ถึงขั้นทำให้เสียชีวิตอย่างดาราสาวที่มีชื่อว่า "หมอก-ณัฏสิมา" และนักร้องดังอย่าง "พุ่มพวง ดวงจันทร์" ซึ่งเสียชีวิตด้วยโรคเอสแอลอี ซึ่งภาษาทางการแพทย์ว่า Systemic Lupus Erythrematosus (ซิสเทมิกลูปัสอิริทรีมาโตซัส) เอสแอลอี เป็นชื่อเรียกทับศัพท์ของอักษรย่อในภาษาอังกฤษ โรคนี้มักจะมีความผิดปกติ ของอวัยวะได้หลายระบบพร้อมๆ กัน และอาจมีความรุนแรง ทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบมากในช่วงอายุ 20-45 ปี และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 10 เท่า

สาเหตุของโรคเอสแอลอี

          ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่เชื่อว่าเป็นผลมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีการตอบสนองอย่างผิดปกติต่อเชื้อโรคหรือสารเคมีบางอย่าง ทำให้มีภูมิต้านทานต่อเนื้อเยื่อต่างๆ ของตัวเอง จึงจัดเป็น โรคภูมิแพ้ต่อตัวเอง หรือ ออโตอิมมูน (autoimmune) ชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับโรคปวดข้อรูมาตอยด์
          แต่โรคนี้มักจะมีการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ เช่น ผิวหนัง ข้อกระดูก ไต ปอด หัวใจ เลือด สมอง เป็นต้น บางครั้งอาจพบสาเหตุกระตุ้นให้อาการกำเริบ เช่น ยาบางชนิด (ซัลฟา, ไฮดราลาซีน, โปรเคนเอไมด์, เตตราซัยคลีนที่เสื่อม) การถูกแดด การกระทบกระเทือนทางจิตใจ การตั้งครรภ์

อาการของโรคเอสแอลอีอาการปวดตามข้อ

          ที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามตัว ปวดและบวมตามข้อต่างๆ ซึ่งโดยมากจะเป็นตามข้อเล็กๆ (เช่น ข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า) ทั้งสองข้าง คล้ายๆ กับ โรคปวดข้อรูมาตอยด์ (แต่ต่างกันที่ไม่มีลักษณะหงิกงอ ข้อพิการ) ทำให้กำมือลำบาก อาการเหล่านี้จะค่อยเป็นค่อยไป เป็นแรมเดือน   

          นอกจากนี้ผู้ป่วยยังมักจะมีผื่นหรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูกทั้ง 2 ข้าง ทำให้มีลักษณะเหมือนปีกผีเสื้อ เรียกว่า ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash)
          บางรายมีอาการแพ้แดด คือ เวลาไปถูกแดด ผิวหนังจะมีผื่นแดงเกิดขึ้น และผื่นแดงที่ข้างจมูก (ผื่นปีกผีเสื้อ) จะเกิดขึ้นชัดเจน อาการไข้และปวดข้อจะเป็นรุนแรงขึ้น

ผื่นหรือฝ้าแดงขึ้นที่ข้างจมูกทั้ง 2 ข้างเรียกว่า ผื่นปีกผีเสื้อ (butterfly rash)

 อาการปวดตามข้อ 
 อาการตัวร้อนเป็นไข้ 

  ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
          1. ทำตามคำแนะนำของแพทย์และหมั่นไปรับการตรวจรักษาอย่างสม่ำเสมอ
          
2. หลีกเลี่ยงการตากแดด ใช้เครื่องสำอางที่ไม่จำเป็นอาจทำให้โรคกำเริบได้
          
3. ทำจิตใจให้สงบและทำความเข้าใจในโรคที่เป็นแล้วยอมรับพร้อมทั้งปรับตัวให้เหมาะกับสภาพนั้นก็จะเป็นทางทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
          
4. การรักษาโรคนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการติดต่อกับแพทย์โดยสม่ำเสมอทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการรักษาและประเมินผลการรักษาและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ไป จะได้พิจารณาการรักษาต่อไปได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
          5. พึงเข้าใจว่าโรคนี้เป็นโรคที่เรื้อรังที่จะต้องรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานาน และโรคนี้อาจจะสงบได้ในที่สุด

ที่มา : ตำราการตรวจโรคทั่วไปของ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
และแผ่นพับเรื่อง"ข้อแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคลูปุส" โดย ศ.นพ. อุทิศ ดีสมโชค 

 

คำสำคัญ (Tags): #sle
หมายเลขบันทึก: 393622เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 07:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มาจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ตอนนี้เป็นทรัพย์จางอ่ะค่ะ มีวิธีแก้มั้ยค่ะ แล้วสาเหตุเกิดจากอะไร เราควรมีวิธีแก้ไงดีค่ะ

อย่างนี้น้องเดียต้องไปหาหมอฟันแล้ว

ขูดหินปูนหน่อยเด๋วก็หาย

มีวิธีแก้ไขค่ะคุนน้อง....ต้องไปปรึกษาคุนสามีจ้า

เดี๋ยวนี้คนเป็นโรคนี้กันเยอะมากเลยอ่ะ

รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี

เพื่อนที่รู้จักตอนนี้ก็เป็นกันหลายคนเลยอ่ะค่ะ เห็นเพื่อนบอกว่าเป็นเเล้วรักษาไม่หายขาดเหรอคะ

ช่ายๆ ต้องกินยาตลอดเพื่อกดภูมิไม่ให้อาการมันกำเริบ

ที่จริงรู้สึกเบื่อที่จะรับประทานยา แต่ก็ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารตามคำแนะนำ ทำใจให้สบายไม่เครียด มีชีวิตเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ก็โอเค

ป๊อปเป็นโรค เอสเอลอี ประมาณปีกว่าแล้วค่ะตอนนี้กำลังรักษาตัวค่ะ

มีเคลียดบ้างเรื่องหลายเรื่องเลยต้องคิด อยากมีชีวิตอยู่ให้นานที่สุดค่ะ

อยากอยุ่กับพ่อแม่ให้นานๆเศร้าน่ะค่ะแต่ก้อเข้าใจว่าคนเราเลือกเกิดไม่

ได้ค่ะ ป๊อปขอสู๋เพื่อพ่อแม่พี่และคนที่ป๊อปรักอีกคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท