ฝึกโปงลาง


การตีโปงลางเบื้องต้น

การฝึกตีโปงลางเบื้องต้น

การฝึกดนตรีไม่ว่าจะชิ้นใดต้องอาศัยการฝึกอย่างสม่ำเสมอ  ฝึกอย่างต่อเนือง ฝึกจนชำนาญ  ฝึกมากเก่งมาก   ฝึกบ้างอยุดบ้าง  ก็อาจจะไม่ได้อะไร การตีโปงลางก็เช่นกันก็ต้องฝึกบ่อยๆ จนชำนาญ 

วิธีการฝึก

๑.   จะนั่นตีหรือยืนตีก็ได้ ตามความถนัด โดยจะอยู่ทางด้านซ้ายของโปงลาง

๒.   การจับมือตี จะต้องจับให้ถนัดไม่แน่นหรือหลวมเกินไป

๓.   ฝึกสัมผัสมือและการจำตัวโน้ต  โดยใช้มือซ้าย-ขวา ตีสลับกันไปทีละเสียงจากเสียงบนสุดถึงเสียงล่างสุดและจากล่างสุดถึงบนสุด  ตามจังหวะอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ รอบ

๔.   ฝึกการสัมผัสมือ โดยแยกมือ   ใช้มือขวาตีเสียงจากบนสุดถึงล่างสุดและจากล่างสุดถึงบนสุดแต่ใช้มือซ้ายตีอยู่เสียงเดียวคือ  "ล" ( เสียงที่ ๓ จากด้านบน )  ตี ๒ มือพร้อมกันตามจังหวะอย่างสม่ำเสมอ   หรือครูเป็นผู้เคาะจังหวะตาม

๕.   ฝึกการสัมผัสแยกมือแยกเสียง  ใช้มือซ้ายอยู่ที่เสียงเดียว เช่นเดียวกับข้อ ๔  และมือขวาตีไล่เสียงจากบนลงล่างและจากล่างขึ้นบนทีละเสียง  แต่ตีเสียงละ ๒ ครั้ง จึงเปลี่ยน  ส่วนมือซ้ายตีพร้อมมือขวาในจังหวะที่ ๒ ในแต่ละเสียง  ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจังหวะสม่ำเสมอ

๖.   ฝึกการ   กรอ   รัว   สะบัด

กรอ  -   คือการตีมือซ้าย-ขวา สลับกันถี่ ๆ จากช้าไปหาเร็ว โดยตีมือซ้ายก่อน ที่โน้ตเสียงลาต่ำ  "ลฺ"  และมือขวาตีโน้ตชื่อเดียวกันที่เสียงลาสูง  "ลํ"

รัว  -   คือการตีมือซ้าย-ขวา สลับกันถี่ ๆ จากช้าไปหาเร็ว  ที่โน้ตตัวเดียวกันทั้ง ๒ มือ

สะบัด- คือการตีมือ  ขวา-ซ้าย-ขวา  สลับกันอย่าวเร็ว  โดยใช้โน้ต ๓ ตัว  จากล่างขึ้นบนหรือจากบนลงล่างก่อนก็ได้

๗.   เมื่อฝึกขั้นตอนเบื้องต้นได้ชำนาญแล้ว ครูจึงต่อเพลงให้ โดยเริ่มเพลงที่มีจังหวะ  ช้า ๆ   สั้นๆ  ง่ายกับการจำก่อนแล้วค่อยเพิ่มความยากขึ้น  ในขณะที่ฝึกครูเป็นผู้ควบคุมจังหวะให้เล่นจากช้าๆ  ไปหาเร็ว

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 393483เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กำลังจะทำวงรบกวนฝากตัวขอความรู้อาจารย์ด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท