สมมุติฐาน


สมมุติฐาน  (Hypothesis)

 ความหมายของสมมติฐาน 

      สมมติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือสมมติฐานคือข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาที่ต้องการศึกษา สมาติฐานที่ดีมีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 2 ประการคือ

      1. เป็นข้อความที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

      2.เป็นสมมติฐานที่สามารถทดสอบได้โดยวิธีการทางสถิติ

 ชนิดของสมมุติฐาน

สมมติฐานมี 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ สมมติฐานทางวิจัยและสมมติฐานการสถิติ

1. สมมติฐานทางวิจัย (research hypothesis)  เป็นการเขียนคาดการณ์ที่เกิดขึ้น หรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อสื่อให้ผู้อ่านทราบว่า ผู้วิจัยสงสัยและคาดการณ์ประเด็นปัญหาวิจัยแต่ละประเด็นไว้ว่าอย่างไร และแสดงแนวทางการทดสอบปัญหาในแต่ละประเด็นไว้อย่างไร  แบ่งออกเป็น 2  อย่างคือ

        1.1 สมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง  ( Directional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่เขียนระบุอย่างชัดเจนถึงทิศทางของความแตกต่างถึงทิศทางของความแตกต่างระหว่างกลุ่ม โดยมีคำว่า “ ดีกว่า ” หรือ  “ สูงกว่า ” หรือ “ ต่ำกว่า ” หรือ “ น้อยกว่า” ในสมมติฐานนั้นๆดังตัวอย่างที่ 1 ข้างต้น หรือระบุทิศทางของความสัมพันธ์ โดยมีคำว่า “ ทางบวก ” หรือ “ทางลบ ” ในสมมติฐานนั้นๆ  ดังตัวอย่าง

        -  ครูประจำการมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าครูฝึกสอน

        -  นักเรียนในกรุงเทพฯจะมีทัศนะคติทางวิทยาศาสตร์ดีกว่านักเรียนในชนบท

        -  ครูอาจารย์เพศชายมีความวิตกกังวลในการทำงานน้อยกว่าครูอาจารย์เพศหญิง

        -  ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง

       1.2 สมมติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional hypothesis ) เป็นสมมติฐานที่ไม่กำหนดทิศทางของความแตกต่างดังตัวอย่างที่ 2 หรือไม่กำหนดทิศทางของความสัมพันธ์  ดังตัวอย่าง

          -  สติปัญญาของลูกและพ่อสัมพันธ์กัน

          -  ผู้บริหารที่มีเพศต่างกันมีปัญหาในการบริหารงานวิชาการแตกต่างกัน

          -  นักเรียนที่มีเพศต่างกันมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์แตกต่างกัน

          -  นิสิตชายกับนิสิตหญิงไปใช้สิทธิในการเลือกตั้งไม่แตกต่างกัน

 2. สมมติฐานทางสถิติ  ( Statistical hypothesis) เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ทดสอบว่า สมมติฐานทางการวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่ เป็นสมมติฐานที่เขียนอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้อยู่ในรูปที่สามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการทางสถิติ

     สมมติฐานทางสถิติ มี 2 ชนิดคือ

      2.1 สมมติฐานศูนย์ (Null hypothesis) จะเขียนในรูปที่ไม่แสดงอิทธิพลของตัวแปรอิสระนั่นคือไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่าง……….. หรือไม่มีความแตกต่างระหว่าง……...…… การเขียน ๆ เป็นรูปสัญลักษณ์ทางสถิติ   เช่น   H0 : µ1 = µ2   หรือ  H0 : µ1 ≤ µ2  หรือ H0 : µ1 ≥ µ2  เป็นต้น
      2.2 สมมติฐานเลือก (Alternative hypothesis) ได้แก่  สมมติฐานทางสถิติ ที่เขียนในรูปที่แสดงความสัมพันธ์หรืออิทธิพลของตัวแปรอิสระเขียนแทนด้วย H1 เช่น  H1 : µ1 > µ2  หรือ  H1 : µ1 < µ2  หรือ  H1 : µ1 ≠ µ2  เป็นต้น

 ตัวอย่างการเขียนสมมุติฐาน

วัตถุประสงค์การวิจัย

“ เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาระหว่างนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย ”

สมมติฐานทางการวิจัย

“ นักเรียนหญิงและนักเรียนชายมีทักษะการแก้ปัญหาแตกต่างกัน ”

สมมติฐานทางสถิติ

                ตั้งทั้ง  H0 และ H1 ดังนี้

                H0 : µ1 = µ2 

                H1 : µ1 ≠ µ2

 

เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611).พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

 

หมายเลขบันทึก: 392191เขียนเมื่อ 8 กันยายน 2010 15:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 03:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้าใจการตั้งสมมุติฐานมากขึ้น ขอบคุณมากนะครับคุณครูสอนเลข

อ่านแล้วเข้าใจมากขึ้น ขอบคุณมากนะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท