BSC Balance Scorecard


BSC สุ่ การพัฒนาองค์กรด้านการศึกษา

การบริหารจัดการแบบสมดุล

BSC : Balance Scorecard

สามารถนำหลักการบริหารจัดการทั้งองค์กรมาแยกออกให้ชัดเจนเป็น 4 มุมมอง

จากนั้นปรับปรุงโดยใช้ PDCA : Plane Do Check Action เข้าไปใช้ในการทำการพัฒนาทั้ง 4 ด้าน

1.มุมมองด้านการเงิน (Finance) มองถึงผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการด้านการศึกษา ในแง่ของสถานศึกษารัฐ ต้องบรรลุผลสำเร็จในการลดค่าใช้จ่ายของการบริหารจัดการ คือการใช้เงินงบประมาณที่ได้มาอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ในแง่ของสถานศึกษาเอกชนจะตรงกันข้ามกับการบริหารแบบเอกชนและนำ PDCA เข้ามากำหนดเกณฑ์มาตรฐาน

2.มุมมองด้านลูกค้า (Customers) มองถึง - การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม - ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ - การสร้างเครือข่าย และการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม และนำ PDCA เข้ามากำหนดเกณฑ์มาตรฐาน

3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Processes) - หลักสูตรและวิธีการเรียนการสอนที่มีความตอบสนองกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม - มีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอก (เช่น การนำ KM เป็นตัวเชื่อมโยงความรู้) - การประชาสัมพันธ์เชิงรุก - มีระบบประกันคุณภาพภายในและระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ คล่องตัว เพื่อการตรวจสอบและพัฒนาปรับปรุงได้ในอนาคต และนำ PDCA เข้ามากำหนดเกณฑ์มาตรฐาน

4. มุมมองด้านการเรียนรู้และเติบโต (Learning&Growth) เป็นสิ่งที่องค์กรการศึกษามีอยู่แล้ว เช่น การพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลให้มีความสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ การพัฒนาระบบ IT เพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนจัดสภาพแวดล้อมอย่างเหมาะสม ทั้งนี้ต้องไม่ลืมที่จะสร้างบุคลากรทั้งสายผู้สอนและสายสนับสนุนให้เป็นผู้ที่มีความรู้เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ต่าง ๆ และนำ PDCA เข้ามากำหนดเกณฑ์มาตรฐาน

หมายเลขบันทึก: 392714เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2010 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท