รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

วิธีการจัดระบบงานสุขภาพดีที่บ้าน


HHC

HHC คือ บริการสุขภาพอนามัยแบบเบ็ดเสร็จหรือแบบองค์รวมไปสู่ประชาชนถึงที่บ้านหรือในครอบครัว และในชุมชน ใช้ทฤษฎีการจัดระบบ เป็นพื้นฐาน

แนวคิด  Home ward/ Health Team/  Holistic team/ Empowerment /Record and report

ตัวชี้วัด 1.ลดปริมาณการให้บริการตั้งรับ จำนวนวันที่พักรักษาในสถานบริการ อัตราการครองเตียง ความแออัด

          2.ลดค่าใช้จ่าย

          3.ประชาชนได้รับบริการทั่วถึงและเสมอภาค

          4.ทีมสุขภาพมีโอกาสปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นที่พึงประสงค์ของประชาชน

การจัดกลุ่ม ตามกลุ่มอายุ  กลุ่มโรค  กลุ่มพื้นที่

 

Home Health Careการบริการเยี่ยมบ้าน
ด้านการบริหาร : ระยะเตรียมการ
 1) กำหนดโครงสร้างทีมสุขภาพ แต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายเยี่ยมบ้านแบบสหสาขาวิชาชีพและจัดตั้งศูนย์สุขภาพดีที่บ้าน ศูนย์ประสานงานของเครือข่าย  กำหนดระบบบริหารจัดการ
 2) การวางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายและกระบวนการ/แนวทางปฏิบัติร่วมกันตามมาตรฐานวิชาชีพ จัดทำทะเบียน แฟ้มครอบครัว แบบฟอร์มการบันทึกข้อมูล  โดยศูนย์ฯ ประสานงานทีมสุขภาพผู้เกี่ยวข้อง ประชุมระดมสมอง  ร่วมคิด  ร่วมวางแผนและพัฒนาคุณภาพงานเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่องโดยมีวาระประชุม3เดือน/ครั้ง  
 3) การประสานงาน   ประสานความร่วมมือเครือข่ายสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงพยาบาล  ทั้งภาครัฐ/เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน
4) การนิเทศงาน นิเทศงานเครือข่ายโดยใช้คู่มือ HCA
 ทีมงานสุขภาพประกอบด้วย
1. แพทย์
2. พยาบาลวิชาชีพ
3. นักกายภาพบำบัด  นักกิจกรรมบำบัด
4. เภสัชกร
5. พยาบาลจิตเวช
6. นักโภชนาการ
7. เจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ด้านบริการ : ระยะดำเนินการ  ให้บริการเยี่ยมที่หอผู้ป่วย  เยี่ยมที่บ้านและเยี่ยมทางโทรศัพท์ โดยกระบวนการเยี่ยมบ้านแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 
   ขั้นตอนที่1 ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน เตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนจำหน่าย โดยใช้ระบบ  D - METHOD นัดหมายการเยี่ยมบ้านโดยพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย วางแผนการเยี่ยม/ประชุมเตรียมความพร้อม (Pre - conference) ศึกษาปัญหาผู้ป่วยก่อนเยี่ยมบ้าน เตรียมความพร้อมกระเป๋าเยี่ยมบ้านและอุปกรณ์ตามมาตรฐานที่กำหนด      
   ขั้นตอนที่ 2 ระยะเยี่ยมบ้าน ให้บริการเยี่ยมบ้านแบบองค์รวม  โดยใช้แฟ้มสุขภาพครอบครัว ครอบคลุมตามหลัก IN HOME SSS  ให้บริการทำหัตถการตามหลักการป้องกันการติดเชื้อ  เน้นให้ผู้ป่วยและญาติมั่นใจในการดูแลสุขภาพตนเองและมีระบบโทรศัพท์ที่ผู้ป่วยและญาติสามารถติดต่อได้เมื่อมีปัญหา
   ขั้นตอนที่ 3 ระยะหลังเยี่ยม ร่วมอภิปรายปัญหาผู้ป่วย (Post conference) ประเมินสภาพปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัว  วางแผนการเยี่ยมครั้งต่อไป  บันทึกข้อมูลในแฟ้มครอบครัว และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ WINTHO
ด้านวิชาการ
1) จัดอบรม พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ทั้งเครือข่าย และแกนนำสุขภาพใน   ชุมชนในโครงการการพัฒนาศักยภาพการพยาบาลครอบครัว และโครงการอาสาสมัครติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยหลังการรักษาพยาบาล
2) สาธิต การใส่สายสวนปัสสาวะและสายสวนกระเพาะอาหารแก่เครือข่ายสุขภาพ
3) ประชุมวิชาการ Case conference โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ เดือน/ ครั้งและมีการแลกเปลี่นยเรียนรู้ระบบงานเยี่ยมบ้านกับเครือข่าย 
การประเมินผล  ประเมินจากความพึงพอใจของผู้ให้บริการและผู้รับบริการ  ภาวะสุขภาพ  ความสามารถในการดูแลตนเอง  และการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ  รวมทั้งการประเมินผลคุณภาพการบริการ

 

กระบวนการเยี่ยมบ้าน
1. ระยะก่อนเยี่ยมบ้าน
  เป็นระยะของการวางแผนกำหนดวัตถุประสงค์การเยี่ยม
    -เตรียมข้อมูลผู้ป่วยและครอบครัว โดยใช้แฟ้มอนามัยครอบครัว  OPD Card  หรือสรุปการเยี่ยมบ้านในครั้งก่อน
    -อุปกรณ์ กระเป๋าเยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ควรเตรียมติดตัวไปเยี่ยมบ้าน ใบสั่งยา เบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วย เครื่องวัดความดันเลือด หูฟัง ชุดเครื่องมือตรวจหูและตา ปรอทวัดไข้ ไม้กดลิ้น สำลี แอลกอฮอล์ ชุดทำแผล ถุงมือ เครื่องวัดระดับน้ำตาลแบบพกพา แผ่นพับสุขศึกษา ถุงใส่ขยะ เป็นต้น.
    นอกจากนี้  กล้องถ่ายภาพอาจเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นที่ควรพกพาไป เพราะอาจใช้ถ่ายภาพเพื่อติดตามสภาพบาดแผล หรือถ่ายภาพนาทีประทับใจภายในบ้าน ซึ่งอาจใช้เป็นเครื่องมือเตือนความทรงจำให้ผู้ป่วยและญาติรวมทั้งกระชับความสัมพันธัดีต่อกันได้ในภายหลังอีกทั้งเป็นกำลังใจให้ทีมงานเยี่ยมบ้านในวาระต่อๆไป 
   -ยานพาหนะ
 2.ระยะเยี่ยมบ้าน ในขณะเยี่ยมบ้านทีมงานต้องมีทักษะในการสื่อสาร เพื่อสร้างสัมพันธภาพค้นหาปัญหา รู้จักเข้าใจ เห็นอกเห็นใจผู้ป่วยและครอบครัว ทักษะเหล่านี้ได้แก่
   2.1 การให้บริการด้านจิตวิทยาสังคม
   2.2 การใช้เครื่องมือทางด้านมนุษยวิทยา  เช่น ชีวประวัติผู้ป่วย ผังเครือญาติ
   ถึงบ้านแล้วทำอะไรดี  หลังจากทักทายตามอัธยาศัยแล้ว นอกเหนือจากพุ่งความสนใจไปที่ตัวผู้ป่วย ไม่ได้แต่ไปรักษาแต่โรค ดังนั้นต้องช่างสังเกตและประเมินทุกสิ่งที่พบที่บ้านนั้นๆ หลายคนมีทักษะส่วนตัว แต่หลายคนอาจต้องการแนวทาง ซึ่งมีผู้รวบรวมมาเป็นเครื่องมือ (IN-HOME-SSS)  ดังหัวข้อดังต่อไปนี้
     Immobility  ประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด
        1.กิจวัตรประจำวันพื้นฐาน เช่น ลุกจากที่นอน อาบน้ำ เข้าห้องน้ำ แต่งตัวเองได้  กินได้ ขับถ่ายสะดวก กลั้นได้หรือไม่
        2.กิจวัตรอื่นๆ ที่ใช้แรงมากขึ้น เช่น ทำงานบ้าน จ่ายตลาด ทำอาหาร รับโทรศัพท์ จัดยากินเองได้ ล้างรถ  ลี้ยงสุนัข เป็นต้น
      N Nutrition  ประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการอย่างไร  อาหารโปรด  วิธีเตรียมอาหาร  วิธีเก็บอาหารปริมาณที่กิน  นิสัยการกิน  ก่อนหรือหลังกินข้าวชอบสูบบุหรี่  ดื่มเหล้าหรือไม่  เป็นต้น.
      Housing  ไม่ใช่ประเมินว่าดีหรือไม่ แต่ประเมินว่าสะภาพบ้านมีลักษณะอย่างไร
        1.ภายในบ้าน  เช่น  แออัด โปร่งสบาย  สะอาด  ดูเป็นส่วนตัว มีรูปแขวนผนังเป็นใครบ้าง  มีประกาศนียบัตรหรือโล่ยกย่องเกียรติคุณเรื่องใดบ้างของสมาชิกในบ้าน  มีโทรทัศน์เครื่องดนตรี  ห้องหนังสือ  เลี้ยงสัตว์ภายในบ้านเป็นต้น.
        2.รอบบ้าน  เช่น  มีบริเวณหรือไม่  รอบบ้านเป็นอย่างไร  รั้วรอบขอบชิด หรือทะลุถึงกันกับเพื่อนบ้าน
        3.เพื่อนบ้านเป็นใคร  ลักษณะอย่างไร ความสัมพันธ์  กับผู้ป่วยและครอบครัวเป็นอย่างไร

      Other  people  ประเมินว่าภาระบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในบ้านเป็นอย่างไร  มีต่อผู้ป่วยอย่างไร  ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นจะมีใครเป็นตัวแทนที่จะตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้  การเยี่ยมบ้านมีข้อได้เปรียบในการพูดคุยเรื่องอนาคตของการดูแลรักษาผู้ป่วยในระยะยาว  โดยเฉพาะการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  บ้านเป็นสถานที่ที่แพทย์สามารถคุยกับผู้ป่วยและญาติได้สะดวกและอบอุ่นกว่าในโรงพยาบาล  เพราะปราศจากสภาพกดดันที่ จะให้ผู้ป่วยและญาติออกจากโรงพยาบาล   ทั้งยังเป็นการสาธิตให้ผู้ป่วยและญาติเห็นสภาพจริงว่าสามารถอยู่บ้านได้อย่างไรบ้างแม้ในนาทีสุดท้าย
      Medications  ประเมินว่าจริงๆแล้วผู้ป่วยกินยาอะไรบ้าง  กินอย่างไร  มีวิธีการจัดยาแต่ละมื้ออย่างไรมียาอื่นอะไรอีกบ้างที่นอกเหนือจากแพทย์ประจำตัวสั่ง  มียาสมุนไพร  อาหารเสริม  ยาหม้อ  ยาพระและอะไรอื่นอีกบ้าง  ทั้งนี้ไม่ใช่เพื่อห้าม  แต่เพื่อให้รู้และประเมินพฤติกรรมการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยรายนั้นๆ
     Examination  การตรวจร่างกายและการประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำภารกิจประจำวันได้มากน้อยเพียงใดที่บ้าน  จะทำให้เห็นสภาพความเจ็บป่วยที่แท้จริงของผู้ป่วยรายนั้นๆ
     S  Safety  ประเมินสภาพความปลอดภัยในบ้าน  เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและญาติปรับสภาพภายในที่บ้านที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภ าพได้
     S  Spiritual  health  ประเมินความเชื่อ  ค่านิยมของคนในบ้านจากศาสนวัตถุภายในบ้าน  วารสารนิตยสารที่อ่านประจำหรือจากการพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติโดยตรง
    Services  ให้ญาติที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยในขณะที่หมอไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้เข้าใจตรงกันในการวางแผนดูแลผู้ป่วย  รวมทั้งเข้าใจบริการดูแลสุขภาพทั้งที่บ้านและโรงพยาบาลว่ามีอะไรบ้าง  จะติดต่อได้อย่างไร  เมื่อใดหรือมีบริการอื่นใดในละแวกบ้านที่ผู้ป่วยและญาติสามารถใช้บริการอื่นใดได้อีกบ้าง 
3.ระยะหลังการเยี่ยมบ้าน  เป็นระยะหลังการเยี่ยมบ้านได้มาพูดคุยกันเพื่อสรุปปัญหาของผู้ป่วยและครอบครัวที่เยี่ยมแนวทางแก้ปํญหาหรือการติดตามเยี่มบ้านครั้งต่อไปและนำผลที่ได้มาบันทึกลงในรายงานหรือแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน  เพื่อประกอบการดูแลต่อเนื่องต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #hhc ที่ควรรู้
หมายเลขบันทึก: 392194เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2010 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท