ใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นองค์กรแม่ อสปท.เป็นกลไก ประกาศ “กทม.ไม่เอาทุจริต”


เปิดเผย กล้าประกาศ "กทม.ไม่เอาทุจริต

 

เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553  ได้มีการประชุมสมัชชาสภาองค์กรชุมชน สภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการ  ผู้เข้าประชุมเป็นผู้นำชุมชน กทม. รวม 120 คน  จาก 25 เขต    ได้วางหลักการทำงาน อาสาสมัครป้องกันทุจริต กทม. (อสปท.) สรุปดังนี้

ระบบ กลไก ภาคประชาชนต่อต้านทุจริต

                ภาคประชาชนควรเน้นการป้องกัน ไม่ควรเปิดเผยตัวเองในการตู้สู้กับทุจริต  แต่มีข้อแย้งว่าการแจ้งข่าวโดยไม่ระบุตัวตนจะไม่มีน้ำหนัก  หน่วยรับเรื่องไม่เชื่อถือ  ถ้าจะได้ผลต้องประกาศตัวตน พร้อมเป็นพยานได้เสนอให้ ป.ป.ท. (สำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ) ออกรหัสประจำตัวผู้ส่งข่าว  ควรมีกฎหมายคุ้มครอง 

                เพื่อสร้างพลัง เสนอให้การต้านทุจริตเป็น กิจกรรมพิเศษ  ของสภาองค์กรชุมชน  อาสาต้องกล้าเปิดตัว เปิดเผยชื่อ  องค์กรก็ต้องกล้าเปิดตัวให้คนทุกฝ่ายเข้าร่วม

                ให้มีกลไกและโครงสร้างที่ชัดเจน  กล้าประณามหยามเหยียดผู้ทุจริต   ควรจัดให้มีช่องทางแจ้งข่าวสาร  มีศูนย์รวมรวมข้อมูล  มีระบบข่าว มีเวปไซต์เผยแพร่

บทบาท อสปท. (อาสาสมัครป้องกันทุจริต กทม.)

                บทบาทของ อสปท.คือการป้องกัน เช่น เรียกเอาข้อมูลให้รู้งบประมาณ กทม.  สร้างขบวนการติดตาม ทำกิจกรรมต้านทุจริตให้เป็น “กิจกรรมพิเศษ” ของภาคประชาชน  จัดขบวน เป็นองค์กรคู่ขนานภาครัฐ เป็นองค์กรอิสระไม่เป็นลูกขององค์กรภาครัฐ

                อสปท.ควรเป็นองค์กรที่เปิดเผย มีบทบาทแตกต่างจากที่ทำกิจกรรมในเรื่องอื่น ๆ   อส.ต้องยืนยันว่าการทุจริตเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ต้องประกาศเจตนารมณ์ว่าเราไม่เห็นด้วยกับทุจริต   เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้   เห็นที่ไหนก็ต้องคัดค้าน  ทำพร้อมกันให้เกิดกระแสสังคม  คนทุจริตก็จะหลีกหนีไปเอง  อสปท.ควรชี้เป้าหมายชัดเจนว่า “กทม.ต้องเป็นเมืองธรรมาภิบาล”

                ควรทบทวนว่า 1) เราเป็นส่วนหนึ่งของการทุจริตหรือไม่ เช่น พากันไปนำเที่ยวในโครงการที่มีการหักหัวคิว  2) กลไกทำงานควรมีประสิทธิภาพ  มีความเข้มแข็ง  มีจุดประสงค์ชัด  ลงหาข้อมูล  งบประมาณจึงจำเป็น  ที่ผ่านมาราชการมักจะทำตามงบประมาณ  โครงการนี้ถ้าจัดขบวนดี แมะจะมีงบน้อย ก็สร้างความร่วมมือ สร้างความเข้มแข็งกลมเกลียว  แม้งบประมาณจะหมดก็จะเกิดขบวนการต่อเนื่อง

                ขอให้ต่อต้านทุจริตอย่างเป็นรูปธรรม  เช่น ตนเองเคยพบงบประมาณโครงการหนึ่ง จัดกิจกรรมจริง ๆ จ่ายไป 8 หมื่น เวลารายงานกลายเป็น 1 แสน 4 หมื่น  ตนเองไม่ยอมรับขอดูใบเสร็จ  เสนอ ป.ป.ท.นำข้อมูลโครงการ กทม.มาให้ภาคประชาชนเพื่อการติดตาม

แนวทางทำงาน

                เห็นด้วยกับการสร้างกระแสต้านทุจริต  เสนอว่า ให้เรียกร้องเงินอุดหนุนชุมชนเดือนละ 5,000 บาท เป็นการจ่ายขาด  ถ้าไม่ได้ให้ยืนยันว่าจะทำเบิกตามจ่ายจริง  จะก่อผลสะเทือนแน่

                เสนอให้ใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นศูนย์ประสานงานต้านทุจริต  ในการประชุมที่เขตไม่อยากให้เปิดเผยตัวตนอาสาสมัครต้านทุจริต เพราะมีพวกทุจริตอยู่มาก  เสนอให้ติดตั้งป้ายทุกหมู่บ้าน มีเวทีคุยเรื่องนี้กันต่อเนื่อง “ถึงหยุดทุจริตไม่ได้ ก็ทำให้ ขยาดได้”   ควรแยกการสร้างกระแส ออกจากการทำงานจริง

                อยากให้พวกเราทบทวนว่า เราจะ “ทำตามโครงการ หรือ ทำด้วยจิตสำนึก”  อบรมอาสาไปแล้วไม่จำต้องประกาศตัว แต่ควรให้ข้อมูลต่อเนื่อง  เพื่อความปลอดภัยอาจใช้รหัสก็ได้ 

                ในสภาพจริง ชาวบ้านได้ทำเรื่องนี้อยู่แต่ขาดการเชื่อมโยง  อยากให้ในการประชุมประจำเดือนของเขต ให้มีการรายงานเรื่องทุจริตเป็นวาระประจำ   ควรให้ความสำคัญกับคนคุณภาพ  เช่น ค้นให้ได้ 1 คน ต่อ 1 เขต  ค้นหาคนกล้าจริง เริ่มในสภาจะองค์กรชุมชนก่อน  ถ้าไม่ชัดแต่เริ่มต้น อบรมไปก็ไม่เกิดประโยชน์  เสนอว่า ให้ทำแผนงาน อสปท.ระบุแกนหลัก ขับเคลื่อนพร้อมกับการวิเคราะห์ว่าคนให้ข่าวเป็นตัวจริงหรือไม่ 

                กิจกรรม การต่อต้านทุจริต คือ “งานชิ้นปลามัน” ภาคราชการทำโครงการร่วมภาคประชาชน ไม่เป็นช่องว่างให้คนทุจริตเข้าแทรก  เหมาะสมแล้ว ป.ป.ท. (หน่วยงานรัฐ) จับคู่กับ สภาองค์กรชุมชน (ภาคประชาชน)

                สำนึกพลเมือง มีอยู่ในภาคประชาชน ให้เขาได้มีบทบาท  ไม่จำเป็นต้องแสดงตัวเป็นอาสาสมัคร  ให้มีระบบตรวจสอบการทำงานของภาคประชาชนด้วย   อบรมให้ประชาชนเข้าใจปัญหาทุจริตเป็นภัยกับประชาชนอย่างไร  พร้อมกับให้ประชาชนรู้โอกาส สิทธิ/หน้าที่  ส่งเสริมประชาชนร่วมในขบวนการ พร้อมกับประชาสังคมอื่น เช่น  วัด  โรงเรียน    การทำงานควรมีวิธีหลากหลายแต่มีเป้าหมายที่ปลายธงเดียวกัน

                การที่ประชาชนลุกขึ้นต้านทุจริตเป็นเรื่องสำคัญและเรื่องใหม่สำหรับเรา  ต้องตั้งสติให้ดี  ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานใหม่  เพื่อก้าวพ้นการทำงานย่ำอยู่กับที่แบบราชการ  เราได้ทำ MOU กับ ป.ป.ท.ไปแล้ว ถือเป็นก้าวแรก   เราต้องเริ่มจากตนเองเพราะรู้ดีปัญหากว่าคนอื่น 

                สมัชชาสภาองค์กรชุมชนคือความหลากหลาย   ทุกคนมีสิทธิ์ มีศักดิ์ศรี  ต่างวิธีการแต่รวมความสำเร็จกันได้   ส่วนกลางควรทำหน้าที่สร้างคน ส่งเสริมขบวนให้มีเพื่อน มีพวก  มีความรู้ มีกลยุทธ์  ทำงานเป็นมืออาชีพ  ไม่โกรธ ไม่เกลียด ไม่อิจฉาใคร  เริ่มจากงานง่ายก่อนไม่ต้องเหน็บกัน  

                สมัชชาเป็นเวทีความหลากหลาย มีเป้าหมายร่วมกันคือ ไม่เอาทุจริต   เราต้องสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง ไม่ต้องเรียกร้องให้มีกฎหมายคุ้มครอง  ขณะนี้เราไม่เดียวดาย  เชื่อมกับสมัชชาอื่น ๆ รวมได้ระดับประเทศ

จุดยืนของ ป.ป.ท.

                 ป.ป.ท.ไม่ติดตัวบุคคล  ยึดภารกิจตามกฎหมาย  ส่งเสริมบทบาทประชาชนร่วมแก้ทุจริต  ประชาชนเลือก สก.สข.แล้ว ยังไม่ประกันความโปร่งใส ต้องสร้างระบบป้องกัน  การแก้ปัญหาระยะยาว คือ ต้องสร้างความสุจริตในตัวผู้นำ ขยายสู่คนในครอบครัวและชุมชน

จดหมายข่าวสมัชชาสภาองค์กรชุมชน กทม. 5 ก.ย.35

หมายเลขบันทึก: 391858เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2010 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 05:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ครับพี่น้องเราพร้อมแล้วที่จะทำหน้าที่ อสปท โดยเปิดเผย ขบวนองค์กรชุมชน เขตสวนหลวงพร้อมที่จะสนับสนุนครับ ท่านประธานสมัชชา กทม.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท