บริหารความเสี่ยง


เคยเข้าฟังเรื่องการจัดประชุมเรื่อง Risk Management ที่องค์กรต้องมีนานแล้ว ฟังครั้งนั้นก็รู้สึกว่าเป็นหัวข้อสำคัญน่าสนใจ เป็นแนวคิดในด้านต่างๆได้

พออ่านข่าวมติชน ปล้น ธ.ทหารไทย 16 ล้าน ง่ายดาย 12.30 น  (ข่าวว่า คล้ายปล้นเงิน ฟาร์มเฮ้าส์)

ก็ให้เข้าใจว่า การปฎิบัติงานขนเงินสดนี้ ไม่มีระบบอะไรมาก (อ่านแล้วนึกภาพเหมือนการขนสินค้าทั่วไปเลย)

กรณีนี้เป็น ธุรกิจการเงิน

จริงๆพันคำนึกว่าจะต้องมีคนคอยระแวดระวัง เมื่อเห็นคนร้ายเข้าใกล้ก็เข้าไปในรถกดล็อคแล้วกดปุ่มเสียงไซเรน หรือถ้าไม่ทันก็น่าจะมีอุปกรณ์อะไรทำนองนั้นที่เอวที่กดแล้ว เสียงดังสนั่นหวั่นไหวปานแก้วหูจะแตก ที่ตัวธนาคารเองก็น่าจะต้องมี ร.ป.ภ. มองดูแลให้เป็นระบบขั้นที่สอง พร้อมที่จะติดต่อกำลังช่วยเหลือ หรือรถปฏิบัติการดังกล่าวต้องจอดในบริเวณกำหนดพร้อมทั้งมีกล้องบันทึกภาพเพื่อรายงานการปฏิบัติการ

 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1284027694&grpid=00&catid=

 


อันนี้ถือว่า คุยกันในฐานะเคยเข้าฟังบรรยายครับ (ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ !) ทำนองว่าหลังจากฟังเรื่องบริหารความเสี่ยงแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไรต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเท่านั้นครับ เหมือนกับนำความคิดเข้ามาเทียบสถานการณ์จริงๆ

นั่นคือ องค์กรต้องมีแนวปฏิบัติ แบบบริหารความเสี่ยง

องค์กรต้องตรวจสอบ มีจุดเสี่ยงใดบ้างที่สำคัญในการปฏิบัติงาน (รวมทั้งระดับความสำคัญด้วย) และมีขั้นตอนที่คิดขึ้น ที่สามารถใช้ป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นขณะเดียวกันต้องซ้อมแนวปฏิบัติ (ไม่ต้องถี่มากจนผู้ปฏิบัติไม่ชอบและไม่ร่วมมือ หรือห่างมากจนคิดว่าเลิกให้ความสำคัญหรือเลิกฮิตแล้ว)

นอกจากวิธีปฏิบัติที่รัดกุม ตัวบุคคลก็เป็นจุดเสี่ยง เช่นความล้าในการปฏิบัติงาน หรือวัยที่มากขึ้น ฯลฯ ก็ต้องมีระบบการจัดเปลี่ยนหมุนเวียนบุคคล

>

>

หมายเลขบันทึก: 392515เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2010 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท