กำแพงเตโช
นาย อภิวัฒน์ กำแพงเตโช สมนึก

บันทึกของเสด็จใน กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์


บันทึกของเสด็จใน กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์

 

บันทึกของเสด็จใน

กรมหลวงชุมพร เขตอุดมศักดิ์


เจอบันทึกนี้ให้เอาคำต่อไปนี้ของกูไปประกาศให้คนรู้ว่า

"กูกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักด์"

ผู้เป็นโอรสของพระปิยมหาราช ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า

แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษ ได้เอาเลือดเอาเนื้อเอาชีวิตแลกไว้

ไอ้อีมันผู้ใด คิดชั่วร้ายทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ฤา กระทำการทุจริต ก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม

จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว

ก่อนที่ที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโคตรให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยาม

อันเป็นที่รักของกู

ตราบใดที่คำว่า "อาภากร"

ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กูจะรักษาผืนแผ่นดินสยามของกู

ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา

มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น

แผ่นดินใดที่ให้ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข

มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น

 

 




หมายเลขบันทึก: 392496เขียนเมื่อ 9 กันยายน 2010 18:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพร เขตรอุดมศักดิ์ เป็นเจ้านายพระองค์แรก ที่สำเร็จการศึกษา วิชาการทหารเรือ จากประเทศอังกฤษ พระองค์ทรงมีจุดประสงค์ อันแรงกล้าที่จะฝึก ให้ทหารเรือไทย เดินเรือทะเลได้อย่างชาวต่างประเทศ และ สามารถทำการรบ ทางเรือได้เนื่องจากในอดีต ประเทศไทย ได้ว่าจ้างชาวต่างชาติ มาเป็นผู้บังคับการเรือ มาโดยตลอด แม้แต่ในคราวที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสฯ ยุโรปครั้งแรก ก็ยังได้ว่าจ้าง " กัปตันคัมมิ่ง" และคณะนายทหาร เรืออังกฤษ เป็นผู้เดินเรือ ภายหลังจากที่พล.ร.อ. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ สำเร็จการศึกษา และเข้ารับราชการ ทหารเรือแล้ว พระองค์ได้แก้ไข ปรับปรุงระเบียบการ ในโรงเรียนนายเรือ ทรงเป็นครูสอนนักเรียนนายเรือ และริเริ่มการใช้ ระบบการปกครองบังคับบัญชา ตามระเบียบ การปกครองในเรือรบ คือการแบ่งให้นักเรียนชั้นสูง บังคับบัญชารองลงมา นอกจากนี้ยังทรงจัดเพิ่ม วิชาสำคัญสำหรับชาวเรือขึ้นเพื่อให้สำเร็จการศึกษา สามารถเดินเรือ ทางไกลในทะเลน้ำลึกได้คือ วิชา ดาราศาสตร์ ตรีโกณมิติ อุทกศาสตร์ การเดินเรือเรขาคณิต พีชคณิต ฯลฯ

ในปี 2462 พระองค์ทรงเป็นผู้บังคับการเรือ โดยนำเรือหลวงพระร่วงจากประเทศอังกฤษ เข้ามายังกรุงเทพมหานคร นับเป็นครั้งแรกที่นายทหารเรือไทย เดินเรือได้ไกลข้ามทวีป ที่สำคัญพระองค์ทรงเป็นหัวเรี่ยวหัวเเรงที่สำคัญ

ที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงเห็นความสำคัญ และโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชวังเดิม ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ เมื่อ วันที่ 20 พ.ย. 2449 ทำให้กิจการทหารเรือมี รากฐานมั่นคงนับตั้งแต่บัดนั้น

และกองทัพเรือจึงยึดถือ วันดังกล่าวของทุกปีเป็น "วันกองทัพเรือ" จากการที่พระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์ ที่เล็งเห็นการไกล พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ขอพระราชทานที่ดินบริเวณอำเภอสัตหีบ เพื่อสร้างเป็นฐานทัพเรือ

เนื่องจากทรงพิจารณาแล้วเห็นว่า อ่าวสัตหีบเป็นอ่าว ที่มีขนาดใหญ่ น้ำลึกเหมาะแก่การฝึกซ้อม ยิงตอร์ปิโดได้และเกาะน้อยใหญ่ ที่รายล้อมรอบสามารถบังคับคลื่นลมได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเรือภายนอกเมื่อแล่นผ่าน

พื้นที่ดังกล่าว จะไม่สามารถมองเห็นฐานทัพได้เลย นอกจากพระองค์ ทรงเป็นนักยุทธศาสตร์แล้ว ด้านการแพทย์พระองค์

ทรงศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง และเสด็จไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ให้กับประชาชนด้วยพระองค์เอง ไม่ว่าเป็นคนไทยหรือคนจีน จนกระทั่งชาวจีนย่านสำเพ็ง มีความทราบซึ้ง ในพระกรุณาธิคุณ และได้เรียกพระองค์ท่านว่า "เตี่ย" ซึ่งหมายถึงพ่อ

ทำให้ในเวลาต่อมาทหารเรือได้เรียกพระองค์ว่า "เสด็จเตี่ย" สำหรับในหมู่คนไข้ชาวไทย ที่พระองค์รักษานั้น มักจะเรียกขานนามพระองค์ว่า "หมอพร"

พล.ร.อ.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ ในขณะที่ประทับอยู่ที่หาดทรายรี ปากน้ำเมืองชุมพร เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2466 เวลา 11.40 น. ยังความโศกเศร้ามาสู่บรรดาทหารเรือยิ่งนัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท